1.1 Data story : 5 อันดับเครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยม ยุคโควิด-19

Klanarong Khuntisiri
Data storytelling showcase
2 min readAug 28, 2021

ที่มาและความสำคัญ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)
ได้ทวีความรุนแรง ประกอบกับเชื้อไวรัสเริ่มมีการกลายพันธุ์ที่สามารถแพร่กระจาย
และติดต่อกันได้ง่ายขึ้น ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่องและได้ขยายออกไปเป็นวงกว้าง ภาครัฐจึงออกมาตรการสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวรวมถึงมาตรการล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว ส่งผลให้สถานประกอบการ
ขาดรายได้ จำเป็นต้องลดภาระรายจ่าย ประการแรกคงหนีไม่พ้นเรื่องการลดเงินเดือนพนักงาน งดจ่ายเงินเดือนหรืออาจถึงขั้นปลดพนักงาน และปิดกิจการในที่สุด
จากผลกระทบที่มีความสัมพันธ์กันจึงทำให้อัตราการว่างงานของแรงงานไทย
และเสมือนว่างงานในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีจำนวนมากถึง 7 ล้านคน
(ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2564)

ทั้งการบริหารจัดการของภาครัฐในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีแนวทางการบริหารจัดการไม่ชัดเจนส่งผลกระทบ
ต่อความเชื่อมั่นของประชาชน ประชาชนเริ่มเกิดความวิกกังวล ความไม่แน่นอน
และรู้สึกสิ้นหวัง หากสังเกตสังคมไทยในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ สิ่งหนึ่งที่
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย คือการหันไปพึ่งสิ่งศักสิทธิ์ เครื่องรางของขลัง จากงานวิจัย “Marketing In The Uncertain World: การตลาดของคนอยู่เป็น
จากมหาลัยมหิดล พบว่าเมื่อคนไทยเกิดความกังวลและรู้สึกถึงความไม่แน่นอน
กว่า 52 ล้านคนจะหันไปพึ่งโชคลาง (มูเตลู) แม้ในความเป็นจริงความเชื่อและความศรัทธาจะอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน ไม่ว่าจะมีสถานการณ์วิกฤติหรือไม่ แต่สำหรับ
ช่วงเวลาปัจจุบันสิ่งที่น่าสนใจคือผลสำรวจการค้นหาเครื่องรางของขลัง ด้านเสริมดวงการเงิน ได้รับความนิยมสูงขึ้นจึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า “สถานการณ์วิกฤติ
ของประเทศไทยรวมถึงการบริหารจัดการของภาครัฐส่งผลต่อความนิยมเครื่องรางของขลังที่เพิ่มขึ้นจริงหรือ

ประกอบกับปัจจุบันโลกยุคดิจิทัล ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นทุกวัน อีกทั้งการเก็บรวบรวมยังสามารถทำได้ง่ายขึ้น จากแหล่งข้อมูลรอบตัว
ที่มีอยู่มากมาย ทั้งในรูปแบบสื่อออนไลน์และสื่อออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในไทย ที่กำลังพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ตัวเลขผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศไทย ดังนั้นการสร้างความน่าสนใจจากข้อมูล หรือการนำเอาข้อมูล ที่มีอยู่ มาเล่าในมุมต่างๆ ให้มีความน่าสนใจนั้น ถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย เนื่องจากตัวเลขอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถสื่อสารหรือเล่าเรื่องต่างๆ ได้ครอบคลุมและน่าสนใจ การสรุปข้อมูลเพื่อเล่าเรื่องให้เข้าใจง่ายในรูปแบบที่น่าสนใจ
(Data Storytelling) จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน

What I learned & What I Like ?

รูปที่ 1 The Three Data Story Elements Complement Each Other (Dykes, Brent. (2020) อ้างถึงใน Chanansara, 2020a)
รูปที่ 2 Effective Data Stories can Drive Change (Dykes, Brent. (2020) อ้างถึงใน Chanansara, 2020b)

เริ่มต้นจากการเรียนรู้หัวใจสำคัญ 3 ข้อ สำหรับการสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ตัวข้อมูล (Data), การเปลี่ยนข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นภาพ (Visualization) และการใส่คำอธิบายหรือเรื่องราวลงไป (Narrative) จากนั้นค้นหาประเด็นที่สนใจ ในที่นี้ขอยกประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์บ้านเมืองกับความเชื่อเรื่องโชคราง

จากนั้นเริ่มดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เกี่ยวกับประเด็นที่เราสนใจ โดยการเก็บข้อมูลจากแหล่งต่างๆ โดยใช้หลัก 5W1H มาเป็นแนวทางในการตั้งคำถามที่สอดคล้องกับประเด็นหลัก และได้เรียนรู้การสร้างความน่าสนใจจากข้อมูล โดยการ

ใช้กรอบแนวคิด SMAC เพื่อกำหนดรูปแบบการสื่อสาร วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
และช่องทางที่เหมาะสม เพื่อนำเสนอข้อมูลให้มีความน่าสนใจ กำหนดรูปแบบ
ของ Data Visualization ให้เหมาะสม ตรงประเด็น และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการใช้ Social Listening tools เช่น Google Search, Google Trend, Listening Tool: Mandala Analytics, Ubersuggest และ Open Data ในการเก็บข้อมูลที่ต้องการเพื่อนำมาวิเคราะห์ หา Insight และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของ้อมูล เพื่อออกแบบชิ้นงาน รวมถึงการออกแบบ Storyboard ผ่านทฤษฏี Freytag’s Pyramid มาประยุกต์
เป็นพื้นฐานในการเล่าเรื่องผ่าน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย Setting, Rising insight,
Aha Moment และ Solution And Next Steps โดยในทุกขั้นตอนที่กล่าวมา
เป็นความรู้ใหม่ที่ได้เรียนรู้ เริ่มตั้งแต่ขั้นแรก ในการกำหนดประเด็นที่สนใจ
ระหว่างทาง การเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ จนถึงปลายทาง คือการออกแบบชิ้นงานให้ข้อมูลที่มีอยู่ในรูปแบบที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย เข้าถึงและโดนใจกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสาร

สำหรับเวอร์ชั่นแบบเต็ม ดู>>
https://www.facebook.com/ThePersonThailand/posts/157707683055111

What to do next ?

เนื่องจากปัจจุบันผมปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานราชการ ตำแหน่งนักประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร จึงจะนำความรู้ที่ได้จากการเรียน Data Storytelling มาพัฒนา
ต่อยอด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของหน่วยงายราชการ สังกัดกรุงเทพมหานคร บนแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก
ด้านการบริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน จากรูปแบบการนำเสนอที่ข้อมูล
ที่เต็มไปด้วยตัวหนังสือ ตาราง กราฟ รวมถึงการทำให้ประกาศหรือมาตรการต่างๆ
จากทางหน่วยงานราชการ ที่ประชาชนอ่านแล้วเข้าใจยาก ก่อให้เกิดความสับสน
ให้อยู่ในรูปแบบการเล่าเรื่อง (Data Storytelling) เพื่อให้มีความน่าสนใจ

Written by:
นายกล้าณรงค์ ขันติศิริ รหัสนักศึกษา 6321821006
วิชา Data Storytelling การเล่าเรื่องด้วยข้อมูล
คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ รุ่น 17 (ภาคพิเศษ)
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

อ้างอิง

ธนาคารแห่งประเทศไทย. ผลกระทบโควิด 19 ต่อตลาดแรงงานไทย. สืบค้น 7 สิงหาคม 2564, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_12Oct2020.aspx

Oranop, C, (2020a). The Three Data Story Elements Complement Each Other. Data Storytelling. Graduate School of Communication Arts and Management Innovation. NIDA

Oranop, C, (2020b). Effective Data Stories Can Drive Change. Data Storytelling. Graduate School of Communication Arts and Management Innovation. NIDA

--

--