สร้างหน้า Dashboard But No Coding x DrZin

L Pasawee
Dr-Zin
Published in
4 min readAug 20, 2019

สอนใช้งาน Node-red Dashboard เพื่อสร้างหน้า DashBoard แบบไม่ต้องเขียน โค้ดสักตัว

ติดตั้ง node-red-dashboard

เข้าไปที่ manage palette และค้นหาด้วยคำว่า node-red-dashboard กดติดตั้ง

เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะเห็น แท็บที่เพิ่มขึ้นมาคือ dashboard แบบนี้ ประกอบไปด้วย node แบบต่างเช่น button, dropdown, switch, gauge, chart เราสามารถใช้ node ตรงนี้เพื่อสร้างหน้า dashboard ได้แบบรวดเร็ว

Group And Tab

Group : ใช้เพื่อแบ่งกลุ้มในหน้าเดียวกัน

Tab : ใช้เพื่อแบ่งว่า UI จะอยู่หน้าไหน

ดูโครงสร้างของ dashboard เราได้จาก แท็บ Dashboard

button

Group : ใช้ในการจัดตำแหน่งของ UI

Size : กำหนดขนาด โดยปกติเป็น auto

Icon : กำหนด Icon ใส่ชื่อ Icon ที่ต้องการได้จาก Material Design icon, Font Awesome icon, Weather icon

Tooltip : เป็นคำอธิบายของ UI เมื่อเอาเมาส์วางค้างไว้

Colour : กำหนดสีของตัวอักษร

Background : กำหนดสีของพื้นหลัง

Payload : กำหนดข้อมูลที่ส่งออกมาเมื่อคลิ๊ก กำหนดได้หลายประเภทเช่น String, Number, JSON, boolean, timestamp และยังกำหนดค่าใน flow, Global ได้ด้วย

Topic : กำหนด Property Topic ใน msg Object

Name : กำหนดชื่อของ node

Dropdown

Placeholder : คำอธิบายถึงตัวเลือก Dropdown

Option : เพิ่มตัวเลือกแบบต่างลงไปได้

Dropdown สามารถผ่าน msg Object จาก node อื่นๆได้

Switch

Icon : ตั้งค่า Icon เฉพาะเมื่อกดในแต่ละครั้งได้

On/Off payload : ตั้งค่าว่าให้ส่งข้อมูลแบบไหนออกไปเมื่อกด Switch

Slider

Range : ระบุช่วง min max และเพิ่มค่าทีละเท่าไหร่

Output : กำหนดลักษณะที่ส่งข้อมูลออกไป

Payload : กำหนดให้เป็นค่าปัจจุบัน

Form

Form : ใช้สำหรับการเพิ่มช่องในการกรอกข้อมูล สามารถกำหนดประเภทได้หลายประเภทเช่น text, number, date, switch

Button : กำหนดชื่อของปุ่ม

Form เมื่อกด Submit ข้อมูลแล้วเราจะได้ข้อมูลที่ออกมาเป็น JSON แบบตัวอย่างข้างล่าง

Gauge

Value format : กำหนดค่าที่จะแสดงผลมา ตรงกลาง

Unit : กำหนดหน่วยของค่าที่จะแสดงผล

Range : กำหนดช่วงของการแสดงผล

Colour : กำหนดสีของช่วงข้อมูลในแต่ละช่วง

ค่าที่จะป้อนให้ Gauge เป็น Object ที่ต้องที Topic เป็น Value และ Payload เป็นเลขของข้อมูลที่ต้องการแสดงดังตัวอย่าง

Chart

อ่านข้อมูลเต็มๆได้ที่

ใน หน้า Properties ของ chart จะมีให้ตั้งค่าอยู่หลายอย่าง ที่เราจะใช้หลักคือ Type

Type : กำหนดลักษณะของกราฟเป็นแบบต่างๆเช่น Line chart, Bar chart,Pie chart, Polar Area, Radar chart

chart แบบต่างมีข้อมูลที่ส่งเข้าไปคือ Series, data,label

series : บอกว่ามีข้อมูลอะไรบ้างตามตัวอย่างข้างบนคือ x, y, z

data : Array 2 มิติ ภายในบรรจุข้อมูลที่เรียงตามลำดับของ series

label : ข้อมูลที่แสดงใน แกน x ของกราฟ

เมื่อเรานำข้อมูลด้านบนมาใส่กับ inject ที่ส่งข้อมูลออกเป็น JSON จะได้กราฟแบบนี้

ตัวอย่าง code เรื่อง graph เราสามารถ import เข้าไปใน node-red และใช้งานได้เลย

--

--