Life experiment จากการทำมือถือหล่นบ่อย สู่การแก้ไขจุดบกพร่องในชีวิต

Rungsikorn Rungsikavanich
Digithun
Published in
2 min readApr 21, 2019

จริงๆสรุปสั้นก็คือ ประมาท และอุบัติเหตุ แต่ถ้ายาวๆก็เลื่อนลงไปอ่านจ้า

ด้วยความหงุดหงิดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ( จอมือถือแตกเพราะว่าทำหล่น ในขณะที่พึ่งที่จะเปลี่ยนมาแค่สองวัน ) ทำให้คิดสงสัยว่า ทำไมมือถือที่เราใช้งานน้อยมากถึงได้หล่นหน้าจอแตกไปถึงสามครั้ง ?

ในขณะที่แทบทุกคนบอกให้ไปหา เคส กันกระแทกมาใส่ เพื่อลดโอกาสการหล่นแล้วแตกของเครื่องใหม่ที่พึ่งซื้อมา (ด้วยอารมณ์) ทำให้อดสงสัยไม่ได้เลยว่า

แค่ดูแลโทรศัพท์ไม่ให้แตกมันยากเย็นขนาดนั้นเลยหรือ

สิ่งที่ผมเข้าใจคือ ไม่มีใครอยากให้มันหล่นหรอก (นอกจากพวก Drop test ) แต่มันเป็นอุบัติเหตุไง เมื่อรถยนต์ ต้องมีเข็มขัดนิรภัย ถุงลมนิรภัย เพื่อรักษาชีวิตของผู้ขับขี่

แต่มือถือหล่นไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตเรา ผมเลยคิดว่า เราน่าจะสามารถวิเคราะห์หาต้นตอที่แท้จริงของ การทำหล่นบ่อย ของผมได้

Life experiment

เคยอ่านหนังสือเจอมาว่า เมื่อเราอยากพัฒนาอะไรในชีวิต เพื่อวัดผลของการกระทำ ให้ลองคิดแบบการทดลองวิทยาศาสตร์ดูคือ วิเคราะห์หา ต้นตอที่แท้จริงของปัญหา และสมมุติฐานเพื่อแก้ไขมัน

ต้นตอที่แท้จริงของการทำมือถือหล่นบ่อย

ครั้งแรกที่ทำหล่นคือเมื่อผมกำลังออกกำลังกาย แต่ดันพกมือถือใส่กระเป๋ากางเกงไว้ บังเอิญมันร่วงออกมาเพราะกระเป๋าไม่มีซิบ

ครั้งที่สองคือหล่นในร้านกาแฟ ตอนกำลังที่จะนั่งแล้วหยิบมือถือออกมาจากกระเป๋าพร้อมกัน

ครั้งล่าสุดคือกำลังยืนรอ bts และกำลังคุยกับเพื่อนที่ทำงาน

จากไอ้ทั้งหมดที่ผ่านมา ผมคิดว่ามันเกิดจากการที่เราโฟกัสหลายสิ่งหลายอย่างเกินไป แทนที่จะตั้งใจทำสิ่งต่างๆที่ละอย่างเช่น

เดินก็เดิน ตั้งใจเดินไปสิ

มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อทำงานหลายๆอย่างพร้อมกัน ด้วยข้อจำกัดของสมอง ทำให้การทำ Multitasking ของเราย่ำแย่

จะออกกำลังกาย แล้วจะเอามือถือไปทำไม ?

เล่นมือถือ ตอนเดินทำไม ?

คุยกับเพื่อนก็คุยไปให้จบ แล้วค่อยหยิบมือถือมาเล่นไง

อ้างอิงจากหลายงานวิจัย พบว่าการทำงานทีละอย่าง มีประสิทธิภาพมากกว่า ทำหลายอย่างพร้อมกัน https://www.sciencealert.com/multitasking-is-not-a-good-way-to-train-your-brain-here-s-why

เนื่องจากสภาวะทางสังคมบีบบังคับให้เราต้องรับมือกับงานหลายๆอย่างพร้อมกัน ทำให้ประสิทธิภาพในการ โฟกัส ของมนุษย์เราลดลง เป็นที่มาของทฤษฎีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (productivity) อันนึง ซึ่งว่าด้วยการทำงาน ทีละอย่างในชั่วขณะหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า OHIO (Only Handle It Once )

จากข้อสมมติฐานนี้ ผมคิดว่า Life experiment ของเราน่าจะต้องเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตบางอย่างของเรา โดยกำหนดกฎง่ายๆ ที่นำ OHIO มาประยุกต์ใช้ดังต่อไปนี้

  • ไม่เล่นมือถือขณะเดิน หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องการความตั้งใจ เช่น ขับรถ กินข้าว ทำงาน
  • เมื่อทุกครั้งที่จะใช้งานมือถือ ให้ใช้งานสองมือ ( เพื่อโฟกัสกับการใช้มือถืออย่างแท้จริง )

ส่วนผมการทดลองที่คาดหวังก็คือมือถือเครื่องใหม่นี้ จอไม่แตก และไม่หล่นไปอีกสัก 1 ปี

ไว้ค่อยกลับมาบันทึกผมการทดลอง ถ้าจำได้นะ

ที่มาของปัญหา

ทำมือถือหล่นพื้นบ่อย ทั้งๆที่ใช้งานมันน้อยมาก

สมมมติฐาน การแก้ไข

โฟกัสการกระทำของเรา ทีละอย่าง ด้วย OHIO principle ( Only Handle It Once ) เช่น

  • ไม่เล่นมือถือตอนเดิน
  • ใช้งานมือถือสองมือพร้อมกัน และโฟกัสการ หยิบเข้า หยิบออก ของมือถือ

ผลการทดลองที่คิดว่าน่าจะได้

ด้านชีวิต

มือถือไม่หล่น ประหยัดเงินค่าซื้อมือถือ ค่าซ่อม

ด้านการงาน

ใช้ OHIO ในการทำงาน ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และกระตุ้นเพื่อนร่วมงาน ให้ตระหนักถึงการนำเอา OHIO ไปปรับใช้งาน เพื่อรีดประสิทธิภาพของการทำงานให้ได้มากกว่าการ Multitasking

ด้านครอบครัว

ไม่โดนแม่ด่า เพราะทำมือถือหล่นบ่อย เปลืองตัง

ด้านสังคม

ไม่น่าจะมีอะไรปะวะ

ด้านจิตใจ

มั่นใจตัวเองมากกว่าเดิม

ผลการทดลองจริงๆ

ด้านชีวิต

To Be Define…..

ด้านการงาน

To Be Define…..

ด้านครอบครัว

To Be Define…..

ด้านสังคม

To Be Define…..

ด้านจิตใจ

To Be Define…..

--

--

Rungsikorn Rungsikavanich
Digithun

The Moderately Enthusiastic Programmer, Javascript coder guy.