Micromanagement คืออะไร และจะรับมือกับคนประเภทนี้อย่างไร?

Taakii Tanpichai
CREATIVE ME
Published in
1 min readMar 5, 2019

จากบทความก่อนหน้าได้พูดถึง Micromanagement ไว้ ซึ่งน่าจะมีอีกหลายๆคนที่ไม่รู้ว่า Micromanagement เนี่ยคืออะไร หรือบางคนอาจจะเข้าข่ายว่าเป็นแต่ไม่รู้ตัว

เราจึงจะยกตัวอย่างสัญญาณที่เข้าข่ายว่าเป็น Micromanagers เพื่อจะได้รู้ตัวและช่วยหยุดความเสียหายต่อการทำงานได้ รวมถึงบอกวิธีการทำงานร่วมกับคนที่เป็น Micromanagers ว่าทำงานร่วมกันอย่างไรให้เราไม่ประสาทเสีย

Related image

The Signs of Micromanagement

มาดูกันว่าสัญญาณการกระทำอะไรบ้างที่เข้าข่ายว่าเป็น Micromanager

  1. ต่อต้านการมอบหมายงาน
  2. จมตัวเองอยู่กับงานที่มอบหมายให้ผู้อื่น
  3. วิจารณ์หรือปรับแก้ในรายละเอียดทุก ๆ จุดแทนที่จะมองที่ภาพรวม
  4. กีดกันผู้อื่นในการตัดสินใจ
  5. เข้าไปมีส่วนร่วมหรือเข้าไปตัดสินใจในการทำงานของผู้อื่นโดยไม่ปรึกษาพวกเขา
  6. จับตาดูแต่สิ่งที่ไม่ค่อยสำคัญและคาดหวังกับรายงานของเรื่องจิปาถะเป็นประจำ
  7. ไม่สนใจประสบการณ์หรือความรู้ของเพื่อนร่วมงาน
  8. ไม่ใส่ใจกับ committment ที่เคยให้ไว้
  9. โฟกัสกับลำดับความสำคัญที่ผิด
  10. ทำให้แรงจูงใจของทีมงานลดลง

ปัจจุบันมีหลายคนมากที่เป็นแบบข้างต้นแล้วไม่รู้ตัว และด้วยความไม่รู้ตัวเนี่ยแหละที่กำลังทำลายทีมลงอย่างช้าๆ ไม่ว่าจะเป็นทีมรู้สึกไม่อิสระในการทำงาน ทำลายความมั่นใจของทีม ดับโอกาสและการเปลี่ยนแปลงสิ่งดีๆใหม่ๆของคนในทีม ทำให้ประสิทธิภาพของทีมต่ำลง และอาจทำให้ทีมงานนั้นคิดจะลาออกได้

Coping With Micromanagers

“จงหาคนที่ดีเยี่ยมที่สุดที่คุณสามารถหาได้ มอบอำนาจให้ และไม่แทรกแซงตราบที่นโยบายที่คุณตัดสินใจไปแล้วกำลังดำเนินอยู่” — Ronald Reagan

ดังนั้นคุณจะรับมือกับคนประเภท Micromanagement ได้อย่างไร

การเปลี่ยนพฤติกรรมของพวกเขาไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็สามารถทำได้ โดยอาจจะต้องใช้เวลาและความอดทนสักหน่อย

1.ประเมินพฤติกรรมของตัวคุณเอง

คุณกำลังทำอะไรที่อาจทำให้หัวหน้าของคุณกังวลหรือไม่? คุณให้ความสนใจกับงานของคุณอย่างเต็มที่หรือไม่?

2.ทำความเข้าใจกับหัวหน้าของคุณ

ลองเรียนรู้ที่จะมองดูสิ่งต่างๆจากมุมมองของเขา

โดยการพยายามทำความเข้าใจ— รู้ว่าเป้าหมายอะไรที่พวกเขากำลังพยายามทำให้สำเร็จ — คุณอาจพบว่าคุณสามารถช่วยให้พวกเขาถึงเป้าหมายได้

3.Challenge หัวหน้าของคุณ

ในการประชุมต่างๆให้เห็นด้วยกับสิ่งที่จะช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมาย แต่เมื่อเขาเข้ามาแทรกแซงมากเกินไปให้ Challenge พวกเขา หรือเตือนพวกเขา และอย่าลืมถามหัวหน้าคุณอยู่เสมอถึงโอกาสที่คุณจะได้ทำอะไรด้วยตัวคุณเองบ้าง

4.สื่อสารเป็นประจำ

การสื่อสารเป็นวิธีที่ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดในการจัดการกับคนประเภทนี้ ดังนั้นสื่อสารและอัพเดทความคืบหน้าให้กับคนเหล่านี้ในทุกๆโอกาส

มุมมองสำหรับคนประเภท Micromanagement สามารถมองได้สองมุม

ถ้ามองในแง่ดีจริงๆแล้วการกระทำของคนประเภท Micromanagement แฝงไปด้วยความหวังดีในการทำงาน อาจจะด้วยความเป็นกังวลว่าทีมงานจะทำงานได้ไม่ดี หรือไม่ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

ถ้ามองในแง่ลบ คนประเภทนี้อาจจะคิดว่าถ้าไม่มีคนแบบตัวเองในงานหรือโปรเจคนั้นๆ ทีมงานไม่สามารถทำงานได้ดี หรืองานจะออกมาล้มเหลว จึงทำให้คนประเภทนี้ต้องแทรกแซงในการบริหารจัดการในทุก ๆ จุด

การบริหารจัดการงานที่ดีต้องช่วยชี้แนะ หรือแนะนำการทำงานให้ทีมบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ แต่คนประเภท Micromanagement จะบริหารจัดการงานจนทำให้ทีมรู้สึกว่าต้องทำตามคำสั่ง จนรู้สึกไม่มีส่วนร่วมในงานหรือการตัดสินใจ สุดท้ายแล้วทำให้ทีมไม่กล้าตัดสินใจ เพราะต้องรอการตัดสินใจของ Micromanagers ก่อน

--

--