มาดูการทำงานคร่าวๆของเจ้า ARMOGAN กันดีกว่าว่ามันทำงานกันอย่างไร?

S.Songklod IToon
Discovery
Published in
2 min readOct 16, 2017
ARMOGAN FLOW

ขอเริ่มจากรูปภาพด้านบนก่อนเลยละกันนะครับ หลักการทำงานจริงๆไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก จะเห็นได้ว่าสถานีตรวจวัดสภาพอากาศ หรือเจ้าเห็ด ARMOGAN มีหน้าที่เก็บข้อมูลและส่งข้อมูลไปให้ระบบศูนย์ข้อมูลกลางเท่านั้น (ฟังเหมือนจะง่าย) แต่จริงๆแล้วมีประเด็นมากมายให้คิดถึงเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่เราเก็บมา

เห็ด ARMOGAN แบบเต็มรูปแบบมี เซ็นเซอร์หลากหลายแบบไม่ได้เน้นแต่เรื่องพยากรณ์อากาศ ค่าที่เก็บได้ก็ประมาณ 20 เกือบๆ 30 ค่า ซึ่งมีค่าเกี่ยวกับพยากรณ์อากาศพื้นฐาน 6 ค่าคือ อุณหภูมิ ความชื้น อัตราเร็วและทิศทางลม ความกดอากาศ ปริมาณน้ำฝน และคำถามเจอคนถามเยอะๆก็คือ นอกจากค่าพื้นฐานเหล่านั้นแล้วเราจะไปเก็บอะไรมากมายเต็มไปหมด ทำไมต้องใส่เซ็นเซอร์เยอะขนาดนั้นด้วย ก็เพราะว่าเราไม่ได้มองแค่การตรวจวัดอากาศ หรือแค่การพยากรณ์อากาศ เรามองไปถึง การระบาดของโรคระบาด การแจ้งเตือนภัยพิบัติ ความผิดปกติของอากาศ คุณภาพอากาศ และอีกเรื่องที่สำคัญก็คือเรื่องการเกษตร

ARMOGAN

ดังนั้นเจ้าเห็ด ARMOGAN ของเรามีหน้าที่เก็บข้อมูลให้ได้ค่าที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งการที่จะได้ข้อมูลนั้นมาไม่ง่ายเลย เดี๋ยวไว้จะให้ R.Phot มาพูดถึงในส่วนการติดตั้ง ค่ามาตราฐานและปัญหาที่เจอละกัน

ต่อมาหลังจากเห็ด ARMOGAN ได้เก็บข้อมูลแล้วระบบจะส่งข้อมูลนั้นผ่านระบบ 3G ผ่าน API ที่เราได้พัฒนาขึ้นไว้ เพื่อเก็บข้อมูลไว้ที่ระบบศูนย์กลางข้อมูล ซึ่งความถี่ในการส่งเราจะส่งทุกๆ

15 วินาทีต่อ 1 รอบ ดังนั้น
1 นาทีเราจะได้ข้อมูล 4 ชุด
1 ชั่วโมงก็จะได้ 240 ชุด และ
1 วันเราจะได้ราวๆ 5760 ชุด ต่อเห็ด 1 ตัว
เป้าหมายในช่วงแรกเราจะติดประมาณ 3-5 ตัว
เราก็จะได้ 17280–28800 ชุด ไม่รวมการส่งภาพ

การส่งภาพเราจะส่งทุกๆ 10-15 นาที ในช่วงการทดสอบซึ่งความถี่ในการส่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

หลังจากที่เราได้ข้อมูลต่างๆมากพอมาเก็บไว้ของในส่วนสุดท้ายคือ การนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เริ่มแรกเราโฟกัสไปที่ โมเดลพยากรณ์อากาศก่อน ซึ่งปัจจุบันมีโมเดลมาตราฐานที่ใช้ๆกันอยู่แล้วเช่น Weather Research and Forecasting Model (WRF) http://www.wpc.ncep.noaa.gov/html/stationplot.shtml, Unified Model https://www.metoffice.gov.uk/research/modelling-systems/unified-model นอกจากโมเดลมาตราฐานที่มีอยู่ ทีมเรายังทำวิจัยต่อเพื่อสร้าง โมเดลพยากรณ์อากาศของไทยต่อไป

แต่นี่ก็ขั้นเริ่มต้นเท่านั้น เพราะจากที่ได้บอกไว้ข้างบนเราไม่ได้สร้างสิ่งเรานี้มาเพื่อแค่พยากรณ์อากาศ เรายังมีอีกหลายๆอย่างที่นำมาช่วยเหลือคนในท้องถิ่นได้ ซึ่งข้อมูลต่างๆที่เราเก็บมานั้นจะนำมาเป็น Open Data ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่า คุณสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยได้

และสุดท้ายหลังจากได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์แล้วก็จะส่งข้อมูลไปยัง Application, หน่วยงานต่างๆ และเครื่อข่ายของเรา โดยใช้คำพูดที่ไม่ได้เป็นศัพท์แสงทางวิทยาศาสตร์มากนั้น แต่เราจะแปลงข้อมูลเหล่านั้นให้เข้าใจง่าย และเหมาะสมกับกลุ่มผู้ใช้งานต่างๆ

นี่ก็เป็นกระบวนการคร่าวๆ ของ เห็ด ARMOGAN ในตอนต่อไปเราจะเล่าเรื่องราวการ Validation และการเอาเจ้าเห็ด ARMOGAN ไปออกงานครั้งแรกกัน

--

--