รีวิว Unicorn Tears : สตาร์ตอัพแบบไหน ที่ไม่ได้ไปต่อ

Dr.Kanapon Phumratprapin
drtum
Published in
2 min readMar 24, 2021

Review หนังสือ Unicorn tears : สตาร์ตอัพแบบไหน ไม่ได้ไปต่อ เขียนโดย Jamie Pride (ให้ 3/5)

เขียนโดย Jamie Pride สำนักพิมพ์ Amarin Howto ราคา 245 บาท

มาเข้าเนื้อหาหลักกันดีกว่า

สำหรับเนื้อหา ผมคิดว่าผู้เขียนก็สรุปเนื้อหา ได้ครอบคลุมดี โดยผมอ่านแล้วคิดว่าแบ่งเป็นสามส่วนด้วยกันคือ

1.ในการแบ่งจุด Fail ของ Startup เป็นสามด้านคือ

A.ทีมผู้ก่อตั้ง

  • ผู้ก่อตั้งหรือกลุ่มผู้ก่อตั้งขาดสมรรถภาพ : คือความสามารถ (Skill) ไม่ได้, หรือ ร่างกายไม่แข็งแรง (Physical Fitness) กับ จิตใจไม่อึดพอ ​(Mentality fitness) ซึ่งประเด็นเรื่องสุขภาพกายกับใจ เป็นประเด็นที่คนไม่ค่อยกล่าวถึงเท่าไหร่ แต่ผมก็คิดว่าสำคัญไม่น้อย ดังนั้นผมก็มักแนะนำเพื่อนผู้ประกอบการให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากเราจะ Lean องค์กร เราต้อง Lean ไขมันเราออกก่อน 555
  • ทีมงานทะเลาะกัน : อันนี้เรียกได้ว่าคลาสสิก เพราะผู้ร่วมก่อตั้ง เปรียบประหนึ่งกับคู่สามีภรรยา ในบางช่วงเราอาจเจอหน้า co-founder เราบ่อยกว่าภรรยาเรา ดังนั้นเวลาเราจะแต่งงานเราก็ยังเลือกตั้งนานเลย แต่หลายครั้งเรากลับไปเลือก Co-founder ที่พึ่งเจอกันในงาน Hackathon หรือ Event ซึ่งจริงๆ มันก็ไม่ใช่ไม่มีโอกาสสำเร็จนะครับ เราก็ได้ยินเรื่องราว คู่แต่งงานที่ปิ๊งรักแรกพบ แล้วแต่งงานจนมีความสุขก็มี (แต่มันก็ไม่ได้เยอะมาก)

B.Business model

  • คำถามที่สำคัญคือมันทำกำไรได้อย่างยั่งยืนจริงไหม หมดยุคการหา User เยอะๆแล้วค่อยทำเงินทีหลังแล้ว
  • อย่ามัวแต่ Focus ที่ Product จนลืมใส่ใจ Business model เพราะหลายคนคิดว่าถ้าของเจ๋งยังไงก็รอด แต่บางที App อย่างเดียวไม่ได้เป็นแก่นขนาดนั้น ทำให้หลายครั้งเรา จัดการทรัพยากรผิดวิธี เอาเงินไปทำ App อย่างเดียว (แท้จริง ผมคิดว่าหลายครั้ง เราไปผูกว่าต้องมี App ถึงจะเป็น startup มากเกินไป)

C.เงินลงทุน

  • เงินน้อยก็เจ๊ง อย่ามัวห่วงหุ้นมาก จนไม่กล้าระดมทุน คือหุ้นไม่มีประโยชน์หากบริษัทเราเจ๊ง เพราะหลายคนมักกลัวการเสียการควบคุม
  • เงินมากก็เจ๊ง อันนี้เป็นส่วนที่แปลกดี แต่ก็อาจจะจริงคือ มีเงินมาก ผู้เขียนบอกว่า บริษัทเกิดใหม่ ที่ได้เงินมาก จะทนความเย้ายวนไม่ไหว อยากใช้เงิน แล้วสุดท้ายจะพาไปสู่จุดจบได้เช่นกัน
  • ทะเลาะกับนักลงทุน เพราะนักลงทุนก็ขึ้นเรือลำเดียวกับผู้ประกอบการ หากเลือกไม่ถูก มีความสัมพันธ์ไม่ดี เรือก็ล่มเช่นกัน

ผมอ่านแล้วก็เห็นด้วยเพราะส่วนใหญ่ก็มักจะเจ๊ง จากสามหมวดนี้แหละ

(คหสต) ขอเพิ่ม D.ตลาด

  • ถ้าให้ผมเพิ่ม ผมอาจจะเพิ่มเรื่อง D ตลาด ว่าเราเลือกตลาดถูกต้องหรือไม่ ซึ่งมีสององค์ประกอบคือ มันใหญ่พอไหม แล้วมันถูกเวลาหรือเปล่า

2.การทำ Product Startup แบบวิธี Hollywood — Hollywood method

https://www.startupdaily.net/2018/03/develop-grow-startup-hollywood-method/

ซึ่งผู้เขียนพยายามขายแนวคิดว่า เราสามารถพัฒนา Product ให้เหมือนการทำหนัง Hollywood ได้เพราะ Startup สำเร็จแค่ 8% เอง แต่หนัง Hollywood สำเร็จเกือบ 50% แต่ผมคิดว่าส่วนนี้ค่อนข้างน่าเบื่อพอสมควร เพราะเหมือนการพยายามจะขายแนวคิดนี้ โดยเอามาจับคู่กับ Lean Startup method หรือ Design Thinking คือเหมือนพยายามทำให้เรื่องเดิม แพคเกจให้เป็นเรื่องใหม่ (คหสต นะครับ)

3.การระดมทุน

ส่วนนี้พูดถึงแนวทางการหาเงินลงทุน สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นแนวคิดที่ดีคือ
-ควรมี Timeline ให้ชัด ไม่งั้นมันก็จะไหลไปเรื่อยๆ (อันนี้จริง)
-เข้าใจข้อมูลการเงินตัวเองให้ดี ว่าต้องการเท่าไหร่ มูลค่าบริษัทเท่าไหร่ เพราะอะไร ไม่ใช่เสกขึ้นมาเฉยๆ
-ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการระดมทุนคือ ช่วงที่ไม่ต้องการเงินทุนมากที่สุด
-เตรียมเวลาไว้ 6 เดือน เป็นอย่างน้อยกว่าจะได้เงิน
-คุยกับนักลงทุนตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่เรายังไม่เริ่มระดมทุนจะดีที่สุด เพราะจะได้รู้จักกันอย่างสบายใจ

เมื่ออ่านจบเล่มแล้ว สิ่งที่คาใจคือ

-คำโปรยหนังสือเขียนว่า ผลงานเจ้าของ Startup ที่สูญเสียเงิน 200 ล้าน USD ในเวลาเพียงสามเดือน ดังนั้นสิ่งที่คาดหวังคือ อยากรู้เรื่องราวว่า ใช้อย่างไรหว่า 200 ล้าน USD ประมาณ 6,000 ล้านบาทในสามเดือน แต่อ่านจนจบ พบว่ามีเพียงย่อหน้าเดียวที่เขียนว่า บริษัทหนึ่งที่เขา IPO ชื่อ Reffind นั้นเข้าตลาดแล้วมูลค่าหุ้นขึ้นไป 200 USD แล้วร่วงลงมา ดังนั้นเป็นเหมือนแค่การแกว่งของมูลค่าหุ้นเท่านั้นเอง ไม่ได้เกี่ยวกับธรุกิจเลย

-เนื้อหาดูเป็นการสรุปภาพรวมความรู้ จาก Content ในหนังสือดังๆหลายๆเล่ม เช่น Business model canvas, Zero to one, The Startup Owner’s Manual ไม่ค่อยรู้สึกว่าผู้เขียนได้ลงลึก Insight จริงๆ เท่าไหร่นัก ระหว่างอ่านก็มีความรู้สึกว่า สรุปคนนี้ เขาใช้ตัวจริงใช่ไหมเนี่ย (ซึ่งอันนี้ก็เป็นการตัดสินที่ฉาบฉวยอยู่ไม่น้อย)

สรุป

หากคุณกำลังจะเริ่มทำ Startup แล้วใหม่มากๆ ยังไม่เคยอ่านหนังสือแนวนี้ ผมคิดว่า เป็นหนังสือที่ดีนะครับ
ส่วนถ้าเคยอ่านหนังสือเล่มนี้มามากมายแล้ว คิดว่าเนื้อหาไม่ได้มี insight ใหม่ขนาดนั้นครับ ผ่านไปก่อนได้

เกี่ยวกับผู้เขียน

นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ (ตั้ม)

CEO and Founder : Health at home

--

--