Date Parameter in Tableau

Pintip Supachutikul
Data Cafe Thailand
Published in
4 min readJul 16, 2020

Parameter คืออะไร ?

Parameter เป็นตัวแปรตัวนึงที่เรากำหนดขึ้นมา เพื่อใช้แทนค่าในการคำนวณ ใช้เป็น filter หรือจะใช้เป็น reference line ก็ได้

Parameter เปรียบเสมือนเป็น Threshold เพื่อให้ Dashboard ปรับเปลี่ยนการแสดงผลตามค่า Parameter ที่เราเลือกซึ่งเป็นได้ทั้ง date, string, และ number แต่จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า Filter คือเราสามารถสร้าง dynamic parameter โดยสามารถกำหนดค่า current value ตามที่เราอยากให้เป็นได้

อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะ “งง” ว่า ตกลง Parameter คืออะไรกันแน่ อยากให้ลองเล่น Dashboard “Date Parameter” อันนี้ดูก่อนนะ น่าจะทำให้เข้าใจได้มากขึ้น ^^

เพื่อให้ง่ายต่อเข้าใจ เราจะลองใช้งาน Parameter ในการเลือกวันที่ที่แสดงผลของข้อมูลกันก่อน

สามารถโหลดมาลองเล่นดูได้ที่ https://public.tableau.com/profile/pin.su#!/vizhome/DateParameter_15935306324760/DateParameter

จาก Dashboard ด้านบน จะเห็นว่า เราเลือก Parameter ไว้ที่ 6 Feb 2019 ซึ่งเจ้าตัว Parameter นี้ จะไปลิงค์กับ field Sales Daily, Sales MTD, Sales YTD ที่เราเขียนสูตรไว้ โดยที่…

Sales Daily จะโชว์ข้อมูล Sales เฉพาะวันที่เราเลือกไว้เท่านั้น

Sales MTD จะโชว์ข้อมูล Sales ของเดือนนั้นๆ เริ่มต้นจากวันที่ 1 จนถึงวันที่ที่เราเลือก (เช่น ในที่นี้ เราเลือก 6 Feb 2019 ในตารางก็จะโชว์ข้อมูลของเดือนกุมภา เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันที่ 6 และ Scorecard จะ sum sales ตั้งแต่วันที่ 1–6 กุมภานั่นเอง)

Sales YTD จะโชว์ข้อมูลของ Sales ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม(โดยดูปีจาก Parameter) จนถึงวันที่ที่เราเลือก (ในที่นี้จะโชว์ตั้งแต่ 1 Jan — 6 Feb 2019)

หลังจากนี้จะมาดูว่า เราจะสร้าง และ ใช้งาน Parameter ได้ยังไง

ก่อนอื่น เราจะมาดูวิธีการสร้าง Parameter กันก่อนนะคะ

  1. คลิกที่ drop down ข้างๆ ช่อง Search → เลือก Create Parameter
  2. จากนั้นก็จะมีกล่อง Create Parameter โผลขึ้นมาค่ะ มาดูกันก่อนดีกว่า ว่าแต่ละช่องคืออะไร
    2.1 ช่องแรก คือชื่อของ Parameter ที่ต้องการจะสร้าง
    2.2 Data Type ของ Parameter โดย data type ที่มีให้เลือก คือ Float, Integer, String, Boolean, Date และ Date & Time
    2.3 Current value หรือค่าปัจจุบันของ Parameter ตัวนี้
    2.4 Value when workbook opens คือค่าที่เราต้องการจะกำหนด default ว่าเมื่อเปิดไฟล์ขึ้นมาแล้ว อยากให้ค่า Parameter เป็นอะไร โดยที่เราจะกำหนดจาก Current Value จากข้อ 2.3 ก็ได้ หรือจะกำหนดจากตัวแปรก็ได้เช่นกันค่ะ
    2.5 Display format จะเป็น format ตาม data type ที่เรากำหนดให้เจ้าตัว Parameter นี้
    2.6 Allowable values มีด้วยกัน 3 แบบ
    2.6.1 All คือโชว์ค่าทั้งหมด
    2.6.2 List เราสามารถกำหนด List เองได้ หรือจะเลือกค่าจาก Field ที่มีใน Data ของเราก็ได้เช่นกัน
    2.6.3 Range ถ้า Parameter ของเราเป็นตัวเลขหรือวันที่ (Float, Integer, Date, Date & Time) จะสามารถกำหนดค่า Parameter เป็น Range ได้

สำหรับผู้อ่านที่งงๆ ในข้อ 2.6 ว่า Allowable values แต่ละแบบแตกต่างกันยังไง สามารถดูได้จาก Dashboard นี้เลย (อยู่ในไฟล์เดียวกับที่โหลดไปแล้วด้านบนนะ :) )

โหลดมาดูยัง ถ้ายังเราจะแปะลิงค์อีกรอบ เพื่อความสะดวกสบาย 5555 https://public.tableau.com/profile/pin.su#!/vizhome/DateParameter_15935306324760/DateParameter

ทีนี้มาดูการสร้าง Date Parameter เพื่อใช้ใน Dashboard ด้านบนกันเลยดีกว่า (เข้าเรื่องซักที 5555)

เราจะกำหนด…

  1. Name: Date Parameter
  2. Data Type: Date

ที่เหลือให้เป็นไปตาม Default ไว้ก่อน

เมื่อสร้าง Parameter เสร็จแล้ว เราไปดูวิธีการใช้งานกันดีกว่าค่ะ

Field แรกที่เราจะสร้างคือ Sales Daily
โดยเราจะบอกว่า ถ้า Order date = Date Parameter จะให้โชว์ค่า Sales ขึ้นมา ทีนี้ถ้า Order Date ไม่ตรงกับ Date Parameter ก็จะไม่โชว์ค่าอะไรขึ้นมา สมมติเราเลือก Date Parameter ไว้วันที่ 6 Feb 2019 → Sales Daily ที่ได้ก็จะมีแค่วันที่ 6 Feb 2019 เท่านั้น

Field ถัดมา คือ Sales MTD
Sales MTD คือการนำข้อมูล Sales ของเดือนที่เราเลือก (ตาม Date Parameter) มารวมกัน เขียนสูตรได้แบบข้างล่างนี้ สมมติเราเลือก Date Parameter ไว้วันที่ 6 Feb 2019 → Sales MTD ที่ได้ก็จะมีตั้งแต่วันที่ 1–6 Feb 2019 นั่นเอง

Field สุดท้าย คือ Sales YTD
Sales YTD คือการนำข้อมูล Sales ของปีที่เราเลือก (จาก Date Parameter) มารวมกัน เขียนสูตรได้แบบข้างล่างนี้ สมมติเราเลือก Date Parameter ไว้วันที่ 6 Feb 2019 → Sales YTD ที่ได้ก็จะมีตั้งแต่วันที่ 1 Jan –6 Feb 2019 นั่นเอง

จากการสูตรคำนวณทั้ง 3 อันด้านบน สังเกตเห็นอะไรที่เหมือนๆกันมั๊ยเอ่ย…?

ทั้ง 3 สูตร จะผูกเงื่อนไขการแสดงผลของข้อมูลไว้กับ Date Parameter ไง ทีนี้พอเราเอา Workbooks ไปรวมกันในหน้า Dashboard แล้วให้ Date Parameter ทำหน้าที่เป็น Filter ในการเลือกวัน ข้อมูลก็จะแสดงตามสูตรที่เราผูกไว้นั่นเองค่ะ

สำหรับใครที่ผูกสูตรเสร็จแล้ว สร้างกราฟเรียบร้อยแล้ว แต่หาไม่เจอว่าจะเปลี่ยนวันที่ยังไง ดูที่รูปนี้เลย

คลิกไปที่ Date Parameter ที่เราสร้างไว้ เลือก Show Parameter แค่นี้ก็จะมี Date Parameter โผล่ขึ้นมาตรงฝั่งขวามือให้เราเลือกวันที่แล้วค่ะ

มาถึงตรงนี้ หลาย ๆ คนอาจจะมีคำถามว่า เวลาที่เปิด Dashboard ขึ้นมาแล้วแสดงผลเป็นวันที่ปัจจุบันเลย ทำได้มั๊ย ?

คำตอบคือ ทำได้ค่ะ และทำได้ง่ายมากด้วย 55555

เริ่มต้นจาก สร้าง field ที่เป็นวันที่ปัจจุบันขึ้นมาก่อน

แล้วก็ไปสร้าง Parameter ขึ้นมา (หรือจะแก้จากอันเดิมเลยก็ได้นะ)
ตรง Values when workbook opens ให้เราเลือก field ที่เราพึ่งสร้างมาเมื่อกี้นี้ (ในที่นี้สร้างไว้ชื่อว่า Today)

จากนั้นกด OK จบ!
เป็นไงคะ วิธีการทำ ทั้งง่าย และ สั้นเลย 55555

เพียงเท่านี้ เราก็จะได้ Dashboard ที่เปิดขึ้นมาเป็นวันที่ปัจจุบัน และ แสดงข้อมูลตามที่ใจต้องการได้เลย

แต่อยากให้ระวังนิดนึงว่า field ที่จะลากมาวางในแต่ละกราฟ จะต้องมีความสัมพันธ์กับเจ้าตัว Date Parameter ด้วยนะ ถ้าเราลาก Sales มาวางเฉยๆเลย โดยที่ไม่ได้ผูกสูตรไว้กับ Date Parameter ก็อาจทำให้เราแสดงผลผิดพลาดได้เลย

ใครอยากลองดู ลองเล่น ไปโหลดมาได้เลยยย

หลังจากที่ได้ลองเล่น “Date Parameter” กันไปแล้ว เป็นยังไงกันบ้างคะ พอจะเห็นภาพการทำงานของ Parameter มากขึ้นมั๊ยเอ่ย ?

บทความถัดไป เราจะพูดถึงการใช้งาน Parameter เป็น Filter ในการเลือกข้อมูลออกมาแสดงผลกัน อย่าลืมติดตามกันนะค๊าา

--

--