What is a Scrum Master? ผู้นำจิตวิญญาณแห่ง Scrum…เขาคือใคร

Praweena Sriprayoonsakul
EMIT Stories
Published in
3 min readJul 21, 2020
Sketchnote in this article by Praweena Sriprayoonsakul is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.

บทความก่อนเขียนเกี่ยวกับ Scrum Roles พร้อมเน้น Product Owner ไปแล้ว คราวนี้ขอมาพูดถึง Scrum Master กันบ้าง เพิ่งทำ training ที่บริษัท ExxonMobil มาเลยมาเขียนบทความเก็บไว้

Sketchnote in this article by Praweena Sriprayoonsakul is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.

ทวนกันนิดนึงว่า Scrum Master ทำหน้าที่อะไร เขาคนนี้เน้นเรื่อง Speed อันนี้ไม่ใช่เร่งทีมให้ทำเร็วๆ นะ แต่เขาเน้นเรื่อง speed ของ feedback loop คือทำไงให้ทีมกลับมาคิด ปรับปรุง และดีขึ้นไปเรื่อยๆ เป้าหมายของเขาก็คือ Make A Great Team สร้างทีมที่ดีเลิศ ทีมที่ช่วยกันทำงาน เข้าใจเป้าหมายของทีม เข้าใจว่าทีมเดินไปถึงไหนและสามารถตัดสินใจร่วมกันในการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เพิ่มเติมให้ทีมดีขึ้นไปเรื่อยๆ หรือเราเรียกกันว่า self-organized team

บทความนี้ขอมาเล่า 2 เรื่องที่ Scrum Master ทำ

  1. Facilitator
  2. Scrum Master as a Coach

Facilitator

งานแรกๆ ของ Scrum Master เชื่อว่าหลายคนเริ่มจาก Scrum events หรือที่บริษัทเราเรียกกัน ceremonies จะอะไรก็แล้วแต่ สำคัญคือ Scrum Master ต้องเข้าใจว่า ทำไปทำไม (objectives / why) อยากได้อะไร (outcome) และรู้ว่าทำยังไง จะได้นำทีมทำได้ถูก เลยวาดรูปสรุปมาให้ 1 รูป

Sketchnote in this article by Praweena Sriprayoonsakul is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.

Sprint planning

ทำเพื่อให้ทีมเข้าใจว่า focus ของ sprint ปัจจุบันคืออะไร วางแผนร่วมกันเพื่อให้เข้าใจว่าจะรับ (commit) เพื่อส่งมอบ (deliver) Product backlog items (PBI) จำนวนกี่ชิ้น เพื่อให้ได้ sprint goals

  • ทีมเข้าใจ Focus ของ Sprint (Sprint goals)
  • ทีมพูดคุยกันให้เข้าใจในแต่ละ PBI ว่าจะทำอะไร (WHAT) ทำเพื่อใคร (WHO) ทำไปทำไม (WHY)
  • ทีมวางแผนว่าจะร่วมมือกันทำงานอย่างไร

Daily Stand-Up

ทำเพื่อให้เข้าใจว่าทีมทำงานไปถึงจุดไหน (where we are) และให้เข้าใจตรงกันว่าจะแผนต่อไปคืออะไร (what’s next together) ถ้ามีอะไรเปลี่ยนแปลงก็คุยกันว่าจะปรับแผนยังไง

Refining

ทำเพื่อเตรียม PBI ให้พร้อมสำหรับ Sprint ถัดไป 1–2 sprints ถ้ามีความเสี่ยงหรือ blockers อะไรที่ต้องไปจัดการก่อน ก็ตกลงแผนกันว่าจะจัดการกันยังไง

Review/Demo

ทำเพื่อเข้าในว่าทำอะไรเสร็จ อะไรไม่เสร็จ เข้าใจ feedback จาก PO และ Customers โดยการแสดงของที่ทีมต้องการส่งมอบ บางครั้งมีประโยชน์ในแง่การแชร์ความรู้กันในทีม

Retrospective

ทำเพื่อให้ทีมกลับมามองในช่วง Sprint ที่ผ่านมา เพื่อเข้าใจว่าจะพัฒนาต่อให้ดีขึ้นได้อย่างไร

Scrum Master as a Coach

Sketchnote in this article by Praweena Sriprayoonsakul is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.

เวลาพูดถึง Scrum Master as a Coach เราขอตีความแบบในรูปนี้คือ

  1. Scrum Master มีหน้าที่ช่วยให้ทีมพัฒนาดีขึ้นตามศักยภาพของทีม โดยใช้ Scrum และ Agile value and principles มาช่วย
  2. Scrum Master ต้องสามารถ train Scrum และ Agile ได้, mentor แต่ละคนในทีมได้, facilitate การพูดคุยของทีมได้, และ coach ให้ทีมเข้าใจเป้าหมายและทางเลือกที่เหมาะสมได้
  3. เป้าหมายของการโค้ชทีม ปกติจะมอง 2 เรื่อง
  • Outcome: ทีมสามารถส่งมอบ Product ที่มี Value ให้กับลูกค้า
  • Team Maturity: เวลามองทีมให้มอง 3 แกน 1) ทักษะของทีม (skills), 2) ทัศนคติ (mindset), 3) เครื่องมือ (tool or solution)

Coaching a Team

การโค้ชทีมทำยังไง ขอยกเอา TAPS model มาอธิบาย สิ่งแรกที่เราต้องเข้าใจคือ coaching คืออะไร ขอยกเนื้อหาที่เคยไปเรียนกับ อ.ปกรณ์ มาเล่า

โค้ช (คน)

  • ประเมิณศักยภาพ & คุณค่า
  • สนใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • สำรวจโอกาสใช้ศักยภาพ
  • ทำให้เขารู้สิ่งที่โค้ชเห็นด้วยตัวเอง
  • ทำให้ค้นหาวิธีการสู่เป้าหมาย

เป็นโค้ช – agenda เป็นของเขา ไม่ใช่ของโค้ช

ขอสรุปไวๆ ว่าจะเริ่มยังไง ทำยังไง

  • สิ่งสำคัญอย่างแรกคือการสร้างความไว้วางใจต่อกัน (Trust) ลองคิดดูว่าในชีวิตนี้เราฟังคำแนะนำของใครบ้าง เชื่อว่าคนเหล่านั้นสำคัญคือเราต้องไว้ใจเขา ถ้าไม่มีความไว้ใจก็ยากที่จะไปขั้นต่อไป
  • การฟังแบบโค้ชต้องฟังให้ลึกลงไปใต้ภูเขาน้ำแข็ง อย่ามองและฟังแค่สิ่งที่เขาแสดงออก ให้ฟังและมองลึกลงไปเพื่อเข้าใจไปถึงความเชื่อ คุณค่าของเขาและประสบการณ์ที่เขาผ่านมา
Sketchnote in this article by Praweena Sriprayoonsakul is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.
  • การใช้คำถามเพื่อให้ทีมเห็นสิ่งที่เรามองเห็นในมุมมองเชิงบวก แล้วก็ใช้คำถามเพื่อช่วยให้เขาคิดหาเป้าหมายที่เขาอยากได้ แล้วก็เข้าใจว่าเขามีทางเลือกอะไรบ้างที่จะไปถึงเป้าหมาย และอยากที่จะทำมันด้วยตัวเอง
Sketchnote in this article by Praweena Sriprayoonsakul is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.

คนจะเปลี่ยนต้องผ่าน 3 ขั้นตอน มองเห็น (see) ยอมรับ (accept) ปรับเปลี่ยน (change)

ขอฝากข้อคิดไว้ สำหรับ Scrum Master หรือ Coach นะคะ ได้มาจาก อ.ปกรณ์ ค่ะ ชอบมาก

“เราไม่เคยคิดจะเปลี่ยนตัวเอง แต่เราอยากให้คนอื่นดีขึ้น คนแรกที่ต้องเปลี่ยนก่อน ก็คือ ตัว SM or Coach เอง”

ขอบคุณ

  • Back to Basics training: What is a Scrum Master? ของบริษัท ExxonMobil
  • อ.ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์ สำหรับความรู้เรื่อง coaching

--

--