4.20 Data Storytelling — นอนน้อยแต่นอนนะ

Wanutchakorn Kaewjinda
Data storytelling showcase
1 min readAug 6, 2021

ที่มาและความสำคัญ

เนื่องจากกลุ่มของผู้เขียนได้ตัดสินใจศึกษาทำเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งก็คืออาการนอนไม่หลับ เพราะเป็นประเด็นปัญหาที่สมาชิกทุกคนมักเผชิญหน้ากันอยู่ การนอนพักผ่อนให้เพียงพอถือมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายของตัวเราเอง เพราะการนอนหรือช่วงเวลาที่เราได้หลับ สมองเราได้มีการพักผ่อน เพื่อฟื้นฟูและซ่อมแซมการทำงานของสมอง และการที่เราพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออดนอนมากเกินไปนั้น จะส่งผลกระทบด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสมองทำงานหนักเกินไป ระบบการรับรู้ การประมวลผล การเรียนรู้ก็อาจจะช้าลงได้ คนที่ปัญหาด้านภูมิแพ้ หรือมีโรคประจำตัว ก็อาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงได้ อีกทั้งอาจจะส่งผลทำให้มีปัญหาสุขภาพจิต ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ และนอกเหนือจากนี้อยากให้ทุกคนที่อ่านรับรู้ถึงผลกระทบที่อาจจะมีมากกว่าที่ทุกคนคิด เพราะจากวิจัยและบทความ การนอนไม่หลับสามารถส่งผลเสียได้ถึงระดับสังคม จนถึงระดับประเทศอีกด้วย

What I learned?

สิ่งที่ผู้เขียนได้จากเรียนรู้ในวิชา Data Storytelling อย่างแรกคือการรู้จักและเข้าใจในความหมายของคำ ๆนี้ จากที่เคยเข้าใจแค่ว่ามันคือการสื่อสารข้อมูล แต่ต้องสื่อสารแบบไหนละถึงจะดึงดูดให้คนสนใจ นำเสนอแบบไหน ข้อมูลแบบไหน แล้ว Data แบบไหนที่เราควรจะนำออกมานำเสนอ แล้วควรถ่ายทอดออกมาในช่องทางไหน รูปแบบไหน โดยขั้นตอนการทำงานในครั้งนี้ กลุ่มของผู้เขียนได้เริ่มจาก

1. การเลือกประเด็นที่น่าสนใจและสามารถเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้ที่สนใจ ผู้อ่าน หรือรวมถึงกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะกับประเด็นนี้ และได้มีการตั้งคำถาม grouping คำถาม ที่จะนำไปหาข้อมูล

2. จากการตั้งคำถาม ก็เป็นขั้นตอนที่เก็บรวบรวมข้อมูลของปัญหาหรือ insight ต่าง ๆ โดยใช้ Tools ไม่ว่าจะเป็น

Social Listening Tools, Questionnaires, บทความวิชาการ และทฤษฎีและแนวคิดต่าง ๆ

3. การวิเคราะห์ SMAC

S หรือ Sender คือการกำหนดว่าเราต้องการสื่อสารไปโดยใคร โดยทางกลุ่มผู้เขียนคือ กลุ่มคนที่ปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ และให้คำแนะนำ

M หรือ Message คือการกำหนดข้อมูล เนื้อหา ที่ต้องการสื่อสารออกไป ซึ่งก็คือ ผลเสียจากการนอนไม่หลับ รวมถึงวิธีหรือตัวช่วยให้นอนหลับ

A หรือ Audience คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการนำเสนอเรื่องราวของประเด็นปัญหานี้ ซึ่งคือกลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ หรือกลุ่มคนที่สนใจหาวิธีการในการช่วยเรื่องการนอนหลับ

C หรือ Channel คือการกำหนดช่องทางที่ต้องการนำเสนอไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยช่องทางที่ใช้ ได้แก่ Facebook page และ Instagram (Pic Post และ IG Story)

4. เมื่อมีการวิเคราะห์ กำหนดปัจจัยทั้งหมดแล้ว ก็มีการทำ Storyboard ที่จะเป็นการเล่าเรื่องของ Data นี้ ว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่ต้องการนำเสนอ รวมถึงการเชื่อมโยง และถูกถ่ายทอดไปทางช่องทางต่าง ๆ และมีการทำ Media Plan เพื่อเป็นการวางแผนการนำเสนอคอนเทนต์ต่าง ๆ อีกด้วย

5. ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำเสนอ เล่าเรื่องผ่านช่องทางที่ได้กล่าวไป โดยทางกลุ่มของผู้เขียนได้มีทั้งหมด 4 หัวข้อคอนเทนต์หลัก ๆ ซึ่งก็คือ

  • คุณกำลังเผชิญปัญหาภาวะการนอนไม่หลับหรือเปล่า โดยจะนำเสนอผ่าน IG ที่สามารถลิ้งค์ไปยัง IG Story และสามารถอ่านเพิ่มได้ที่ Facebook และอาจจะมีการให้กลุ่มเป้าหมายได้มีการ Checklist ตัวเองอีกด้วย
  • นำเสนออาการนอนไม่หลับเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ผ่านทาง IG
  • สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ ก็จะนำเสนอถึงข้อเสียของการนอนไม่หลับ จะเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ส่งผลกระทบอย่างไร
  • นำเสนอถึงวิธีการนอนหลับให้กับกลุ่มเป้าหมาย

What I like?

จากการเรียนรู้ในวิชา Data Storytelling ตั้งแต่สัปดาห์แรกจนถึงสุดท้ายนี้ สิ่งที่ตัวผู้เขียนชอบก็คือการได้เรียนรู้และเข้าใจใน Data เพราะทำให้รู้ว่าการที่เรามีข้อมูลดิบๆ หรือข้อมูลเปล่าๆ ที่มีแค่เนื้อหา ตัวอักษร ตัวเลข มันสามารถนำออกมาวิเคราะห์ นำเสนอในรูปแบบต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของ Video Motion , บทความต่างๆ หรือรวมถึง Infographics อีกด้วย ซึ่งก็จะทำให้ผู้ที่รับชม หรือผู้อ่านนั้นสนใจและเข้าใจได้ง่ายขึ้น ทักษะที่ได้เรียนรู้จากวิชานี้เลยก็คือกระบวนการคิดวิเคราะห์ ขั้นตอนการทำงานต่างๆ ในการทำงานเป็น teamwork กระบวนการทางความคิด ควรเริ่มจากขั้นตอนไหน สู่ขั้นตอนไหนบ้าง นำข้อมูลที่ได้มาก่อให้เกิดประโยชน์และเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน และสามารถนำเสนอออกมาได้อย่างสร้างสรรค์ เข้าใจง่าย และสิ่งที่ชอบคือการที่มีวิทยากรหลายท่าน มาให้ข้อมูล ทำให้เกิดการเรียนรู้ในทักษะต่างๆ หรือวิธีการต่างๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้เครื่องมือต่างๆ ในการหาข้อมูล หาInsight ซึ่งเป็นเทคนิคจากผู้มีประสบการณ์ตรง และเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประทับใจอย่างมาก

What to do next?

การเรียนรู้ทั้งหมดในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นจากอาจารย์ประจำวิชา วิทยากร เพื่อนๆในคลาส และรวมถึงเพื่อนๆในกลุ่ม ทำให้ตัวผู้เขียนได้รับความรู้ ข้อมูล ประสบกาณ์ต่างๆที่มีประโยชน์ และสามารถนำทักษะทั้งหมดไปใช้ต่อยอดในการเรียนหรือการทำงานอื่นๆได้ หรือแม้กระทั่งสามารถนำทักษะ วิธีการต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการคิดวิเคราะห์ มีการวางแผนกระบวนการทางความคิด การนำData ไปใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์และตรงจุดให้ได้มากที่สุด สามารถนำทักษะหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ ไปใช้ในการคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆได้อีกด้วย เช่นถ้าต้องการคิดคอนเทนต์ใหม่ๆ ก็อาจจะเลือกใช้ Tools ต่างๆที่ได้เรียนรู้จากวิทยากร และจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ออกมาในรูปแบบ Storyboard คิดจุด Main insight หรือ Aha moment ที่จะสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายของเราได้นั่นเอง เพราะการเรียนรู้ในครั้งนี้ มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริง รวมถึงเป็นการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่ดีของตัวผู้เขียนอีกด้วย

นางสาว วนัชกร แก้วจินดา

คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาตร์

--

--