Lead Any Team to Win

Teerasak Thaluang
Daily Grow-up
Published in
2 min readMar 9, 2023

Master the Essential Mindset to Motivative, Set Priorities, and Build Your Own Dynasty

ผู้เขียน: Dr. Jason Selk, Tom Bartow และ Matthew Rudy
สำนักพิมพ์ Hachette Go
210 หน้า

.

คำถามสำคัญของหนังสือเล่มนี้ก็คือ “อะไรคือสิ่งที่ทำให้ทีมประสบความสำเร็จ” ในมุมมองของโค้ชด้านกีฬา ของผู้เขียนทั้งสามท่าน คำว่า “ทีม” นั้น จะมีความผสมผสานกันระหว่างกีฬาและธุรกิจเสมอ ทีมที่ดีนั้นต้องมีส่วนผสมที่ลงตัว มีผู้นำที่ดี และมีวิธีการวัดผลที่ถูกต้อง

.

หนังสือเลิ่มนี้ แนะนำแนวคิด 9 อย่างที่สำคัญ เพื่อนำพาทีมไปสู่ความสำเร็จ ไม่ว่าเราจะอยู่ในฐานะผู้นำหรือไม่ก็ตาม ผมเชื่อว่าการเข้าใจแนวคิดทั้ง 9 เรื่องนื้ จะทำให้เรามองเห็นช่องว่างและแนวทางในการปรับปรุงทั้งตัวเอง รวมถึงสมาชิคคนอื่นในทีม เริ่มต้นจากตัวเรา แล้วค่อย ๆ ขยายขอบเขตออกไป แล้วเราอาจแปลกใจว่า เราอยู่ในทีมที่ดีที่สุดนี้ตั้งแต่เมื่อไหร

.

1. รู้จักกำลังของตัวเอง (Respecting Channel Capacity)
สิ่งแรกที่เราต้องเข้าใจ คือ เราไม่สามารถทำทุกอย่างได้ทั้งหมด คนในทีมเราก็เช่นกัน สมองของเรามีขีดจำกัด ดังนั้นเราจำเป็นต้องรู้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญและจำเป็นต้องทำในแต่ละวัน อย่าทำทุกอย่างตาม check list แต่ให้ถามตัวเองว่า อะไรคือ งานสำคัญ 3 อย่างของวันนี้ และ 1 งานที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำให้สำเร็จคืออะไร (“ 3 Most Important and 1 Must ”) และพยายามทำงาน 3 อย่างนี้ให้เสร็จก่อนในช่วงแรกของวัน

.

2. บริหารความคาดหวัง (Managing Expectation)
ความไว้ใจ คืออีกสิ่งที่สำคัญมากสำหรับทีม ถ้าเราทำงานกับคนที่เรารู้สึกไว้ใจ เราจะคาดหวังงานจากเขาได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องคอยติดตาม ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นผู้นำหรือสมาชิกในทีม จงสร้างความไว้ใจด้วยการแสดงความรับผิดชอบต่องานของตนเองอย่างเต็มที่ หากเราเป็นผู้นำก็ไม่ควรตามงานหรือพยายามเข้าไปช่วยจัดการมากจนเกินไป ควรมีพื้นที่ให้ทีมได้มีโอกาส คิด ตัดสินใจ และแสดงศักยภาพของตัวเองออกมา เรียนรู้ที่จะไว้ใจ และสร้างบรรยาการของความไว้ใจในทีม

.

3. ทบทวนตัวเอง (Self-Evaluation)
การทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่เราทำและผลที่เกิดขึ้น คือกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้และพัฒนา เคล็ดลับสำคัญของการทบทวนตัวเองก็คือ ต้องเริ่มจากด้านบวกก่อน ลองถามตัวเองว่า วันนี้เราทำอะไรได้ดี หรืออะไรที่เราทำสำเร็จ เราจะมีพลังบวกเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะถามว่ามีสิ่งไหนที่ยังทำได้ไม่ดีและต้องการปับปรุงบ้าง

.

4. ประสานความร่วมมือในทีม (Turning Chemistry into Cohesion)
การที่ลูกทีมไม่ชอบหน้ากันหรือเคมีที่เข้ากันไม่ได้ อาจไม่ได้แย่เท่ากับการที่ไม่มีใครรู้ว่า เป้าหมายของทีมคืออะไร การสร้างความร่วมมือนั้น จำเป็นต้องให้ทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันก่อน (Goal Commonality) และต้องมั่นใจว่าทุกคนเข้าใจและมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ของตัวเอง (Role Integrity) เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของทีม

.

5. ส่งเสริมความคิดต่าง (Disagreeing Without Being Disagreeable)
หากทุกคนในทีมมีความเห็นตรงกันตลอด อาจดูเป็นทีมที่ดีเพราะไม่น่ามีความขัดแย้งใด ๆ แต่สิ่งนี้อาจเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของทีม เพราะโดยธรรมชาติไม่มีทีมไหนที่จะมีความเห็นตรงกันตลอด เว้นแต่จะมีเรื่องผิดพลาด หากคุณเป็นผู้นำชอบที่สั่งการและไม่ยอมรับความเห็น คุณจะมีลูกทีมที่เห็นตรงกับคุณตลอด ซึ่งจะปิดกั้นมุมมองและวิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ดังนั้นการส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดที่แตกต่าง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกทีมต้องมี ฝึกที่จะเปิดใจ รับฟังมุมมองใหม่ และนำส่วนที่ดีของแต่ละไอเดียร์มาต่อยอดกัน

.

6. ปรับความคิด เป็นผู้เลือก ไม่ใช่ผู้ถูกระทำ (The No-Victim Mentality)
ไม่มีทีมไหนที่ไม่เคยเจอกับปัญหาหรืออุปสรรคระหว่างทาง แต่ทีมที่พ่ายแพ้มักมองปัญหานั้นใหญ่ขึ้นจนดูเหมือนไม่มีทางแก้ไข ยอมให้ตัวเองรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และเริ่มโทษโชคชะตา นั้นเป็นเพราะเราไปโฟกัสในสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ลองถามตัวเองว่า ในสถานการณ์แบบนี้ เราสามารถทำอะไรได้บ้าง เพราะเราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างได้ อย่าปล่อยให้เราถูกครอบงำด้วยความคิดที่ว่า เราทำอะไรไม่ได้หรอก แต่จงมองหาบางสิ่งที่เราควบคุมได้ และเปลี่ยนเป็นผู้เลือก แทนที่จะยอมเป็นเหยือ

.

7. การเลือกและพัฒนาผู้มีศักยภาพ (Talent Selection and Development)
หากคุณมีโอกาสได้เข้าร่วมคัดเลือกลูกทีมหรือผู้ที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมในองค์กร คุณมีวิธีคัดเลือกอย่างไร อาจเป็นการสัมภาษณ์ หรือใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินทัศนคติและผลงานที่ผ่านมา แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่า คุณสมบัติอะไรที่เราต้องการจริง ๆ (Want) และคุณสมบัติอะไรที่เราอยากได้ (Need) จำไว้ว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ แม้การเลือกคนจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การพัฒนานั้นสำคัญกว่า อย่าพยายามแต่จะหาคนเก่ง แต่ขอให้ลงทุนพัฒนาคนที่มีอยู่ให้เก่งขึ้น เพราะคนเก่งที่องค์กรต้องการนั้น คือคนที่สามารถทำงานในหน้าที่ได้ดี

.

8. สร้างนิสัยบุกตะลุย ไม่ยอมแพ้ (The Attack Mentality)
เมื่อเราเจอโจทย์ยาก ๆ บ่อยครั้งที่เรายอมตอบว่า “ไม่รู้” แต่หากเราลองพยายามตอบ ไม่ว่าคำตอบนั้นจะถูกต้องหรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เราได้ปล่อยให้สมองเราเริ่มคิด และเมื่อกระบวนการคิดเริ่มขึ้น สิ่งอื่น ๆ ก็จะตามมา เราจะเริ่มมีแรงขับในการหาหนทางแก้ปัญหา หากเราเริ่มท้อแท้ ให้ถามตัวเองว่า เราจะรู้สึกอย่างไรถ้าเราพยายามฟันฝ่าอุปสรรค์จนประสบความสำเร็จ และเราจะรู้สึกอย่างไรถ้าเรายอมแพ้และล้มเหลว ระบุสิ่งที่สำคัญที่เราต้องทำให้สำเร็จในแต่ละวันและพยายามมุ่งมั่นทำสิ่งนั้น แม้ว่าจะมีเวลาเพียง 5 นาทีก็ตาม

.

9. การปรับเปลี่ยน อะไร เมื่อไหร อย่างไร (Making Adjustment)
การเปลี่ยนแปลง คือ การพัฒนา การกลัวการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของความล้มเหลว การปรับเปลี่ยนนั้นมีอยู่ 2 ด้าน คือ การปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือวิธีการทำงาน เราเรียกว่า “Strategic Adjustment” และอีกด้านที่สำคัญมากก็คือ การปรับเปลี่ยนแนวความคิด “Mental Adjustment” ซึ่งโดยปกติการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน เหมือนเป็น Why หรือเหตุผลที่ผลักดันให้เราทำบางอย่าง ดังนั้นหากเราต้องการให้ทีมพัฒนา เราต้องเริ่มจากการส่งเสริมให้ทุกคนลองปรับเปลี่ยนวิธีคิด ทดลองทำสิ่งใหม่ ลองตั้งคำถามว่าตอนนี้เราหรือทีมของเราจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเรื่องอะไรก่อน แล้วค่อยเลือกทำทีละอย่าง

.

การทำงานเป็นทีมก็คือการทำงานกับคน หากเราต้องการให้ทีมประสบความสำเร็จ เราต้องทำความเข้าใจทั้งตัวเองและทุกคนในทีม เข้าใจพฤติกรรม อารมณ์ และความเป็นมนุษย์ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ไม่จำเป็นที่ทุกคนต้องเห็นด้วยกันเรา หากทุกคนเข้าใจในเป้าหมายเดียวกัน ร่วมกันสร้างสิ่งแวดล้อมของความไว้ใจ ให้กำลังใจและช่วยเหลือ และด้วยแนวปฎิบัติทั้ง 9 ข้อ เราจะสามารถทำให้ทีมไหน ๆ ก็กลายเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จได้แน่นอนครับ

ขอบคุณที่ติดตามครับ

--

--

Teerasak Thaluang
Daily Grow-up

Engineer | Father | Reader and Giver for daily grow-up