Blog #10: Blockchain Technology คืออนาคตใหม่ของยุคนี้

donut.sorawit
DOLAB
Published in
2 min readMar 16, 2019
Disruptive Technology

Introduction

ก่อนที่เราจะเข้าเรื่อง Blockchain ขอพูดถึงคำว่า Disruptive Technologies” ก่อน ซึ่งการที่จะเป็น Disruptive Technologies ต้องเป็นเทคโนโลยีที่จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลง เช่น พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer behavior) หรือ Lifestyle ของผู้คนครั้งสำคัญ

  • ปี 1975 ที่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer) เป็น Disruptive platform เป็น infrastructure ที่สร้าง Application มาเปลี่ยนแปลงโลกจนทุกวันนี้ที่ไม่มีใครไม่ใช้ Personal computer
  • ปี 1990 ที่เทคโนโลยี อินเทอร์เนต (TCP/IP) ก็เป็น Infrastructure รอบใหม่ที่เปิดโอกาสให้เกิดแอพพลิเคชั่นอย่าง Facebook, Google, Grab, Twitter เป็นต้น
  • ปี 2009 เป็นยุคของ Blockchain โดยปล่อย Application ตัวแรกคือ Bitcoin ที่คนรู้จักกันดีทั่วโลก ซึ่งจะเป็น Disruptive Technology ตัวถัดไป

Application ตัวแรกของ Blockchain

คือ Bitcoin ถูกปล่อยออกมาในปี 2009 แต่ในเวลาไม่ถึง 10ปี ธนาคารทั่วโลกต้องขยับตัวกันอย่างมหาศาล หรือกระทั่งวงการระดมทุนที่เรียกว่า ICO จะเห็นได้ว่าในปี 2017 มูลค่าการลงทุนผ่าน ICO ปีเดียวมากกว่า VC ทั่วโลกรวมกัน

Credit : https://cdn-images-1.medium.com/max/800/1*pQJx3iZ13b1_UQBF3XGF_w.jpeg

Blockchain Technology

Blockchain Technology จะเป็น Disruptive Technology ตัวต่อไป โดยจะมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และให้เราทำความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับการไว้ใจคนกลาง หรือ ตัวกลางทุกหมดอย่างทุกวันนี้ เช่น เราฝากเงินไว้กับธนาคาร (Bank) ซึ่ง Bank ทำหน้าที่เป็นคนที่บันทึกธุรกรรมทางการเงิน (Transaction) ต่างๆ ให้เรา ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วเราสามารถเชื่อใจธนาคารได้มั้ย แต่ในทุกวันนี้เราทุกคนก็เชื่อใจหรือคาดหวังว่า Bank ของเราจะไม่โกงเรา 5555+

โดยหัวใจของ Blockchain Technology จะเป็น layer #2 ของอินเตอร์เน็ท ที่มีการพัฒนาการเหนือกว่ายุคแรกที่มี TCP/IP เป็น layer #1 ซึ่งเป็นยุคสมัยของ Internet of Information ซึ่งส่งผ่านได้เพียงข้อมูล

แต่สำหรับ Blockchain เป็นยุคอินเตอร์เน็ทที่มีความสามารถเหนือไปกว่า เพราะสามารถที่จะส่งผ่านสิ่งที่เรียกว่า “มูลค่า” (Value) ออกไปได้ด้วย โดยไม่ต้องผ่านเทคโนโลยีของตัวกลางดั่งเช่นในอดีตอีกต่อไป และหมายความว่าในอนาคตอันใกล้ เหล่ากลไกตัวกลางในวงการแลกเปลี่ยนต่างๆ จะต้องปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่

TCP/IP (Internet of information)

ในปัจจุบัน การส่งออกส่งที่เป็นข้อมูลหรือรูปภาพ คือการส่งสิ่งที่เป็นสำเนาออกไป มากมายเพียงใดก็ทำได้ แต่ต้นฉบับก็ยังคงเหลืออยู่ ดังนั้นจึงส่งสิ่งที่เป็นมูลค่า ออกไปไม่ได้จริง ไม่เช่นนั้นเราก็ย่อมจะสามารถส่งออกสิ่งที่มูลค่า เช่นธนบัตรใบละ 1,000 บาทออกไปให้ใครต่อใครก็ได้ มากเท่าไหร่ก็ได้ (หรือเรียกอีกอย่างก็คือ เราสามารถผลิตธนบัตรออกมาเท่าไรก็ได้)เพราะส่งกี่ครั้ง ต้นฉบับก็ยังคงเหลืออยู่ และนั่นคือข้อจำกัดหรือที่เรียกว่า Double spent problem

Blockchain (Internet of value)

แต่สำหรับ บล็อกเชน ได้รับการพัฒนาภายใต้การรวบรวมปัญหาและงานวิจัยโดยนักพัฒนาผู้มีนามว่า Satoshi Nakamoto ผู้คิดและพัฒนา Bitcoinโดยเขาได้แก้ปัญหาในสิ่งที่เรียกว่า Solve Double Spent Problem ทำให้บล็อคเชน สามารถเก็บมูลค่า และสามารถส่งออก “มูลค่า” ได้โดยตรงระหว่างผู้ส่งและผู้รับ และนั่นคือเป็นวิวัฒนาการของสิ่งที่ว่า Internet of value

Follow me.

--

--

donut.sorawit
DOLAB
Editor for

Entrepreneur & Co-Founders @Datability • From @Thailand • Email:dolab.founder@gmail.com • Facebook:dolab