3.40 “ซีรี่ย์วาย ที่ไม่วาย”

Napatsanun.ane
Data storytelling showcase
2 min readAug 5, 2021

ผลงานในครั้งนี้เริ่มจากแนวคิดที่อยากจะทำData story ที่มีเนื้อหาที่ดูไม่ซีเรียสและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย จึงได้ข้อสรุปว่าจะทำเนื้อหาเกี่ยวกับความบันเทิง และพบว่าในปัจจุบันสื่อบันเทิงในประเทศไทยเริ่มมีการพูดถึงกระแสซีรี่ย์วาย และกระแสคู่จิ้นจากซีรี่ย์วายกันมากขึ้น และจำนวนสมาชิกของกลุ่มก็มีทั้งคนที่เคยดูซีรี่ย์วาย คนที่เคยผ่านประสบการณ์เกี่ยวกับซีรี่ย์วายแต่ยังไม่เคยลองดูซีรี่ย ์เช่น เคยอ่านนิยาย เคยเห็น MV ผ่านการฟังเพลง รวมไปถึงคนที่ไม่มีความสนใจเดี่ยวกับซีรี่ย์วายเลย จึงทำให้กลุ่มเราเลือกที่จะทำเกี่ยวกับกระแสซีรี่ย์วายในปัจจุบัน ซึ่งตัวผู้เขียนเองก็ไม่ใช่คนที่ดูซีรี่ย์วายเช่นกัน แต่เคยมีประสบการณ์การอ่านหนังสือมาก่อน และคนรอบข้างก็ไม่ได้มีใครนิยมดูซีรี่ย์วายมากนัก โดยส่วนตัวแล้วจึงคิดว่าอาจจะเป็นการยากหากผลงานชิ้นนี้จะสามารถเปลี่ยนใจคนที่ไม่ชอบซีรี่ย์วายเลย หรือตัวอย่างเช่น เพศชายที่มองว่ามันเป็นเรื่องที่ไกลตัวมากๆ หรือหากเขาเข้ามาสนใจจะถูกมองว่าแปลก แต่คิดว่าหากจะมองหาความบันเทิงสักช่องทางหนึ่งซีรี่ย์วายก็สามารถเป็นตัวเลือกหนึ่งได้ เพราะจากประสบการณ์ของผู้เขียนจากแค่การอ่านหนังสือก็ทำให้รู้สึกสนุกมากๆแล้ว จึงอยากให้ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนเล็กๆที่ทำให้ผู้อ่านรับรู้ถึงความน่าสนใจของซีรี่ย์วายและสามารถเปิดใจให้กับทั้งซีรี่ย์วายและกลุ่มLGBTQ+ได้

เราเริ่มเข้าสู่กระบวนการแรกของการสร้าง Data story telling นั่นก็คือการตั้งคำถาม เช่น ซีรี่ย์วายเริ่มมีความนิยมมากขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ หากเราต้องการดูซีรี่ย์วายสามารถดูได้จากช่องทางใดได้บ้าง เหตุผลอะไรที่ทำให้คนสนใจดูซีรี่ย์วาย และคิดว่าจากคำถามที่ตั้งไว้ จะถูกตอบได้ด้วยข้อมูลแบบใด นำไปสู่การหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับซีรี่ย์วาย เช่น การใช้ Social Listening Tools , Zanroo, Mandala หรือ Google trend และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ว่าข้อมูลที่มีอยู่ตรงไหนสามารถนำมาตอบคำถามที่เป็นข้อสงสัยของเราได้

ในส่วนของการนำเสนอ Data story จะต้องมีการวางแผนที่ชัดเจน SMAC เพื่อให้งานที่ทำออกมาเป็นข้อมูลที่ทำประโยชน์ได้มากที่สุด โดยเริ่มจาก

S = Sender ก็คือตัวเราเป็นใครในฐานะผู้ส่งสาร โดยในกลุ่มจะส่งสารออกไปในฐานะที่เราเป็นผู้ที่ชื่นชอบ และติดตามซีรี่ย์วายเป็นประจำ

M = Message ตัวเราในในฐานะ Sender ต้องการจะสื่อสารข้อมูลอะไรออกไปให้กับผู้ฟัง โดย Message ที่เราต้องการจะสื่อ ก็คือ Insight หรือข้อมูลเบื้องลึกของซีรี่ย์วายที่คนทั่วไปอาจจะยังไม่เคยรู้

A = Audience กลุ่มเป้าหมายของสารที่เราต้องการสื่ออกมาให้กับคนกลุ่มใด กลุ่มเราเลือกที่จะส่งสารไปยังกลุ่มคนที่มีความสนใจในซีรี่ย์วายและเริ่มที่จะสนใจซีรี่ย์วาย

C = Channel คือช่องทางที่ใช้ในการส่งสารให้ไปถึงตัวผู้รับสาร กลุ่มเราเลือกที่จะนำเสนอข้อมูลผ่านทาง Facebook และ Instagram เพราะเป็นช่องทางที่เข้าถึงได้ง่ายไม่มีข้อจำกัดทางเพศและอายุ ทำให้ข้อมูลถูกนำเสนอไปให้กับกลุ่มเป้าหมายในทุกเพศ ทุกวัย

เมื่อมีการวางแผนของกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก็จะเป็นการวางแผนเรียงลำดับเรื่องราวความสำคัญของข้อมูล ประเด็นเนื้อหาที่จะเป็นจุดสนใจ ประเด็นที่นำไปสู่คำตอบนั้นๆ โดยมีการวางแผนดังนี้

  1. Hook เป็นการคิดประเด็น หรือจุดที่จะสามารทำให้เป็นที่สนใจหรือประทับใจผู้รับสารได้ โดยที่กลุ่มเราเลือกที่จะใช้คำว่า “ ซีรี่ย์วาย ที่ไม่วาย ” ที่สามารถตีความได้หลายทาง เช่น ซีรี่ย์วาย ที่ไม่ใช่เรื่องแค่เกี่ยวกับความรักของผู้ชายเท่านั้น หรือซีรี่ย์วาย ที่ยังไม่ (วาย)เลือนหายไป
  2. Setting การเริ่มเล่าเรื่องราว โดยจะเริ่มเล่าผ่านข้อมูลที่เกี่ยวกับกระแสของซีรี่ย์วายในโซเชียลมีเดีย และค่อยๆ บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เช่น ซีรี่ย์วายที่ได้รับความนิยม แพลตฟอร์มที่ออกอากาศมีอะไรบ้าง คนส่วนใหญ่ที่ดูเป็นใคร เหตุผลที่เลือกดูซีรี่ย์วาย และจะเข้าสู่ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นในเชิงที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ และอาจจะขัดกับความรู้เดิมๆของพวกเขา เช่น ซีรี่ย์วายในปัจจุบันมีฐานผู้ชมเพิ่มมากขึ้นจากเดิมมากถึง 328% และผู้ชมส่วนมากไม่ใช่แค่กลุ่ม LGBTQ+ เท่านั้น และทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าจริงๆแล้วซีรี่ย์วายอยู่ใกล้ตัวพวกเขามากๆ เช่นเพลงที่พวกเขาเคยฟัง อาจเป็นเพลงที่มาจากซีรี่ย์วาย หรือเราอาจเคยเห็นนักแสดงคู่นี้เล่นด้วยกันมาก่อน ก่อนจะมาแสดงซีรี่ย์วาย และถ้าหากได้อ่านข้อมูลข้างต้นแล้วทำให้เกิดความสนใจ แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เรามีตัวอย่างซีรี่ย์วาย 5 เรื่องที่สามารถครองใจเหล่าสาวกซีรี่ย์วายมาให้คุณได้ลองเลือกดู

3. และสุดท้าย บทสรุป คือสิ่งที่เราอยากจะฝังอะไรไว้ในความคิดของผู้อาจ อยากเสนอแนวคิดแบบใดให้พวกเขาลองพิจารณา หรือเก็บไปคิดตามบ้าง โดยเราอยากที่จะนำเสนอว่า จริงๆแล้วซีรี่ย์วายเป็นสื่อที่ให้ความบันเทิงไม่ต่างจากการดูละครทั่วไป และทุกคนสามรถดูได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศอะไร เช่นเดียวกับวิถีของกลุ่ม LGBTQ+ ที่บางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว แต่เราเชื่อว่าหากคุณได้ลองเปิดใจให้กับซีรี่ย์วายจะทำให้คุณได้เปิดมุมมองใหม่ๆ และสามารถเข้าใจกลุ่ม LGBTQ+ ได้มากขึ้นอีกด้วย

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชา Data story telling

สิ่งแรกก็คือการวางแผนวิธีคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เราควรจะเริ่มจากอะไร หากต้องการหาข้อมูลจะสามารถหาได้จากที่ใดได้บ้าง ซึ่งการค้นหาข้อมูลสามารถพลิกแพลงปรับให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราค้นหาได้ การเลือกใช้สีและคำพูดเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรู้สึกใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น

สิ่งสำคัญที่ได้จากวิชานี้คือการทำงานแบบทีม เพราะเรารู้สึกว่าถ้าเราทำคนเดียวงานชิ้นนี้ไม่มีทางออกมาได้ดีขนาดนี้ เพราะแต่ละจะมีมุมมองที่แตกต่างกัน สามารถเอามาแลกเปลี่ยนและปรับใช้ร่วมกัน ทุกคนต่างรับฟังข้อเสนอของกันและกันแม้จะต้องทำงานกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนก็ตาม ซึ่งแต่ละคนก็มีความถนัดที่แตกต่างกัน จึงทำให้งานชิ้นนี้ประสบความสำเร็จออกมาได้

จะบอกว่าชอบทุกประเด็นและทุกๆทักษะที่ได้เรียนรู้จากวิชานี้ เพราะเป็นความรู้ที่ค่อนข้างใหม่สำหรับตัวผู้เขียนมากๆ ทั้งทักษะการตั้งคำถาม การวางแผน หรือการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากพวกพี่ๆ PunchUp ก็เป็นอะไรที่แปลกใหม่จริงๆ ทำให้เปลี่ยนความคิดจากที่เคยคิดว่า Data story telling น่าจะเป็นเรื่องอะไรที่ง่ายๆ แต่ไม่ใช่เลยมันไม่ใช่แค่การหาข้อมูลแล้วเอามาตกแต่ง แต่มันต้องผ่านการกลั่นกรอง วางแผน และเรียบเรียง ผ่านขั้นตอนต่างๆมากมายกว่าจะออกมาเป็นผลงานชิ้นหนึ่ง และคิดว่าบทเรียนจากการเรียนวิชานี้สามารถนำไปต่อยอดทั้งการประยุกต์กับการทำงาน และการทำวิทยานิพนธ์ได้มากมายหลากหลายด้าน เช่นทักษะการหาข้อมูล หรือกระบวนการคิดวางแผนการทำงานแบบเป็นขั้นเป็นตอน โดยเริ่มจากการตั้งคำถามขึ้นมา และคิดว่าคำตอบของคำถามนั้นเป็นอะไรได้บ้าง และเราจะหาข้อมูลเหล่านั้นได้จากที่ใด

สามารถรับชมผลงานอย่างเต็มรูปแบบได้ที่ https://www.facebook.com/100001512977115/posts/4729783927081993/?d=n

นางสาว นภัสนันท์ เอนกสุรพจน์

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ซีรี่ย์วาย#งานเดี่ยว, Data Storytelling Fri3

--

--