Blog #5: เรียนเขียนโปรแกรม ซื้อ Notebook แบบไหนดี ?

Sr. Sorawit
DOLAB
Published in
3 min readOct 30, 2018

--

เกริ่น

เป็นอะไรที่โดนถามมาเยอะมาก ๆ เลยว่า “จะเลือก Notebook สำหรับเขียนโปรแกรมจะเลือกอะไรดี ?” โดยในบทความนี้จะไม่ระบุถึงรุ่นเนื่องจากมันมีการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ๆ ไปเรื่อย แต่ก็จะ “แนะนำสเปค เพื่อให้น้องๆสามารถเข้าไปเลือกดูได้เอง และเข้าใจว่าที่เราเลือกรุ่นนี้มาเพราะอะไร” บทความนี้จะยังไม่พูดถึง PC นะครับ

เข้าเรื่องกันเลย

เราตัดสนใจจะซื้อ Notebook ซักตัว เมื่อเราเริ่มไปดูจะเจอสิ่งเหล่านี้ดังรูป Fig 1. ซึ่ง เราต้องเข้าใจว่า CPU, RAM, HDD, Graphics Card, Display และ OS คืออะไร จะของอธิบายแบบเร็วนะครับ เนื่องจากเราจะแนะนำสเปกที่ควรใช้และไม่มีปัญหาด้านความเร็วมากนัก

ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่เราต้องรู้จักจะมีดังนี้

1. Central Processing Unit (CPU)

คือ หัวใจหลักของ Computer โดยใน CPU เราต้องดูหลักดังนี้

ตัวอย่าง. Intel Core i5–8250U CPU @ 1.6GHz

  • Clock Speed: 1.6GHz คือรอบสัญญาณนาฬิกาสูงสุดที่ CPU ตัวนี้ทำได้100%ที่โรงงานผู้ผลิตการันตรีมาครับ ซึ่งหมายความว่า ถ้าน้องต้องทำงานประมวลผลที่ 1.6GHz ก็คือสภาวะที่ CPU ทำงานเต็มที่ 100% แต่ความเป็นจริงแล้ว CPU วิ่งไม่ถึงหรอกถ้าไม่ทำงานที่หนักจริง
  • Cores: คือหน่วยประมวลผลหรือแกนหลักของ CPU เปรียบเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ คือ แรงงานของ CPU ถ้ามี 4 Core ก็เทียบได้แรงงาน 4 คนในการช่วยประมวลผล

Intel i3 : มี 2 Core, 4 Thread

Intel i5 : มี 4 Core, 4 Thread

Intel i7 : มี 4 Core, 8 Thread

โดยที่ระบุไว้ไม่ใช่ทุกรุ่นจะมี Core และ Thread แบบนี้ แต่โดยส่วนใหญ่จะประมาณนี้ ซึ่งก็จะมีรุ่นใหม่ที่ออกมาระบุ Core หรือ Thread ไว้ด้วย

โดยพี่จะของแนะนำ CPU Intel Core i5 หรือ i7 ขึ้นไป Clock Speed 2.4 GHz ขึ้นไป

CPU เครดิตรูปภาพจาก https://www.makeuseof.com/tag/intel-core-i3-vs-i5-vs-i7-one-really-need/

2. Random Access Memory (RAM)

โดย RAM ของแนะนำขั้นต่ำจะอยู่ที่สัก 8 GB เนื่องจากถ้า RAM 4 GB จะไม่เพียงพอแต่การใช้งานแล้วเพราะเราต้องเปิดอะไรอีกมากมายเช่น เล่น Facebook, ดู Youtube, ฟังเพลงพวกนี้เพิ่มกันก็เกิน 4 GB ถ้าเราจะใช้เขียนโปแกรมอีก หรือ เปิด VM ware หรือ Docker เครื่องก็ไม่ไหวแล้วครับ ฉะนั้นขั้นต่ำที่ผม เป็นขั้นต่ำเลย แต่ถ้ามีเงินหน่อยแนะนำให้กระโดดไป 16 GB เลยจะได้ไม่แน่นมาก ตอนนี้ใช้ 8 GB อยู่ก็แทบจะไม่พอคือแน่นมาก ๆ เอาจริง ๆ แค่เปิด Youtube, Facebook และ Tab อื่น ๆ ใน Google Chrome ก็แทบจะเต็มแล้ว

ดังนั้นควรเลือกใช้ RAM ซัก 8 GB หรือ 16 GB ก็ได้ถ้าทางร้านให้ RAM มา 8 GB ก็ซื้อ RAM เพิ่มอีกนิดหน่อย ระยะยาวคุ้มกว่าครับ

RAM เครดิตรูปภาพจาก https://www.advice.co.th/product/ram-for-notebook

3. Storage (HDD หรือ SSD)

คือ ส่วนที่ไว้เก็บไฟท์และข้อมูลต่างๆ โดยในปัจจุบันมีการเก็บข้อมูลอยู่ 2 แบบคือ HardDisk (HDD) และ Solid State Disk (SSD) ที่เป็นแบบใหม่ แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป

  • HardDisk (HDD): เป็นการจับเก็บข้อมูลที่มีมานานแล้ว ข้อดีคือสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ส่วนใหญ่ที่ให้มากับ notebook จะขนาด 500 GB หรือ 1 TB และรอบความเร็ว 5400 RPM และ 7200 RPM ซึ่งยิ่งมีรอบความเร็วมากยิ่งทำให้อ่านและเขียนข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้นแต่ส่วนใหญ่ใน Notebook จะมีรอบความเร็วอยู่ที่ 5400 RPM ที่สำคัญคือราคาถูกเมื่อเทียบกับความจุ

HDD แนะนำไม่ยากดูความจุเป็นหลัก 500 GB ขึ้นไปก็เพียงพอแล้ว

  • Solid State Disk (SSD): เป็นการจับเก็บข้อมูลแบบที่ใหม่กว่า ข้อดีคือมีความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลสูงกว่า HDD ค่อนข้างมาก ข้อเสียคือราคาแพงเมื่อเทียบกับขนาดของความจุ ซึ่งแพงกว่า HDD อยู่มาก

SSD ถ้าให้แนะนำควรใช้ความจุ 256 GB ขึ้นไป จะมากกว่านี้ก็ได้แต่อยู่กับกำลังทรัพย์ แต่ถ้าน้อยกว่านี้ไม่แนะนำเนื่องจากมันไม่พอต่อการใช้ตามประสบการณ์

HDD vs SSD เครดิตรูปภาพจาก https://www.backblaze.com/blog/ssd-vs-hdd-future-of-storage/

4. Graphic Card (AMD หรือ Nvidia)

ถ้าเขียนโปรแกรมแนะนำเลยตามประสบการณ์ เลือกยี่ห้อ Nvidia (GeForce)ก่อนเลย เนื่องจากการเขียนโปรแกรมบางอย่างไม่รองรับการรันบนการ์ดจอ AMD (Radeon) ส่วนสเปกนั้นปัจจุบันมีหลากหลายมากดังนั้นก็ดูวิชาเรียนของเรา หรือ การทำงานของเราจะต้องมีการใช้งานเขียน AutoCAD หรือ Solidworks รึป่าว เพราะงานได้ Graphic มันอาจจะค่อนข้างเน้น Graphic Card เป็นหลัก ดังนั้นถ้ามีเรียนพวกนี้หรือถ้าจะเผื่อเล่นเกมด้วยแนะนำเป็น GeForce GTX1050 ขึ้นไปก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องซีเรียสมากนะครับ

เพราะฉะนั้นสำหรับ Graphic Card แนะนำเลือก Nvidia (GeForce) เป็นหลักแล้วที่เหลือก็ Budgets ของเราเลย สำหรับขนาดจอถ้าจะให้ดีผมว่าซัก 13 นิ้วก็พอแล้ว 15 นิ้วปวดหลังหนักป่าวๆ ส่วนความละเอียดเป็น Full HD 1920 x 1080 ก็เพียงพอแล้วครับ

Nvidia vs AMD เครดิตรูปภาพจาก https://www.custompcreview.com/articles/guides/guide-properly-remove-nvidia-amd-ati-gpu-drivers/

5. OS (Windows, Linux, MacOS)

ส่วนเรื่องของ OS ทุกคนอาจจะงง ต้องเลือกด้วยหรา โดยส่วนใหญ่ก็คงเลือกเป็น Windows อยู่แล้วซึ่งผมก็แนะนำนะครับ เพราะขณะที่เราเรียนเราอาจจะทำตามไม่ทันอาจารย์ที่มหาลัย เราก็สามารถไปถามของเพื่อนได้ เพราะหน้าตาโปรแกรม (UI) จะเหมือนกัน แต่ถ้าเราจะไปใช้ Linux หรือ MacOS เวลามีปัญหาคงต้องหาทางแก้ปัญหาเองบางเนื่องจาก OS มันไม่เหมือนกับของเพื่อน 5555 เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้ OS อื่นๆ นอกจาก Windows ครับ

สำหรับคำแนะนำของผม ถ้าน้องซื้อ Notebook ตัวแรกก็คือผมแนะนำตามข้างต้นที่กล่าวไป โดยใช้ OS Windows ไปก่อน ส่วนที่เหลือจะเป็น OS อะไรนั้น ถ้าเขียนโปรแกรมไปเยอะๆ อาจจะเปลี่ยนมาเป็น Linux หรือ MacOS ก็ตามความสนใจของน้องๆเลย 5555

Windows, MacOS, Ubuntu

สรุป

CPU Intel Core i5 หรือ i7 ขึ้นไป Clock Speed 2.4 GHz ขึ้นไป RAM ซัก 8 GB หรือ 16 GB อีกทั้งเรื่องการเก็บข้อมูลที่มีทั้งแบบ HardDisk (HDD) และ Solid State Disk (SSD) จริงเลือกอะไหนก็ได้ แต่เรื่อง SSD แนะนำความจุต้อง 256GB ขึ้นนะครับ ไม่งั้นอาจจะต้องเสียตังภายหลังอีกรอบได้ 555 ส่วนเรื่องการ์ดจอก็แนะนำ GeForce GTX1050 ขึ้นไป ซึ่งมันครอบคุมทั้งหมดด้านแล้ว ไม่จะเผื่อเล่นเกมก็ไม่มีปัญหาอยู่แล้วสำหรับการ์ดจอระดับนี้ ราคาโน็ตบุ๊คที่ระบุนั้น ถ้ามือ 1 ตามสเปคที่วางไว้ข้างต้น ก็น่าจะซัก 25,000–35,000 บาทได้ เป็นราคาช่วงที่คิดว่า notebook ตัวนี้ส่งน้องเรียนจบปี 4 ได้พอดี คำแนะนำทั้งหมดนี้เหมาะสำหรับคนเรียนสายคอมหรืออยากซื้อ notebook มาเล่นเกมซักตัวนึงก็พอได้ครับ ลองๆหากันดูนะครับ

หากจะเช็คราคาสินค้าโดยส่วนใหญ่ผมก็เช็คจากเว็บ Advice, JIB ซึ่งก็น่าเชื่อถืออยู่แล้วไม่ต้อง หวังว่าข้อมูลจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย 55555

ถ้าใครถามว่าพี่ใช้อะไรอยู่ก็พอจะบอกได้ครับ ตอนนี้พี่ใช้ MacOS อยู่ แต่ก่อนหน้านี้ก็ใช้ Notebook ที่เป็น Windows มา 2 ตัวแล้ว สำหรับถ้าใครสนใจเรื่องจะใช้ Mac หรือ Linux ก็คอมเมนต์มาได้นะครับ หรือ inbox ไปที่ Facebook ได้นะครับ

สำหรับคนสนใจ MacBook ตามมาอ่านได้ที่นี้ Blog #9: ซื้อ MacBook ดีไหม

แล้วสำหรับคนสนใจ Image Processing อีก สามารถอ่านการเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ด้างล่างนะครับ

Follow me.

--

--

Sr. Sorawit
DOLAB

Data Experience @Guru Square • Software Engineer • From @Thailand • founder dolab • Website:http://dolab.cc/ Email:dolab.founder@gmail.com • Facebook:dolab