Teerawat Chuewattanawanit
CREATIVE ME
Published in
2 min readJul 22, 2018

--

RISE Conf2018 [Day 1 Grab]

Tan Hooi Ling | Co-Founder — Grab

Vision ของ Grab คือการเป็นอนาคตของการเดินทาง เป็นตัวช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้า เรามองเห็นว่าคนเดินทางจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งต้องใช้มากกว่ารถแท๊กซี่.. บางครั้งต้องมีรถเมล์ จักรยาน ฯลฯ

และเราต้องการดูแลลูกค้าแบบ end-to-end ทำให้เค้ารู้สึก worry-free ไม่ต้องกังวลถ้าลืมกระเป๋าสตางค์ ไม่ต้องกังวลเรื่องข้าวเที่ยง ไม่ต้องกังวลเรื่องการเดินทาง การจ่ายเงิน..

ซึ่งไม่เพียงแต่การพัฒนาทางด้าน software แต่ hardware ก็ด้วยเช่นกัน ล่าสุดเราได้รับการลงทุนจาก โตโยต้าไปอีก 1พันล้านเหรียญ!!!

ผมขออนุญาตเปิดบทความด้วยสิ่งที่คุณเก่ง credit : geng sittipong sirimaskasem

ได้เขียนสรุปเอาไว้ซึ่งผมมองว่าสิ่งนี้ตอบโจทย์ในการสนทนาใน sestion ของคุณ Tan Hooi Ling แห่ง Grap ในงานสัมนาเรียบร้อยแล้ว

แต่สิ่งที่ผมต้องการจะเสริมเพิ่มเติมคือ แนวคิดในการเติบโตของ Grap ที่ไม่ได้หยุดที่การบริการรับส่งบุคคลแค่อย่างเดียว

สิ่งสำคัญที่ผมเห็นในงาน RISE2018 ที่ผ่านมาคือการเห็น Application Service ที่สร้าง Impact ข้ามไปยัง Market อื่นๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง Grab / Didi และ Line

เนื้อหาในงาน RISE Conf 2018 ที่ คุณ Tan Hooi Ling ได้พูดในงานจะเน้นไปที่Vision ในการสร้างบริการรูปแบบใหม่ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะการขนส่งอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการให้บริการด้านจัดส่งอาหาร, การให้บริการในรูปแบบ Business มากขึ้น

และการลงทุนในงานวิจัย SDV (Self Driving Vehicle) ซึ่งส่งผลให้ในอนาคต Grap จะสามารถพัฒนารถไร้คนขับของตัวเอง และใช้ Ai ในการจัดการแทนคนได้ในอนาคตแต่กว่าเราจะได้เห็นสิ่งที่ Grabกำลังพัฒนาคงต้องใช้เวลสาในการทดสอบอย่างละเอียดอีกทีหนึ่ง

ในอีกด้านของการดำเนินธุรกิจของ Grab นั้นแม้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาจะทุ่มเงินซื้อกิจการของ Uber Asia เพื่อผงาดขึ้นมาเป็นเจ้าตลาดในภูมิภาค South East Asia แต่ยังไง Uber ก็ยังอยู่และยังต้องสู้กันอยู่ในพื้นที่ตลาดทั่วโลก

ซึ่งจากดิลธุรกิจของ Grab และ Uber ในครั้งนี้ทำให้ลูกค้าของ Grab-Uber ไม่ค่อยมั่นใจในบริการและทิศทางในอนาคต รวมถึงสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคแห่งประเทศสิงคโปร์ (CCCS) เปิดเผยว่ามีความกังวลว่าการซื้อกิจการของ Uber ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกจะเป็นการตัดโอกาสของผู้บริโภคและการขาดการแข่งขันจะลดนวัตกรรมที่แข่งขันกันพัฒนาบริการ

อย่างไรก็ตามผู้ร่วมก่อตั้ง Hooi Ling Tan บอกว่าในที่ประชุม RiseConf2018 ที่ฮ่องกงว่า

“ยังไงแม้ว่า Uber จะร่วมกับ Grab แล้วแต่การแข้งขันทางการตลาดด้านธุรกิจบริการยังคงมีการแข่งขันที่มีอยู่มาก และไม่ได้คาดหวังว่ามันจะสิ้นสุดลง เพราะเรายังคงเรียนรู้จากคู่แข่งในกลุ่มตลาดด้านบริการอื่นๆต่อไป”

“เพราะเรายังคงพบเจอผู้เล่นทางเลือกในตลาดอยู่อีกมาก ที่ใช้กลยุทธ์ทางเลือก และ กลยุทธ์การดำเนินงาน.”

เช่น Go-Jek ซึ่งเป็น บริษัท ที่มีมูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์ซึ่งครองอินโดนีเซียและกำลังวางแผนขยายการบริการในภูมิภาคอื่นๆเพื่อเติมเต็มช่องว่างของ Uber อาจเป็นคู่แข่งที่ชัดเจนที่สุด

เพราะ Go-Jek มีบริการที่ข้าม Platform มากมายโดยจุดเด่นของ Go-Jek คือการครองตลาดในอินโดนิเซีย โดยมีภาครัฐให้ความสนใจ และสนับสนุนจนเป็น Unicorn ที่ต้องจับตามองการบุกตลาดด้านบริการแบบ Super App

บริการของ Go-Jek

จุดนี้เองทาง Hooi Ling Tan ได้เปลี่ยน Focus จาก Uber ที่เน้นพัฒนาด้าน Customer Experience มาเป็นการจัดกลยุทธ์เพื่อรับมือกับ Go-Jek แทน

สิ่งที่ผมสังเกตุในงาน RISE Conf2018ปีนี้ ค่อนข้างให้น้ำหนักและนำเสนอมุมมองในธุรกิจที่ข้าม Platform มากขึ้นซึ่งแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาบริการและการขยายธุรกิจในอนาคตของเหล่า Unicorn เมื่อถึงจุดที่ต้องขยายธุรกิจแล้ว ต้องเปลี่ยนแปลง Business Model ไปตามบริการที่ตนเพิ่มมากขึ้น

สุดท้ายสิ่งที่ Hooi Ling Tan ได้พูดเป็น Quote ที่น่าสนใจมากก่อนจะจบ session คือ

“Grab Platform”

คือการเปลี่ยนPositioning จากผู้ให้บริการ เป็นผู้สร้าง Platform และให้นักพัฒนาระบบด้านการขนส่งส่วนบุคคลในอนาคตเข้ามาใช้บริการบน Platform ของ Grab เพื่อกวาดลูกค้ารายใหม่ๆ จนถึงบริการรับส่งสินค้าต่างๆ

--

--