ข้อแตกต่างเชิงเทคนิคของ Office ProPlus vs Professional Plus และ การ Deployment/Update
Content difficulty — Technical
Update ชื่อ Plan ล่าสุด
Office 365 Business เปลี่ยนชื่อเป็น Microsoft 365 Apps for BusinessOffice 365 ProPlus เปลี่ยนชื่อเป็น Microsoft 365 Apps for Enterprise
Office 365 Business Essential เปลี่ยนชื่อเป็น Microsoft 365 Business Basic
Office 365 Business Premium เปลี่ยนชื่อเป็น Microsoft 365 Business Standard
Microsoft 365 Business เปลี่ยนชื่อเป็น Microsoft 365 Business Premium
จากตอนที่แล้ว เราได้เห็นความต่างคร่าวๆของทั้ง 2 แบบ เรื่องของการซื้อขาย และ ภาพรวมคร่าวๆ ของ แบบ Subscription และ Perpetual ซึ่งข้างในก็คือ ProPlus และ Professional Plus ในตอนนี้ จะเป็นการลงรายละเอียดความแตกต่างเชิงลึกของทั้ง 2 แบบครับ
ProPlus vs Professional Plus
ความแตกต่างของ ทั้ง 2 ในแง่มุมต่างๆ เป็นดังนี้ ซึ่งจะขอกล่าวฝั่งที่เป็นของ Enterprise ซึ่งก็คือ ProPlus และ Professional Plus ส่วน MS Office Business หลักๆจะล้อตาม feature ของ ProPlus และ MS Office Standard จะล้อตาม Professional
Subscription plan ที่เป็น Office Business (เช่น Office 365 Business Premium)จะมีลักษณะ โดยรวมแบบ ProPlus แต่จะมีข้อจำกัดในบางกรณี ที่ไม่ supportเช่น เรื่องการจัดการผ่าน Group Policy, Azure Information Protection(AIP)หรือ Shared Computer Activation ที่จะกล่าวในต่อไป
** เฉพาะ Microsoft 365 Business จะมี Shared Computer Activation ให้
Licensing
ProPlus จะลง ได้ 5 PC/Mac, 5 Tablets และ 5 mobile ต่อ 1 License (รวม 15) ส่วน Professional Plus จะเป็น 1 License ต่อ 1 PC (ไม่รวม Mac เพราะไม่ support ตัว Access กับ Publisher)
การ Deployment
แบบ ProPlus จะ Deployment technology เรียกว่า Click-to-Run (C2R) ส่วน Professional Plus จะเป็นแบบ MSI (คือ แบบ Windows Installer) แต่ในส่วนของ Professional Plus ใน Office 2019 ตอนนี้จะปรับเป็น C2R หมดแล้ว MSI จะมีแค่ Office 2016 ลงมา
C2R จะสามารถลงกับ client ตั้งแต่ Windows 7 และ MAC OSX 10.6, Ipad version 7 ขึ้นไป
นอกจากมี MSI กับ C2R แล้ว ถ้าซึ้อผ่าน Microsoft Store จะเป็น Technology เรียกว่า Microsoft Store วิธีการดูว่าเป็น version อะไร ดูได้ที่ https://support.office.com/en-us/article/find-details-for-other-versions-of-office-8e83dd74-3b83-4528-bda6-6ff6118f8293?ui=en-US&rs=en-US&ad=US
MS Office ที่มาจาก Office 365 จะมองเป็น version เดียวกับ Office 2016 และ Office 2019 รายละเอียดมีในตอนต่อไป
แบบ ProPlus (steaming) นั้นสามารถ run Office ระหว่างที่ install ได้ เลือกการ deployment ได้หลายวิธีดังนี้
- Internet ซึ่ง user แต่ละคนสามารถไป download เองได้ (self-installation) ผ่าน https://portal.office.com ซึ่งจะเป็น self service แต่อาจจะกิน network ขององค์กร และ ไม่สามารถทำการกำหนดได ้ว่าสามารถลงอะไรได้บ้าง และ เครื่อง PC ของ user ต้องมีสิทธิสามารถ ลงโปรแกรมได้เอง (local admin)
- Microsoft Intune สำหรับ admin ที่อยาก manage การ deploy ทั้ง MS Office และ Windows 10 จาก cloud ลง PC ซึ่งรวมไปถึงการจัดการ mobile device ด้วย
- System Center Configuration Manager (SCCM) ตัวนี้ครอบคลุมทั้ง MS Office และ Windows เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่หลักพันเครื่อง ซึ่งแนะนำว่าให้ upgrade เป็น Current Branch (Configuration manager) เพื่อทำการช่วย distribution และ ใช้ Office 365 installer wizard เพื่อทำ template ของ Office Customization ว่าจะลงอะไรบ้าง
- Office Deployment Tool (ODT) สำหรับองค์กรที่อาจจะไม่ได้มี SCCM แต่ มีข้อจำกัดเรื่อง Internet link เพราะวิธีนี้ สามารถใช้ local network ได้โดย Download package ลง local source และ deploy ซึ่ง admin กำหนดเพิ่มได้ว่า user ควรลง bit version อะไร? ลง MS Office ตัวไหนได้บ้าง ซึ่งแบบ ODT ยัง support โหมดแบบ Deploy จาก cloud ตรงลง PC ผ่าน Content Delivery Network (CDN) node ได้อีกด้วย ก็แล้วแต่การ point ตัว location
การ Deploy ลงผ่าน Office Deployment Tool (ODT)จะกล่าวถึงในตอนต่อๆไป ซึ่ง template ที่กำหนดว่าให้ลง Office อะไรได้บ้าง ใช้ Office Customization Tool ช่วยส่วนของ SCCM จะมีมาให้แล้วในตัวคือ Office 365 installer wizard
แบบ Professional Plus/Standard (classic) เนื่องจากเป็น MSI ก็จะมีไม่เรื่องการ ไป Download ตรงจาก https://portal.office.com หรือจาก ODT และไม่สามารถ run Office ได้ขณะทำการ install แถว size ยังใหญ่กว่าแบบ C2R
แต่ user ยังสามารถหา Download จากเว็บได้ หรือในแง่ Deployment หลายๆเครื่อง Admin ก็สามารถจะ deploy ผ่าน ตัว SCCM โดย ทำ template file จาก customization tool และ ไปเอา key activate มาจาก VLSC (Volume Licensing Service Center) ซึ่ง step จะคล้ายๆ ProPlus ซึ่งส่วนใหญ่ ก็ทำมาพร้อมๆ กับ การ Deploy ตัว Windows Image
การ Activate ตัว License
แบบ ProPlus การ activate คือ Sign in ด้วย username ของ Office 365 ซึ่ง ProPlus นั้นสามารถใช้งานแบบ Offline ได้อยู่แล้ว แต่ทุกๆ 30 วัน user ควรเอา PC ออก Internet ให้ระบบมีการ Online check อย่างน้อย 1 ครั้ง (ระบบเช็คให้เอง) เพื่อให้เห็นว่ายัง Activeไม่งั้นจะเข้าสู่โหมด Reduced functionality ซึ่งทำให้ใช้ feature ของ MS Office ไม่เต็มที่
แบบ Professional Plus/Standard จะ setup ตั้งแต่ขั้นตอนการ Deployment ซึ่ง Activate ได้ 2 แบบ คือ KMS และ MAK ซึ่ง Proplus ไม่มี
ตัว Key Management Service (KMS) ซึ่งเป็น local server (ทีม IT จะต้องติดตั้ง server เพิ่มเติม) มาเป็น Broker ช่วย activated key ให้เครื่องของ users ก็จะผ่าน Network ภายในของ องค์กร ซึ่งแบบนี้ก็ไม่ต้องให้เครื่อง user ออก Internet ก็ได้ ซึ่ง KMS host คอยทำการ Activate และ จะ support การ activation ดังนี้
- Office 2019: ตัว Host ต้องเป็น Windows Server 2012 หรือ Windows 8.1 (volume edition) ขึ้นไป
- Office 2016: ตัว Host ต้องเป็น Windows Server 2008 R2 หรือ Windows 7 SP1 (volume edition) ขึ้นไป
อีกวิธีหนึ่งในกรณีเครื่อง PC มีไม่มาก (ต่ำกว่า 50 เครื่อง) สามารถ Activate แบบ one-time activation แบบไม่ต้องมี KMS Host คือ Multiple Activation Key (MAK) ซึ่งเครื่องจะไป Activate กับ Server ของ Microsoft (ออก Internet) หรือ Activate ผ่านโทรศัพท์
MAK จะ activate ผ่าน Tool ชื่อ VAMT (Volume Activation Management Tool) เนื่องจากเป็น one-time จึงไม่เหมาะกับ PC ที่ต้อง re-image หรือ reinstalled บ่อยๆ
สำหรับ Virtual Desktop Infrastructure (VDI)
ตัว ProPlus แม้จะ เป็น ระบบ Subscription ผูกกับ user แต่ก็ยังสามารถ cover ในกรณีที่ ลงบน VDI (ผ่าน Remote Desktop Services Server) หรือ Workstation ซึ่งเป็นเครื่องในองค์กรที่ user จะมาใช่ร่วมกัน และทำการ Activate ในแต่ละ users เรียกกรณีนี้ว่า Shared Computer Activation (แบบ Professional Plus จะไม่มี) ซึ่ง Tools ที่ใช้ก็ยังทำผ่าน Office Deployment Tool (ODT)
การ Update
แบบ ProPlus จะมีรอบการ Feature update ดังนี้ ซึ่ง Admin ของ องค์กรสามารถเลือกได้ ว่าการ update แบบไหนให้กับกลุ่มไหนในองค์กร ซึ่งระบบก็จะ download update เป็น background ซึ่ง user ยังคงใช้ MS Office อยู่ได้ พอเสร็จระบบ ก็จะให้เรา save งาน ก่อนปิดและทำการ install ความถี่เป็นดังนี้
- Monthly Channel จะมีการ update ทุกๆเดือน สำหรับ user ที่ต้องการ feature ใหม่โดยเร็ว หรือ คนที่มีหน้าที่สอนหรือ support ตัว MS Office ในองค์กร
- Semi-Annual Channel (Targeted) การ update ในมีตอน มีนาคม และ กันยายน สำหรับ pilot user เพื่อ test feature ใหม่ๆ หรือ ลอง test กับ application ขององค์กรที่มาต่อว่า compatibility หรือไม่
- Semi-Annual Channel มีการ update ทุกๆ 6 เดือน คือ มกราคม และ กรกฏาคม
ซึ่ง Semi-Annual (Targeted) รอบมันจะเกยกันกับ Semi-Annual ธรรมดา ซึ่งเป็น gap ก็จะให้ทีม Pilot user สามารถ test ได้ก่อน roll-out ของ user ใน Semi-Annual ธรรมดา (การ test เช่น ในส่วนของ 3rd party Office add-ins หรือ macro)
การ update จะเป็นแบบ cumulative แปลว่าที่ Semi-Annual จะรวม features ที่ update ของ monthly ที่ผ่านๆมา ซึ่ง Semi-Annual ธรรมดาจะเหมาะกับ กลุ่ม user ประเภท ที่ใช้ Custom Application ขององค์กรที่มาต่อกับ MS Office, Office add-in หรือ Macro เยอะๆ ซึ่งต้องให้ทีมที่อยู่ Targeted ได้ลอง test ก่อน
การ update จะมี อีก 2 ส่วนคือ Security updates คือด้านความปลอดภัย และ Quality updates (non-security update) ด้านความเสถียร และ performance ซึ่ง อันนี้จะ update ทุกวันอังคารของ อาทิตย์ที่ 2 ในแต่ละเดือน ต่างกับ Feature update ที่กล่าวไปทั้ง 3 channels ที่ update เรื่อง feature
Standalone Plans ที่มี Desktop versionเช่น โปรแกรม อย่าง Visioและ Microsoft Project จะบังคับล้อตาม การ update channelของ Office Proplus ของ PC เครื่องนั้นๆ
Admin สามารถเลือก หรือ แก้ไขการ update ทั้ง 3 channel ผ่าน Office Deployment Tool หรือ Group Policy Admin Template (ADMX/ADML) ถ้าองค์กรมีความจำเป็นเรื่องต้องการชะลอ update ใน Semi-Annual สามารถทำ Delay update ได้สำหรับ Feature update (แต่ security update ยังคงมีได้ล่าสุด)
เรื่อง version number ของการ update จะเป็นตัวเลข เช่น Version 1812 (Build 11126.20196)
การ update ทีม Admins สามารถ เลือก location เพื่อ ทำการ update distribution มาสู่กลุ่ม users ได้ดังนี้
- Content Delivery Network (CDN) node ของ Microsoft ก็จะเลือกที่ใกล้ region ของ องค์กร เหมาะกับ องค์กรที่ไม่มีปัญหาเรื่อง internet link เป็น channel ที่ง่ายที่สุดเพราะไม่ต้อง setup และ update ตรงเข้า user แบบ CDN นี้จะเป็น default mode แต่ก็ยังใช้ Group Policy ในการ enforce ตัว deadline ในการ update
- Download ตัว update package ลง Shared folder/UNC shares ใน local network ถ้าองค์กรที่มีทั้ง 3 update channels ก็คือต้อง Download ทั้ง 3 packages ทุกรอบของ update ถ้า users มี Office ที่ bit version ต่างกันก็ต้องแยก package อีกในแต่ละ channel ซึ่งการ setup ก็ทำผ่าน Group Policy ในการ enforce ตัว deadline การ update และ Office Deployment Tool
- ใช้ System Center Configuration Manager (SCCM 2012 R2 1602 ขึ้นไป) ทำการ Download ลง Windows Server Update Services (WSUS) แล้วให้ user ไป download ตาม Distribution Point Servers ต่างๆในองค์กรเรา
- ใช้ 3rd Party deployment tools ช่วงในการจัดการ update and distribution
สามารถเลือก Deployment Groupได้ เช่น userบางกลุ่มใช้ Shared folder ส่วน user ที่ต้องเดินทางบ่อยๆใช้ CDN ในการ update
ส่วนแบบ Professional Plus/Standard จะไม่ได้สิทธิ์ เรื่อง Feature update แบบ Proplus
มี update channel ของเขาเอง ในเมื่อก่อนจะค่อนข้างต่างเพราะเป็นเมื่อก่อนเป็นแบบ MSI ซึ่ง แบบ MSI จะมีการ update ที่ต่างจาก C2R และค่อนข้างจะ Manual กว่า เช่น แยกการ Download security กับ quality updates แต่การ update ก็จะถี่พอๆกัน หรือ เป็นระบบนับแบบ Service Pack (SP) ไม่ใช่ version number แบบ C2R
ณ ตอนนี้ Office Professional Plus 2019 (และ Office Standard 2019) เมื่อเป็น C2R จะเหมือน ProPlus แต่ชื่อ update channel ว่า PerpetualVL2019 ซึ่งเป็นค่าที่เอาไว้ใส่ใน configuration file เวลาทำผ่าน Office Deployment Tool และเป็น default channel
ส่วนของ Visio และ Project ซึ่ง security กับ quality updates จะไปพร้อมๆกัน, update จะเป็น cumulative ซึ่ง location ก็ยังเลือกได้ ระหว่าง CDN, Shared folder หรือ SCCM มี version number เป็นตัวเลข แบบ ProPlus
Office Applications features
ด้านนี้ค่อนข้างจะเท่ากัน โดย ProPlus จะ Support การทำ Rights Management จากตัว Azure Information Protection (AIP) ในการ classify เอกสาร ส่วน Professional Plus จะอาศัยตั้ง Local Server เองในการทำ Rights Management (Active Directory Right Management Services)
ความต่างกันจริงๆ จะดูกันระหว่าง ProPlus กับ Business (Office 365 Business) ซะมากกว่า ซึ่ง Office App features ความต่างโดยรวมดูรายละเอียดได้ ที่นี่
Connection กับ Server Products
ProPlus จะ support การ connect ไป Server Product เช่น Outlook ไป connect กับ Exchange Online หรือ Exchange Server
Professional Plus/Standard ในส่วนของ version ล่าสุด Office 2019 จะยังอนุญาตให้ connect พวก Cloud Server ได้อยู่ (เช่น Exchange Online, SharePoint Online) แต่ version เก่าอย่าง Office 2016 จะเลิก support ในปลายปี 2023 และ Office 2013 จะก่อน ปลายปี 2020
ซึ่งตอนหน้าจะมีรายละเอียดเรื่องการ Deploy ลงเครื่องเดียวกันระหว่าง C2R กับ MSI ครับ และ scenario ต่างๆ ครับ