PHPExcel

Nathakorn Phakdeeyonchareon
CSCMU Undergrad Seminar
2 min readApr 10, 2020

การทำงานของบริษัทในยุคก่อนที่อินเทอร์เน็ตจะแพร่หลาย ได้มีการจัดทำรายงานผลโดยใช้โปรแกรม Excel และแล้วกาลเวลาก็เลื่อนผ่านมาหลายยุคหลายสมัยจนกระทั่งถึงยุคที่อินเทอร์เน็ตบูม จึงทำให้หลายบริษัทเริ่มสนใจที่จะนำรายงานจากไฟล์ Excel ของตนเข้าสู่ระบบเพื่อช่วยให้ทำงานได้อย่างเป็นระบบระเบียบและสามารถนำงานไปทำได้ในทุกที่ทุกเวลาทำช่วยให้ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น และในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเป็นการเปิดช่องทางให้ทางบริษัทสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อหาสิ่งที่จะสร้างผลประโยชน์อย่างมหาศาลให้แก่บริษัท จะเห็นได้ว่าก้าวเล็กๆ อย่างการนำไฟล์ Excel เข้าสู่ระบบสามารถเป็นการเปิดเส้นทางไปสู่ Data Science ที่จะช่วยสร้างผลประโยชน์ให้แก่บริษัท ในตอนนี้เพื่อนคงจะมีคำถามแล้วว่าเราจะใช้อะไรในการนำไฟล์ Excel เข้าสู่ระบบดี กระผมจึงอยากแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกับ PHPExcel เครื่องมือเก่าแต่เก๋าจริง

PHPExcel เป็นไลบรารี่ฟรีของภาษา PHP ใช้จัดการไฟล์สกุล .xlsx ที่มีความสามารถในการอ่านและการเขียนไฟล์ Excel ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการอ่านไฟล์ Excel ซึ่ง PHPExcel สามารถอ่านข้อมูลได้ทั้งหมดใน Sheet ที่กำหนดแล้วนำมาจัดการโดยใช้อันกอริทึมที่เตรียมเอาไว้ เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลก่อนส่งเข้าไปเก็บในระบบ

ข้อดี

  1. มี Learning Curve ที่น้อยมากอาจใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมงในการเรียนรู้เพื่อที่จะใช้งาน PHPExcel
  2. ใช้เวลาในการพัฒนาเว็บไซต์น้อย

ข้อเสีย

  1. PHPExcel is daed เป็นคำกล่าวที่ไม่ผิดเนื่องจาก PHPExcel ไม่มีการอัพเดทมานานมากเเล้ว ทำให้เมื่อ Excel มีการอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ที่มี Sheet แตกต่างจากเวอร์ชั่นปัจจุบันอาจจะทำให้ไม่สามารถใช้งาน PHPExcel ในการอ่านไฟล์ Excel ได้

วิธีการติดตั้ง

  1. ดาวโหลดจาก Link นี้

2. นำไฟล์ที่ดาวโหลดแล้วไปแตกไฟล์จะได้โฟลเดอร์ที่มีชื่อ PHPExcel-1.8

3. นำโฟลเดอร์ PHPExcel-1.8 ไปวางในโฟลเดอร์ที่ทำงาน

การใช้งาน PHPExcel

Input

  1. ทำการเรียกเเพ็คเกจ PHPExcel ด้วย

2. ทำการเรียกใช้ PHPExcel ด้วย

โดย $inputFileName คือ ชื่อของไฟล์ Excel ที่นำเข้ามา

3. ทำการเซ็ตค่าที่จำเป็นต้องใช้

คำสั่งบรรทัดแรก คือ การเซ็ต Sheet ที่ทำการอ่านค่า ซึ่งค่า 0 คือ การอ่าน Sheet แรก

คำสั่งบรรทัดสอง คือ การรับค่าสูงสุดของ Row คือ

5

คำสั่งบรรทัดสาม คือ การรับ column สุดท้าย คือ

 D

คำสั่งบรรทัดสี่ คือ การสร้าง Array ที่ไว้เก็บชื่อหัวของตาราง คือ

Planer, Action, Budget, DateTime

4. การสร้าง Array ที่ไว้รับ column ทั้งหมด

ค่าที่เก็บใน $array_columns คือ

A, B, C, D, E 

5. การนำข้อมูลจาก Cell จำเป็นที่จะต้องใช้ระบุ column และ row ของข้อมูลที่เราต้องการ

$column คือ หัว column

$i คือ เลขของ row

Output

Reference: https://www.thaicreate.com/community/phpexcel-reader-excel-to-mysql.html

--

--