7.4 Data Storytelling showcase- พฤติกรรมการกินของกลุ่มคนเจนวายในสังคมปัจจุบัน

ที่มาและความสำคัญของงานนี้

Sikarn Asawaponwiput
Data storytelling showcase
2 min readAug 27, 2021

--

การทำงานนี้เพราะกลุ่มของผู้จัดทำอยากศึกษาพฤติกรรมการกินของกลุ่มคนเจนวายในสังคมปัจจุบัน ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบันประเทศไทยเรานั้นกำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของ Covid-19 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงแทบทุกด้านของประเทศไทยแม้กระทั่งพฤติกรรมการกินของคนไทย โดยที่งานชิ้นนี้มุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย Generation-Y เป็นหลักเพราะเป็นกลุ่มประชากรที่มีสัดส่วนมากที่สุดในประเทศไทย

นอกจากนี้ เราต่างทราบกันดีว่าเศรษฐกิจของประชาชนคนไทยนั้นต่างได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงนี้ ไปจนถึงพฤติกกรรมต่าง ๆ ของคนที่เปลี่ยนไป แต่ทุกคนต้องพึ่งพาอาหารในการดำรงชีวิต การทำงานชิ้นนี้จึงอยากรู้ว่าเมื่อรายได้ที่ลดลงเป็นผลกระทบจากการพร่ระบาดของ Covid-19 มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการกินของคนกลุ่มนี้มากน้อยเพียงใด เปลี่ยนไปหรือไม่ เปลี่ยนไปในทิศทางใด และคาดหวังว่างานชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการร้านอาหารไม่ว่าขนาดเล็กหรือใหญ่สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับเปลี่ยน ประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและพฤติกรรมของผู้บริโภค

ปัจจุบันที่เราต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีนั้นเข้ามามีบทบาทกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ ช่วยให้การดำรงชีวิตของมนุษย์สะดวกและง่ายขึ้น แต่นั่นก็ย่อมแรกมาด้วยการลงทุนหรือเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ เพิ่มขึ้น หากมองถึงเรื่องของการกินนั้นก็หนีไม่พ้นการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทำให้มนุษย์ทุกคนเข้าถึงการกินได้ง่ายขึ้น สะดวกสบายขึ้นด้วย Application ต่าง ๆ ที่มากมายอยู่ในขณะนี้

การปรับตัวลงของเศรษฐกิจที่ส่งผลด้านลบต่อรายได้ของคน Generation-Y นั้นยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ทำไมสัดส่วนการตลาดอาหาร Delivery กลับโตขึ้น

การสวนกันของกระแสนี้จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการกินของคน Generation-Y หากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ยังคงไม่รู้จุดสิ้นสุด รายได้ลดลง แต่การใช้จ่ายด้านอาหารยังคงเหมือนเดิม หรืออาจจะเพิ่มสูงขึ้นจะเป็นเช่นไร คนกลุ่มนี้ยังคงจะสนใจการใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Application อยู่หรือไม่ อะไรคือสิ่งจูงใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเหล่านี้ร้านค้าควรปรับตัวอย่างไร จึงเป็นที่มาของการทำงานชิ้นนี้

บทเรียนที่ได้จาก Final Project

เมื่อได้รับงาน Final มาก็เริ่มคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวของพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือการกินของกลุ่มคนเจนวายโดยในกลุ่มเริ่มช่วยกันคิดเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกินของกลุ่มเจนวายที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย

เมื่อเริ่มวิชานี้ก็ได้ความรู้ใหม่ในส่วนของขั้นตอนตั้งแต่การเริ่มเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้เป็นตัวแปรในการเล่าเรื่องหรือ Data Storytelling โดยส่วนตัวไม่เคยมีความรู้เรื่องนี้มาก่อน เลยเริ่มจาก การถามตัวเองก่อนว่าอยากรู้อะไร เมื่อรู้แล้วว่าประเด็นไหนที่เราอยากรู้เลยเข้าสู่ขั้นเริ่มต้นการเตรียมข้อมูลหรือการ Setting การ Reframe เป็นการเตรียมประเด็นต่าง ๆ ที่เราอยากรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการกินของกลุ่มคนเจนวาย เมื่อได้คำถามที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ เรียบร้อยแล้วสมาชิกในกลุ่มก็จะช่วยกันเลือกเฉพาะคำถามที่คาดว่าน่าจะเป็นประโยชนและสามารถนำไปต่อยอดได้ เมื่อได้คำถามที่อยากรู้แล้วนั้นก็เข้าสู่การเลือกกลุ่มเป้าหมาย ที่ทางสมาชิกในกลุ่มตัดสินใจเลือกเจนวายนั้นเป็นเพราะสมาชิกในกลุ่มทุกคนเราอยู่ในช่วงเจนนี้

เมื่อเราได้ประเด็น คำถามที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงกลุ่มเป้าหมายที่เราอยากใช้เป็นตัวแปรในการเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมการค้นหาข้อมูล เป็นการช่วยกันออกไปค้นหาข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการเตรียมข้อมูลต่าง ๆ

จากข้อมูลที่เรามีคือข้อมูลจากทาง Nida Poll แต่เมื่อดูผลจากการสำรวจของ NIda Poll แล้วเป็นผลการสำรวจโดยไม่ได้แบ่งแยกเจนของกลุ่มเป้าหมายจึงทำให้ข้อมูลที่ได้อาจจะไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ จึงหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Google เพิ่มเติมจาก Website ต่าง ๆ ที่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่เราสนใจ แต่เมื่อสมาชิกในกลุ่มได้ช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลก็ยังไม่เพียงจึงเริ่มหาข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อดูผลสำรวจ ไปจนถึงคำถามต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม แต่ก็ยังไม่เห็นความชัดเจนของข้อมูล จึงตัดสินใจช่วยกันเก็บข้อมูลโดยการลงไปสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายเจนวาย หลังจากที่ได้ไปสัมภาษณ์และได้คำตอบที่เป็นข้อมูลคาดว่าน่าจะเพียงพอแล้วจึงนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาลงใน Excel และช่วยกันจัดคำตอบของกลุ่มเจนวายให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดเรียบร้อยแล้วจึงทำข้อมูลทั้งหมดมาสังเคราะห์ให้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์และจำเป็นในการนำไปเตรียมการทำ Data Storytelling โดยเริ่มจากการคิดว่างานชิ้นนี้นั้นเราจะสื่อสารออกไปในฐานะอะไร สื่อสารอย่างไร กับใคร และคาดว่าจะเป็นประโยชน์ได้อย่าง โดยทางสมาชิกได้วางกลุ่มของเราเป็นสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยใช้เจนวายเป็นตัวกลางในการสื่อสารให้กับผู้ประกอบการ โดยออกแบบ Mood and Tone ให้มีความสดใส ไม่ทางการเกินไป เพื่อให้คนที่รอรับสารไปจนถึงเจนวายและผู้ประกอบการเข้าถึงชิ้นงานได้ง่ายขึ้น และจะสื่อสารงานชิ้นนี้ผ่านทาง Facebook Fanpage และทาง Website ของสำนักงาน

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าไม่ได้มีความรู้เรื่องของการทำ Data Storytelling มาก่อน แต่เห็นได้ชัดเลยว่าการที่เราได้รู้การทำงานชิ้นนี้ตั้งแต่ต้นทำให้เราสามารถได้เห็นกระบวนการเตรียมขั้นตอนต่าง ๆ กว่าที่เราจะได้ชิ้นงานที่เข้าใจง่าย ครบถ้วน มี Impact มาจากข้อมูลที่เต็มไปด้วยตัวอักษรมากมาย การเรียนวิชานี้สามารถทำความรู้ตั้งแต่เริ่มบทเรียนเลยนั่นคือ “เราอยากรู้เรื่องอะไร” ไปต่อยอดในการตั้งหัวข้องานวิจัยได้ เพราะเมื่อเรารู้ว่าเราอยากรู้อะไรแล้ว ขั้นตอนต่างของการทำ Data Storytelling เป็นกระบวนการที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำเล่มวิจัยได้เกือบแทบทุกขั้นตอน ทั้งการ Setting การเตรียมข้อมูล การ Reframe ประเด็นที่เราสนใจ การสังเคราะห์ข้อมูล การวางกลุ่มเป้าหมายว่าเราอยากสื่อสารกับใคร เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำให้เล่มวิจัยเป็นประโยชน์กับคนอื่นที่สามารถนำเรื่องที่เราสนใจไปพัฒนาต่อยอดได้อีก

What to do next?

สำหรับการนำไปใช้ตอนนี้แซนเองกำลังเริ่มทำแบรนด์เสื้อผ้าเป็นธุรกิจส่วนตัวค่ะ (IG : No More Innocent) สืบเนื่องจากตอนเรียนปริญญาตรีแซนจบจากสาขาออกแบบแฟชั่น แล้วอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองเลยเข้ามาเรียนปริญญาโทที่คณะสาขาวิชานี้ การเรียนวิชา Data Storytelling นั้นทำให้ได้รู้เลยว่าธุรกิจไม่ใช่แค่การทำสินค้าออกมาขายอย่างเดียว แต่เราต้องเข้าใจปัญหา ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เราวางไว้ การจะทำสินค้าของเราให้แตกต่างจากท้องตลาดนั่นคือเราต้องต้องรู้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อผลิตสินค้าให้ตอบโจทย์ตามความต้องการ การหาข้อมูลความต้องการต่างๆตามท้องตลาดโดยใช้เครื่องมือ

  • Google Trend
  • Zanroo
  • Mandala Tools

เครื่องมือเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากในการรวบรวม Pain ต่างๆของกลุ่มเป้าหมาย ในบางครั้งกลุ่มเป้าหมายเองก็อยากรู้ความเป็นมาของแบรนด์ การสร้าง Data Storytelling นั้นเองจะเป็นทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจในระยะเวลาเพียงเล็กน้อย แต่มีอิมแพคต่อความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ได้ ขั้นตอนต่างๆที่ได้เรียนรู้ทำให้เราสามารถเข้าใจความต้องการ เห็นถึงปัญหา และสามารถทำให้แบรนด์ของเราตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ แม้ว่าสถานการณ์จะไม่เอื้อต่อธุรกิจก็ตาม

เข้าไปดูผลงาน Data Story เรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคน Gen-Y ช่วง Covid-19 ของกลุ่มพวกเราได้

ผู้เขียน

ศิกาญ์ อัศวพรวิพุธ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บรรณานุกรม

Just 222. (2563). หลังโควิด-19 ธุรกิจ Food Delivery ขยายตัวบนการแข่งขันที่ยิ่งรุนแรง.สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564,จากเว็บไซด์ https://marketeeronline.co/archives/180441

ณัฐภัทร เฉลิมแดน. (2562). งานวิจัยเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น ช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพมหานคร.(พิมพ์ครั้งที่ 2). วารสารธุรกิจอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba/article/download/244515/165506/

เทอร์ร่า บีเคเค. (2562). Where Y? สัดส่วน Gen Y ในประเทศไทย. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.terrabkk.com/articles/191968

Molek. (2561). 5 เคล็ดลับในการเอา Data มาเล่าเรื่อง. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2564, สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/5-tips-for-data-storytelling/

--

--