[Recap UX Event] Emotional Design

Natthar Boonnumchai
DesignCrunch
Published in
4 min readAug 1, 2019
Cr. Bangkok Startup Week

วันนี้เราได้ไปงาน event ของ Bangkok Startup Week มา ซึ่ง Session ที่เราได้ไปฟัง คือ Emotional Design จัดที่ Hubba Silom ในวันจันทร์ที่ 29 กรกฏาคม 2562 ที่ผ่านมา

Speaker เขาทำงานในตำแหน่ง Senior UX Designer ที่ Kaidee ซึ่งพี่เขามาพูดเรื่อง Emotional Design แบ่งได้ตามนี้

  • What is emotional design? = Emotional design คืออะไร ?
  • Why designing for emotion is good for your customers and business? = ทำไมนำเรื่อง emotion มาใช้ในการออกแบบดีกับลูกค้าและธุรกิจของคุณอย่างไรบ้าง ?
  • How to design for emotion? วิธีการนำ design for emotion ไปใช้งานจริง ?
  • และสุดท้ายพูดถึง Case Study ของการนำ Emotional Design ไปใช้งานจริง

Emotional design มีอะไรบ้าง

มี 3 Level ด้วยกัน

https://medium.muz.li/the-art-of-emotion-normans-3-levels-of-emotional-design-88a1fb495b1d
  • Visceral Level พูดถึงเรื่องความสวยงาม รูปร่างหน้าตาของ ความรู้สึกที่มีต่อ product
  • Behavioral Level พูดถึงเรื่องพฤติกรรมการใช้ Product

แบ่งออกได้ 4 อย่าง

  • Task = ผู้ใช้งาน เขาใช้ product ทำอะไรบ้าง
  • Time = เขาใช้ในช่วงเวลาไหน ใช้เวลาเท่าไหร่
  • Error = มีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน Product ไหม
  • Learnability = สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากผู้ใช้ จากการที่เขาใช้งาน product

พี่เขาเลยยกตัวของ product ที่ถูกออกแบบมาแล้วใช้งานไม่ได้จริง เป็นที่คั่นน้ำส้มของยี่ห้อนึง

ต่อมาคือ Reflective Level พาร์ทนี้จะพูดถึงว่าเมื่อ User ใช้งาน product ไปสักพักจนเป็นส่วนนึงของ product

แบ่งออกได้ 3 อย่าง

  • Memories = ภาพจำของผู้ใช้งานที่มีต่อ product ของเรา
  • Relationship = เจ้าของแบรนด์มีการสื่อสาร หรือสร้างความสัมพันธ์ต่อผู้ใช้อย่างไรบ้าง
  • Overall Impression = ผู้ใช้เมื่อใช้งาน product เราแล้วรู้สึกอย่างประทับใจ จนอยากบอกต่อให้คนอื่นมาใช้ไหม

แล้วเราจะหาสิ่งนี้หรือมั่นใจได้อย่างไรว่า product เรามีคุณค่าต่อผู้ใช้งานจริง

Find an important customer or human problem = หาปัญหาให้เจอ คือการลงไปคุยกับเขา ซึ่งจะมีทั้ง Survey Observe หรือ Interview กับผู้ใช้งาน

Reconfirm if this is the problem you can solve =ดูว่าปัญหาที่เราต้องการจะสามารถแก้ไขได้ไหม

คำตอบที่เราจะหาจาก Real Value ได้ คือ BMC ในส่วนของ value proposition

https://steveblank.files.wordpress.com/2014/10/bus-model-and-value-prop-map.jpg
https://designabetterbusiness.com/2017/10/12/how-to-really-understand-your-customer-with-the-value-proposition-canvas/

Create a solution in a way that nobody else can solve it = เราหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างไรบ้าง อย่างในกรณีนี้เขาจะใช้ How might me แปลว่า เราจะทำอย่างไรได้บ้าง จากนั้นลองนำไป test กับผู้ใช้ดู

แล้วจะทำให้เกิด Spark Emotion ได้อย่างไร ?

พี่เขาเลยยกตัวอย่างของ Spark Emotion มีดังนี้

Personalization and Customization

Spotify เขาใช้วิธีการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานจากการฟังเพลง แล้วเขาก็นำข้อมูลเหล่านั้นมาจัด playlist ให้ตรงกับแนวเพลงที่เราฟัง

Expressive image

เคสการขาย airpod ของ apple ถ้าเราบอกแค่ว่ามีคุณสมบัติอย่างไรบ้างมันก็คงไม่ค่อยเห็นภาพเท่าไหร่ apple จึงใช้รูปภาพนี้ช่วยในการสื่อสารกับคนที่จะซื้อโปรดัคนี้ พอใช้แล้วรู้สึกว่า airpod มันเบา สบายนะ ให้ความรู้สึกถึงความอิสระ

Positive Surprise

เคสของ Extension ตัวนึงใน google chrome ที่ชื่อว่า momentum เป็น plugin ที่ใช้บอกเวลาและพยากรณ์อากาศในแต่ละวัน ซึ่งดูเหมือนจะไม่ค่อยมีอะไร แต่…อยากให้สังเกตดูว่ามีอะไรที่น่าสนใจ

นั่นคือ ข้อความที่อยู่ใต้เวลานี่เอง เขาใช้คำทักทาย เป็นการสื่อสารแบบ Positive Surprise พี่เขาเล่าให้ฟังว่า อย่างตอนเย็นจะมีคำให้กำลังใจเป็นภาษาอังกฤษ เช่น วันนี้คุณตั้งใจทำงานมากเลย เป็นต้น

Relatable Voice

อย่างเคสของกูเกิลไนเจียเรีย ทางกูเกิลใช้ สำเนียงการออกเสียงภาษาอังกฤษให้เป็นสำเนียงการพูดแบบไนเจียเรีย เพื่อให้คนไนเจียเรีย รู้สึกว่าเป็นคนไนเจียเรียมาพูดเอง

Personality and Humor

เคส mail chimp tools email marketing เขาเลือกที่ใช้วิธีการสร้าง character ให้กับ product โดยเขาเลือกลิง

แล้วเอานำกริยาท่าทางของมนุษย์มาใส่ในตัว mascot ลิง เพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้ใช้งาน

Microinteraction

Facebook ใช้ การใช้ microinteraction กับปุ่ม like กดแล้วมี interaction เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ทำให้ผู้ใช้อยากกลับมาใช้งานบ่อยขึ้น

เคสสุดท้ายเป็นการใช้ Storytelling

พี่เขายกตัวอย่างเป็นเคสของสายการบินสิงคโปร

เป็นสายการบินที่ได้รับการยอมรับ ทางสายการบินเขามีทีม UX Research มีการลงไปคุยกับพนักงานและลูกค้า เพื่อเก็บข้อมูล

ซึ่งสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ เขามีความต้องการไปจากจุด A ไป จุด B ได้เร็วขึ้น

เคสนี้เขาใช้ video presentation ในการสื่อสารกับผู้โดยสาร

สรุปสุดท้ายพี่เขาได้สรุปไว้ให้ว่า

การทำ product เริ่มจากการทำ product ให้ตอบโจทย์และผู้ใช้สามารถใช้งานได้ก่อน แล้วเมื่อปล่อยออกสู่ตลาดแล้ว ต้องทำให้ดูน่าเชื่อถือ เมื่อผู้ใช้รู้สึกเชื่อมั่นในตัว product แล้ว จากนั้นทำอย่างไรให้เขารู้สึกดีต่อไปเรื่อยๆ

พี่เขาได้ทิ้งท้ายไว้สไลด์หน้าสุดท้ายว่า

แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าต่อไปฟูจะมาเล่าเรื่องใด โปรดติดตามจ้า

--

--