รอวัน (2022, คมน์ธัช ณ พัทลุง)

Wiwat Lertwiwatwongsa
FILMSICK
Published in
Mar 24, 2024

เคยบอกดิวไปว่าเราไม่ได้ชอบหนังมากนัก ตอนดูรอบแรก (screener) แต่พอดูรอบสองแล้วชอบมากขึ้นมาก อาจจะเพราะได้ดูแบบจอใหญ่ๆ อาจจะเพราะเพิ่งเข้าใจชอยส์ของหนัง รวมๆคือเหมือนดูใหม่อยู่มไ่ม่น้อย ความยุติธรรมของการดูหนัง คือการดูให้มันดีๆหน่อย อาจจะพูดยังงั้นได้

หนังว่าด้วยครอบครัวอิบราฮิม ผู้ลี้ภัยชาวซูดาน ที่มาติดอยู่ในไทยหกปี และรอวันที่จะได้ย้ายไปอยู่แคนาดา ในฐานะประเทศปลายทาง

ตอนดูครั้งแรกแอบติดชอยส์ของหนังที่ใช้เวลาถ่ายทำยาวนาน แต่ทั้งหมดเป็น observation ที่ไม่เจาะลงไปในตัวsubject ความรู้สึกแบบคนดูหนังแบบหนึ่งก็รู้สึกเหมือนมีม่านมากั้นระหว่างผู้ชม คนทำ และตัววับเจคต์ยิ่งพอมี การเปรียบเปรยกับตัวคนทำอีกชั้นหนึ่ง ยิ่งรู้สึกเหมืนจริงๆเป็นหนังที่คนทำพูดถึงตัวเองผ่านตัวซับเจคต์มากกว่าจะลึกลงไปในชีวิต แต่พอมาดูซ้ำรอบสองกลับชอบชอยส์นี้มากขึ้นกว่าเดิม การเห็นว่าหนังทอนทุกแบคกราวนด์ของตัวซับเจคต์ออกไปหมด ทำให้สิ่งที่หนังบันทึกได้ ไม่ใช่เรื่องทางการเมือง แต่เป๋นสภาวะทางเวลา พอตัวแม่บอกว่าสิ่งที่เธอรู้สึกเศร้าคือการที่เธอต้องพาคนที่เธอรักมาอยู่ที่นี่แล้วขังเขาไว้24 ชั่วโมง ก็เลยกลายเป็นกุญแจในการเข้าถึงหนังที่พูดถึง Hours ก่อน Ours

เวลาที่เนือยนิ่งของตัวละครที่ติดอยู่ในห้อง การไปไหนมาไหนได้อย่างจำกัดจำเขี่ยและหวาดกลัว เลยเป็นสภาวะที่หนังสนใจมากกว่าประเด็นทางการเมือง หรือชีวิตของซับเจคต์ โมงยามใขณะนั้น ซึ่งคือขณะของการติดอยู่ตรงกลาง กลับไม่ได้ไปไม่ถึง ไม่ถูกคุมขังแต่ไม่มีอิสรภาพ มีความหวาดกลัวเกาะกุม ขณะที่เด็กๆที่รู้นรู้น้อยกว่า อิสระกว่าเติบโตขึ้นต่อหน้ากล้อง โดยมีบางอย่างกางกั้นพวกเขาไว้

ชอบไอเดียที่หนึ่งในผู้ชมเมื่อคืนเสนอขึ้นคือความพยายาม ‘placemaking’ ของตัวแม่ที่พยายามจะทำให้ทุกที่เป็นบ้านให้ได้ หนังมักแทรกภาพแผนผังของบ้านที่แม่วาดขึ้น บ้านเก่าที่ตัวเอ งเคยอยู่ การบรรยายถึงบ้านในฝัน หรือแผนผังของสถานกักกันในตอนท้าย ที่ทำให้รู้สึกว่า เธอต้องพยายามปรับตัว เปลี่ยนแปลง ทำให้ที่ซึ่งเป็นเพียงการทราสิท เป็นบ้านขึ้นมา เพราะมันต้องอยู่ให้ได้

เอาเข้าจริงๆชอยส์ของหนังที่โฟกัสเวลา อาจจะทำให้ประเด็นเข้มข้นของการลี้ภัย หรือการถูกกระทำโดยรัฐไทยที่คนทำอยากเล่ามันจางลงไปมาก (มาเกทตอน QA ว่าจริงๆเรื่องหนึ่งที่เขาอยากให้พูดต่อๆกันไปคือประเด็น สถานกักกันตม.ไทยที่โหดร้ายเอาเรื่อง) แต่มันก็ได้บันทึกโมงยามหนึ่ง ซึ่งตัวซับเจคตืไม่อยากจำ ไม่อยากมีแต่มันก็ตราประทับลงบนชีวิตในฐานะส่วนหนึ่งของการเดินทางไกล

อยากฉายคู่กันกับ Midnight Traveller เพราะทั้งสองเรื่อง พูดถึงช่วงเวลาของการติดอยู่ตรงกลาง อย่างทรงพลังมากๆ

อย่างที่ดิวเล่าครอบครัวนี้เป็น Best Case Scenario ของการลี้ภัย (ไปแคนาดาแล้ว มีชีวิตที่ดีขึ้นมาก) แต่ไม่ใช่ทุกครอบครัวจะเป็นแบบนี้ และการที่หนังมันรีเฟลคกลับไปยัง ‘เวลา’ที่เสียไปของสังคมไทยเองในการไปสู่ความเปลี่ยนแปลง (ซึ่งพอมาถึงตอนนี้ก้ไม่รู้ว่าจะอธิบาย Hours ในขณะนี้ว่ายังไงดีแล้ว) ความรู้สึกของการติดอยู่เหมือนกันไม่ว่าจะคนในหรือคนนอก และความรู้สึกว่าตัวซับเจคต์ในหนังไปได้เร็วกว่าประเทศนี้มันก็เศร้าๆอยู่

--

--