ไพสิฐ พันธ์พฤกษชาติ : สัตว์วิบากแห่งทุ่งฝันกำมะลอ

Wiwat Lertwiwatwongsa
FILMSICK
Published in
3 min readJun 26, 2024

หมายเหตุ บทความนี้เขียนขึ้นในปี 2012 หรือก่อนหน้านั้น

เราอาจรู้จัก ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติในฐานะชาติ คนทำเสียงที่เคยร่วมงานทั้งกับ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล -ตั้งแต่ครั้งที่ยังทำหนังสั้น ไปจนถึงทำหนังยาวเรื่องแรกอย่าง’ดอกฟ้าในมือมาร’ ไล่เรื่อยไปจนถึง’สุดเสน่หา’ (กระทั่งเคยปรากฏตัวผ่านทางเสียงสนทนาของเขากับอภิชาติพงศ์ใน ‘เกาะกายสิทธิ์’ หนังสั้นที่ถ่ายทำขึ้นในขณะที่เขาทั้งคู่และทีมงานเดินทางไปเกาะปันหยีเพื่อ ถ่ายทำ ดอกฟ้าในมือมาร ) ไปจนถึงคงเดช จาตุรันต์รัศมี นอกจากเป็นช่างเสียง ไพสิฐ ยังเป็นคนทำหนังสั้น (หรืองานวีดีโอตามที่เจ้าตัวเรียก) ที่มีลีลาและวิธีการน่าสนใจอย่างถึงที่สุดคนหนึ่ง งานของไพสิฐอบอวลไปด้วยภาพแห่งความจริงที่ถูกคว้าจับมาวางบนจอโดยปราศจากการ ปรุงแต่ง บ่อยครั้งมันประกอบขึ้นจากวีดีโอถ่ายเล่น ภาพแอบถ่ายระยะไกล ภาพที่เพียงวาดกล้องผ่าน และหากเป็นภาพที่จงใจ กล้องของไพสิฐ มักซอกซอนไปในเศษซากอาคารรกร้าง กองขยะ ดงน้ำครำ ตลาดสด สุสานรถ ภาพเจนตาที่ไม่น่ามอง รอยสกปรก ฝ้าคราบของคูน้ำ ทั้งหมดทั้งมวลถูกคว้าจับมาใส่ความหมายใหม่ โดยมิพักจำต้องสร้างเรื่องเล่ามารองรับ ไม่ต้องแต่งฉากประดิษฐ์ประดอย เขาอาจให้นักแสดงเพียงหนึ่งหรือสองคน เดินเข้าไปในสถานที่จริง แล้ว ตอบรับกับเหตุการณ์อย่างง่ายดาย เพราะส่วนสำคัญทั้งหมดในหนังของไพสิฐเกิดขึ้นจากสถานภาพของจินตนาการทั้ง สิ้น

ในหนังของไพสิฐ ภาพสามัญถูกขยับฐานไปเป็นภาพที่เล่าเรื่องผ่านทางจินตนาการที่คนดูจำต้อง เติมเข้ามาเอง โดยมีลายแทงเพียงชิ้นเดียวคือชื่อของหนังแต่ละเรื่อง ภายใต้ชื่อที่น่าตื่นเต้นและนี่คือบรรดาหนังสั้นและยาวจำนวนหนึ่ง ที่พอจะเล่าขาน เสียงเล่าส่วนบุคคลของเขาได้อย่างน่าทึ่ง

หนีนรกโพธิ์พระยา 26

ภายใต้ชื่อหนังที่ฟังดูราวกับหนังบู๊ระเบิดภูเขาเผากระท่อม ตัวหนังที่แท้นั้นเป็นเพียงการจ้องมองเด็กน้อยสองคนที่คนหนึ่งกำลังสนทนา (แต่ดูราวกับว่าถูกสอบปากคำ) ส่วนอีกคนกำลังเล่นสนุกกับม้วนเทป (แต่อาจดูคล้ายกำลังถูกมัดคุมขัง) ก่อนจะปิดท้ายด้วยภาพแอบถ่ายของกลุ่มเด็กๆที่วิ่งไปตามถนนราวกับฉากการจรา จล ภาพสามัญที่แทบจะไร้ความสำคัญเหล่านี้ถูกถ่ายทำออกมาอย่างซื่อตรง ธรรมดา จนแทบจะเรียกได้ว่าไร้ชั้นเชิงราวกับภาพที่ค้นพบได้ตามโฮมวีดีโอทั่วไป แต่เมื่อมันถูกนำมาจัดเรียงต่อภายใต้ชื่อเฉพาะ มันกลับเกิดความหมายใหม่ขึ้นจากผลของการเติมจินตนาการลงในตัวภาพที่เห็นจาก ชื่อเรื่องนั่นเอง ดังนั้นการรับรู้โลกในหนัง ไม่ได้ต่างอะไรกับการทำตัวเป็นเด็กๆที่ยังตื่นใจกับโลกรอบข้าง เติมจินตนาการให้ภาพสามัญกลายเป็นการผจญภัยสุดระทึกได้

จะเห็นได้ว่าย่อหน้าด้านบนอาจเป็นเพียงความเพ้อเจ้อของผู้เขียนในการเติม -เรื่องเล่าจากภาพ- แต่จากช่องว่างที่หนังเว้นไว้ให้ เราได้โอกาสที่จะสนุกกับการตีความต่อ อย่างเต็มที่

อย่างไรก็ดีว่ากันว่าหนีนรกโพธิ์พระยาฉบับที่ออกฉายนั้นเป็นเพียงการตัดทอน บางส่วนจากหนังยาว(ที่จ้าตัวกำลลังทำแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งในหนังยาวนั้นจะกินความตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองไล่เรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน และหลายฉากในหนังฉบับสั้นนี้ตัดตอนมาจากรุ่นลูกและรุ่นหลานของหนังยาวที่ยัง ไม่มีตัวตนนั้น เพื่อร่วมฉายในโครงการเสียงเงียบ( Spoken Silence)ที่จัดโดยมูลนิธิหนังไทย เพื่อเพื่อต่อต้านการเซนเซอร์และแสดงภาพรวมของสังคมไทยใยยุคหลัง 19 กันยา เมื่อสองปีที่แล้ว ภาพที่เห็นจึงเป็นเสมือนการตัดปะเอาภาพร่างของคนที่ถูกจับกุมคุมขัง (ผู้กำกับให้ความเห็นเพิ่มว่า ฉากการกินแซนด์วิชในช่วงท้ายเป็นเสมือนการตัดเอาภาพของเด็กชายในกองแถบเทป เมื่อเขาโตขึ้น ถูกจับกุมคุมขังโดยไม่อาจหลบหนีและกลายสภาพเป็นผู้บริโภคที่ได้แต่กินไม่รู้ จบแต่เพียงถ่ายเดียว) คนที่พูดไม่ได้และถูกบีบคั้นจนในที่สุดกลายเป็นยอมจำนนไปไม่ต่างจากผู้คน จำนวนมากในสังคมที่ไม่อาจพูดความจริงได้อีกต่อไปนี้

จอมโหดมนุษย์ซีอิ้ว 43

ภาพที่เราเห็นเป็นเพียงภาพบทสนทนาไม่ปะติดปะต่อของ วุฒิ คนหนุ่มที่ดูเหมือนจะประกอบอาชีพเป็นเจ้าของโรงงานซีอิ้วกับผู้คนหลากหลาย ทั้งกับเฮียใหญ่เพื่อนสนิทที่รู้กันดี กับทอแสงเพื่อนร่วมงานที่กินแหนงแคลงใจกับเฮียใหญ่ กับบรรดาคนขับรถของโรงงาน กับคนแปลกหน้าที่มาของานทำ ไล่ไปจนถึงกับหญิงสาวที่แวะมาหาเขาที่ห้อง ใช้เวลาอยู่ร่วมกันจนเช้า บทสนทนาที่บางครั้งไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง เป็นเพียงคำพูดสนุกๆในขณะเมามาย บางครั้งเป็นบทสนทนาปรัชญาลึกซึ้ง แต่ตลอดระยะเวลา 90 นาทีที่อัดแน่นด้วยบทสนทนานั้นเราพบว่า เรื่องราวกลับไม่คืบเคลื่อนไปไหน บทสนทนานั้นวกไปวนมา เราอาจจับเรื่องราวได้เพียงคร่าวๆเดี่ยวกับเรื่องของเฮียเล็ก กับเฮียใหญ่ (หนังแทรกด้วยภาพโฮมวีดีโอในงานแต่งงาน) และความสัมพันธ์ของวุฒิกับเฮียใหญ่

ไม่มีเรื่องราวอันจับต้องได้ มีเพียงบทสนทนาครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ทั้งหมดนั้นจะค่อยๆประกอบภาพเป็นเรื่องราวของ ชายคนหนึ่งเราค่อยๆแกะรอยนิสัยใจคอของเขาจากบทสนทนาที่เขาคุยกับคนอื่นๆ บางครั้งมันลุ่มลึกน่าสนใจ ในขณะเดียวกันบางครั้งมันเพ้อเจ้อและบ่อยครั้งเป็นเหมือนการครุ่นคิดเพียง ลำพังมากกว่า ในช่วงต้นเขาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องของเฮียใหญ่อย่างลุ่มลึก ต่อมาเขาตั้งกฎเกี่ยวกับคำตอบสามทางสำหรับทุกคำถามที่ฟังดูเพี้ยนพิลึก ก่อนที่ทุกอย่างจะหนักข้อขึ้นในบทสนทนาของเขากับหมุย หญิงสาวที่เดินทางมาเยี่ยม พวกเขาดื่มด้วยกันและใช้เวลาสนทนาประหลาดๆกันจนรุ่งเช้า

มีเพียงไม่กี่ฉากที่หนังเล่าเรื่องอย่างจริงจัง หนึ่งคือฉากงานวนแต่งงานของเฮียเล็ก(ที่ถูกหยิบมาเป็นประเด็นหลักในชงบท สนทนาช่วงต้นเรื่อง) ราวกับเป็นการขยายความ หรือการทดลองเล่น กับวิธีการสร้างเรื่องจากภาพ เพราะบทสนทนาที่เกิดขึ้นก่อน ถูกป้อนข้อมูลลงในหัวเรา เราจึงมองเห็นภาพงานแต่งงานด้วยอาการเฝ้าสังเกตความหมางเมินของพี่น้องคู่ นี้ ในขณะที่อีกครั้งหนึ่งเพื่อจู่ๆภาพปรากฏเป็นเกมแข่งรถ ที่รถในเกมเกิดชนกันสนั่น เมื่อตัดมา เราก็พบวุฒิในสภาพบาดเจ็บ ราวกับประสบอุบัติเหตุรถชน การใช้ภาพแทนเป็นเกมกลที่มักปรากฏสมอในหนังของเขา ก่อนที่ทุกการทดลองทั้งหมดจะถูกใช้จริงเมื่อเราเฝ้าสังเกต ความเป็นวุฒิ ผ่านทางบทสนทนาของเขาทั้งกับเพื่อนฝูงและ กับตัวเอง

หากเราจะบอกว่านี่คือหนังสารคดีชีวิตชายคนหนึ่ง ก็อาจจะว่าได้ เป็นสารคดีแบบcharacter study ที่ไม่ได้จัดวางเหตุการณ์คืบหน้าอย่างเป็นลำดับ แต่ปรากฏขึ้นผ่านทางชิ้นส่วนกระจัดกระจายของภาพและบทสนทนา ภาพทั้งหมดในหนังแทบจะไม่ได้จัดตั้งขึ้นหากมันมาจากการบันทึกบทสนทนาจริงของ ผู้คนจริงๆ และจากนั้นถูกนำมาคัดเลือก แล้วเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวใหม่ขึ้นมา ความสมจริงในหนัง(ซึ่งเกิดจากการถ่ายทำโดยการบอกทุกคนไว้ล่วงหน้า แต่รอคอยเวลาจนทุกคนลืมกล้องไปเสียสนิท) ทำให้พลังของหนัง น่าตื่นเต้นยิ่ง

หากจะว่าไปแล้วนี่คือหนังที่สวนทางกับวิธีการทำหนังตามขนบทั่วไปโดยสิ้น เชิง เราอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับภาพยนตร์DOGMA ที่สร้างข้อกำหนดเกี่ยวกับการลดทอนพลังอำนาจของการปรุงแต่งภาพยนตร์ บังเกิดหนังที่ใช้คนทั่วไปมารับบทนำ ถ่ายทำในสถานที่จริงโดยไม่จัดแต่งแสง เสียง ไม่มีการใช้ดนตรีประกอบ (หากจะมีต้องมีที่มาจากที่ไหนสักแห่งในฉาก) หนังเหล่านั้นอาจดูสมจริงจนน่าตกใจ (แม้หลายเรื่องไม่ได้รับตราประกาศDOGMA ก็สามารถสร้างความสมจริงได้เช่นกัน ) แต่อย่างไรก็ดีหนังเหล่านั้นก็เป็นเพียงแค่ การสร้างเรื่องแต่งให้เป็นเรื่องจริง (หรือดูเหมือนจริง) ในขณะที่หนังของไพสิฐกลับคิดกลับด้าน ด้วยการสร้างเรื่องจริง (ภาพเหตุการณ์ที่บันทึกจากความจริง)ให้กลายสภาพไปเป็นเรื่องแต่ง ความพยายามสร้างเรื่องเล่าจากภาพ ด้วยการตัดต่อ เรียงลำดับ ช่วยขยายเส้นเรื่องขึ้นมาจากความจริงสะเปะสะปะ แม้ในทางปฏิบัติอาจไม่ประสบผลเลิศ แต่ก็เป็นการทดลองที่น่าพอใจยิ่ง

ส่วนที่น่าสนใจอีกส่วนหนึ่งของหนังคือการที่หนังนั้นที่แท้กวัดไกวไปมาอยู่ ระหว่างฐานะของหนังดราม่าซึ่งเล่าชีวิตของชายคนหนึ่งผ่านบทสนทนาที่เขามี ส่วนร่วมมากกว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเขา เราประกอบสร้างตัวตนของเขาผ่านทางการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องขอผู้อื่น ในขณะเดียวกันตัวหนังมีความสมจริงในฐานะสารคดีติดตามชีวิตคน หากการกลับไปกลับมาระหว่างความเป็นสารคดีกับหนังเล่าเรื่อง อาการครึ่งๆกลางๆนี้กลับไม่ได้ลดทอนเสน่ห์ของตัวเรื่อง (แม้หนังจะเรียกร้องเอาความอดทนจากคนดูค่อนข้างสูง แต่โดยส่วนตัวผมก็รู้สึกเพิลดเพลินกับบทสนทนาไร้สาระเหล่านั้นได้ ) หนังกลายเป็นผลผลิตของวิธีการใหม่ที่น่าตื่นใจยิ่ง

หากจะอธิบายให้เห็นภาพ ฉากหนึ่งซึ่งน่าจะสำคัญที่สุดกับเรื่องคือฉากที่ หมุย เพื่อนสาวมาเยี่ยม วุฒิที่บ้าน ในฐานะหนังเล่าเรื่อง ฉากนี้อาจถูกนำมาแทนสภาพความสัมพันธ์ของวุฒิกับเพศตรงข้ามที่เป็นไปในทาง อิหลักอิเหลื่อ อึดอัดขัดข้อง เก้ๆกังๆค่ำคืนประหลาดทีหมิ่นเหม่อยู่ปากขอบเหวระหว่างสัมพันธ์ทางกายกับ สัมพันธ์ทางใจ หนังให้เราเห็นว่าวุฒิพยายามจะหาเรื่องมาพูดคุยเพื่อให้ค่ำคืนนี้ผ่านพ้นไป (ซึ่งมันก็ผ่านพ้นจนรุ่งเช้าเลยจริงๆ ) เราอาจมองได้ว่าวุฒิขลาดเกินกว่าจะเริ่มต้นความสัมพันธ์กับหมุย มันจึงผุดบังเกิดค่ำคืนแห่งความกระอักกระอ่วนอันแสนหวาน

แต่การณ์จะกลับเป็นตรงกันข้ามหากเรามองเรื่องนี้ในฐานะสารคดี เพราะหากเป็นเช่นนั้น การที่หมุยกับวุฒิไม่ได้มีอะไรกันนั้นเป็นเพราะมีบุคคลที่สามอยู่ ซึ่งคือคนทำสารคดีเรื่องนี้นั่นเอง ค่ำคืนพิพักพิพ่วนนั้นที่แท้แล้วจึงเป็นเพียงของเทียม ที่แท้วุฒิอาจเป็นเพียงคนหนุ่มธรรมดา เพียงแต่เขาเสแสร้งเป็นคนอื่นต่อหน้ากล้อง ความกระอักกระอ่วนไม่ได้เกิดจากความสัมพันธ์ของหมุยกับวุฒิอีกตค่อไป หากมันเกิดจากกล้องที่จับจ้องมองอยู่ต่างหาก

ภาพทั้งหมดในหนังเดินไปในทางนี้ สิ่งที่เราได้เห็นวุฒิเป็นเพียงการกลับไปกลับมาระหว่างมนุษย์ที่มีเลือด เนื้อ กับนักแสดงจำเป็นที่กล้องจดจ่ออยู่กับใบหน้า

แล้วตัวตนของคนทำเล่า หากเรามองหนังเรื่องนี้ในฐานะหนังเล่าเรื่อง คนทำย่อมต้องทำหน้าที่คล้ายพระเจ้า เขาไม่อยู่บนจอคว้าจับเอาเหตุการณ์นั้นมาเล่าสู่ในฐานะของคนนอก ไม่เกี่ยวข้องกับตัวละคร เป็นพระจ้าที่ทอดตามองชุดของเหตุการณ์ ในขณะที่ในฐานะหนังสารคดี แม้จะซ่อนมิดชิดแค่ไหน มันย่อมต้องมีตัวตนของคนทำปรากฏอยู่ ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวตนในฐานะสิ่งที่คิดหรือสิ่งที่เชื่อ หากในฐานะคนคนหนึ่งที่ปรากฏร่องรอยอยู่บ่างอยู่ในฐานะของผู้สัมภาษณ์ หรือผู้เล่า ซึ่งเราไม่เห็นตัว (อันเป็นวิธีการทั่วไปในหนังสารคดี ยกตัวอย่างเช่นในสารคดีชีวิตสัตว์ที่จะมีเสียงเล่าชีวิตสัตว์เหล่านั้น ) หรือไม่เช่นนั้น ก็จะปรากฏตัวในฐานะผู้สัมภาษณ์ที่เราไม่เห็นกน้า แต่ได้ยินเสียงและคำถาม (อย่างไรก็ตามหนังสารคดีบางเรื่องก็ไม่มีตัวตนของคนทำปรากฏโดยเฉพาะกลุ่มที่ เป็นสารคดีเชิงกวี )

ตลอดทั้งเรื่องเราไม่เห็นตัวตนของคนทำเลย ตัวละครไม่หันมาพูดกับกล้อง ราวกับกล้องไม่มีอยู่ ในที่นี้ตัวละครทุกตัวทำหน้าที่คล้ายตัวละครในหนังเล่าเรื่อง(ซึ่งไม่รู้ว่า ถูกจับจ้องมองโดยพระเจ้าซึ่งคือผู้กำกับในตอนถ่าย และผู้ชมตอนหนังเสร็จ) ตลอดเวลาที่หนังดำเนินไปไม่มีใครพูดกับกล้องพูดกับคนทำ ในทางนี้เราอาจอนุมานได้ว่า นี่คือหนังเล่าเรื่องเรื่องหนึ่ง(และเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนสมมติขึ้นโดยได้ นักแสดงที่สมจริงอย่างยอดเยี่ยม) แต่นั่นจนกระทั่งฉากสุดท้ายมาถึง เราอาจนิยามว่ามันคือความผิดพลาดที่จู่ๆคนทำก็เปิดเผยตัวตนออกมา เมื่อเฮียใหญ่หันมาพูดกับกล้องโดยตรง(ในความเป็นจริงคือพูดกับคนถือกล้อง) ตัวตนของคนทำปรากฏ นี่คือหนังสารคดี ติดตามชีวิตชายคนหนึ่ง

แต่เราไม่อาจตัดสินตีขลุมเอาหนังทั้งเรื่องได้เช่นนั้น เพราะไม่ว่าหนังจะเดินหน้าไปในทางใดทางหนึ่ง มในก็จะไม่ได้เป็นไปในทางนั้นทางเดียว เราอาจะกล่าวว่าหนังเรื่องนี้ล้มเหลว ทั้งในการเป็นหนังเล่าเรื่อง และหนังสารคดี แต่นั่นมันก็เพียงเพราะเราไม่อาจจัดจำแนกหนังได้ง่ายดายมากกว่า เพราะที่แท้แล้ว วิธีการของหนังทรงพลังจนเกินกว่าจะเรียกได้ว่าล้มเหลว ซ้ำยังกลับถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งอีกต่างหาก!

น่าเสียดายที่การเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไม่สามารถจะดึงเอาพลังของบทสนทนาและ ความสมจริงของหนังออกมาให้เห็นภาพได้ (ซึ่งนั่นทำให้น่าสนใจมากขึ้นเพราะ หนังที่ไม่สามารถเขียนออกมาได้นั้นแสดงให้เห็นว่าวิธีการเดียวที่เราจะเสพ หนังได้คือกผ่านทางการดูด้วยตาเท่านั้น) ว่ากันว่า เมื่อครั้งที่หนังฉายในเทศกาลบางกอกฟิล์ม เมื่อหลายปีก่อน มีการสั่งให้หั่นหนังออกสามสิบนาที (ผมไม่ได้ดูฉบับนั้นแต่โดยส่วนตัวนี่อาจเป็นการฆ่าหนังในทางหนึ่ง) และ โดยส่วนตัวนี่คือหนังไทยที่แปลกต่าง น่าทึ่ง เป็นเอกลักษณ์ และน่าสนใจมากที่สุดเรื่องหนึ่ง ที่อยู่ในระดับเดียวกับความน่าตื่นตาของดอกฟ้าในมือมาร หากแต่ตกสำรวจไปอย่างน่าเสียดาย

ห่านน้อยคอยรัก 50

นี่อาจเป็นหนังสั้นน่ารักที่สุดเรื่องหนึ่ง และ มีแนวทางของ ไพสิฐ ชัดเจนที่สุดชิ้นหนึ่งงานวีดีโอชิ้นนี้เขาทำร่วมกับจิราพร ใจแปง ด้วยการเล่าเรื่องตำนานของเทพสององค์ที่ทะเลาะกันจนถูกสาปลงมาเป็นห่านและ ต้องกลายเป็นสัตว์นู่นนี่อีกหลายต่อหลายหน ตัวเรื่องราวนั้นถูกเล่าโดยเสียงเด็กๆ และปล่อยให้คนดูสร้างเรื่องจากภาพที่ตามถ่ายห่านสองตัว ลูกสุนัข และสัตว์ต่างๆ

สัตว์วิบากหนักโลก 46–47

เริ่มจากเรื่องของผู้ชายในตู้รถไฟ คนตัวสูงท่าทางไม่น่าไว้วางใจที่หลบหนีจากกล้อง หรือที่จริงหลบหนีการติดตามไล่ล่าจากเครือข่ายดาวเทียม เขาเลือกนอนในตู้รถไฟร้าง เลือกชนิดตู้แบบที่ป้องกันสัญญาณดาวเทียมจากบนฟ้าที่มองไม่เห็น (ซึ่งสามารถจับสัญญาณได้ถ้าเพียงแค่ตู้นั้นมีรู) ซ้ำต้องหลบหนีจากกล้องตรวจการของรัฐที่คอยจับตามอง เขาเป็นคนทำหนังหรือบางทีอาจจะเคยเป็น ใครสักคนอาจกำลังทำสารคดีเกี่ยวกับเขา หรือเขาอาจจะคิดไปเอง หรือะไรก็แล้วแต่ แต่สามเดือนก่อนเขากำลังวุ่นวายกับการทำหนัง อาจจะถูกโกงไม่ก็หนังเขาอาจจะล่ม อะไรก็แล้วแต่ กลับมาตอนนี้เขากำลังหลบหนี เขาไปหลบตามบ้านเพื่อนที่บ้านนอก ตามหาแม่ และบางทีมันอาจจะไม่ได้เกี่ยวอะไร หรือเรื่องที่เขาเล่า หรืออะไร

คืนวันหนึ่งที่ถนนตะแลงแกง 51

งานชิ้นล่าสุดของไพสิฐ หันไปหยิบเอาเรื่องสั้นที่เจ้าตัวชอบมากๆของ มนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นคนสำคัญ มาดัดแปลงให้กลายเป็นภาพยนตร์ ตัวเรื่องนั้นเล่าเรื่องของนายทหารคนหนึ่งในสมัยอยุธยา ฉากในเรื่องคือการเดินจากถนนหนึ่งไปยังถนนหนึ่ง ดื่มเหล้าแลครุ่นคำนึงถึงหญิงคนรักที่ไปแต่งงานกับชายอื่น ซึ่งนี่อาจเป้ฯคืนสุดท้ายเพราะเขาต้องตามนายเหนือหัวไปลอบปลงพระชนม์ กษัตริย์ (ตามท้องเรื่องตรงกับหนังสุริโยไทย ของท่านมุ้ย ในช่วงที่มีการลอบสังหารบนเรือนั่นเอง)

ในขณะที่เรื่องเล่านั้นเข้มข้น ภาพที่ปรากฏบนจอกลับคือภาพของตลาดโต้รุ่งยามค่ำคืนใต้สะพานริมน้ำเจ้าพระยา ไล่ไปจนถึงภาพการดุ่มเดินไปในเศษซากปรักหักพังในเมืองเก่า พสิฐเลือกถ่ายทำโดย เดินทางไปยังสถานที่ที่อยู่ในเรื่องสั้นแล้วคว้าจับเอาภาพของปัจจุบันขณะมา ไว้ จากนั้นก็ปลดปล่อยเสียงจากอีดตให้เข้ามาผสม ส่วยผสมที่ได้ก็คล้ายกับการทอดตามองอยุธยาวันนี้แล้วได้ยินเสียงของวิญญาณ เดียวดายซึ่งสถิตอยู่ในดินแดนแห่งนี้

วัดกันเฉพาะเสียงเล่า ผสมกับเสียงประกอบซาวนด์เอฟฟเฟคต์ที่มีหลายชั้น (สมราคาคนทำเสียงมีชื่อของบ้านเรา) มันก็มีศักยภาพเพียงพอที่จะเร้าอารฒณืเล่าเรื่องได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว (กล่าวอย่างง่ายคือเราสามารถหลับตาลัวจินตนาการหนังเรื่องนี้ในฐานะละคร วิทยุที่สนุกสนานตื่นเต้นอย่างยิ่ง (ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณการบรรยายของศรัณยู วงศ์กระจ่างที่สร้างความแข็งแรงของเสียงเล่าได้อย่างยอดเยี่ยม)

หากเช่นนั้นภาพคือส่วนเกินของหนังหรือคือส่วนทำลบายหนังกระนั้นหรือ หาไม่เลย เพราะนี่คือความขัดแข้งลักั่นแบบเดียวกับที่เราพบได้ในงานชิ้นอื่นๆของไพสิฐ ความเขากันไม่ได้ระหว่างโครงเรื่องที่ดูยิ่งใหญ่ (เช่นโครงเรื่องไซไฟแบบ สัตว์วิบากหนักโลก หรือหนังแอคชั่นทริลเลอร์แบบหนีนรกโพธิ์พระยา และเมโลดราม่า แบบ จอมโหดมนุษย์ซีอิ้ว) ไพสิฐเลือกใช้การประกอบภาพที่พบเห็นได้ทั่วไป ภาพเจนตาของผู้คน มาตัดรับกับตัวเรื่องเหล่านั้น ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้กลับส่งผลประหลาด และนำไปสู่เทคนิคพิเศษที่น่าค้นหายิ่งกว่างานCG สิ่งนั้นคือิจนตนาการ คือการเติมช่องว่างในเรื่องเล่าแสวงหาความเชื่อมโยงจากควยามไม่สัมพันธ์ซึ่ง หนังทิ้งลายแทงไว้ให้เราตอลดเวลา

คืนวันหนึ่งที่ถนนตะแลงแกง ที่แท้แล้วเป็นรสชาติใหม่ ทั้งกับหนังสั้น และกับฐานะหนังดัดแปลงจากวรรณกรรม ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นข้ารองบาทของพลังเรื่องเล่าจากตัวหนังสือ เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็หามีความจำเป้นอันใดไม่ที่ภาพยนตร์จะกระทำสิ่งซึ่ง วรรณกรรมกระทำได้ดีอยู่แล้ว

นอกจากหนังสั้น ไพสิฐยังทำงานMV แปลกประหลาดอีกด้วย และนี่คือ งาน MV บางส่วนของไพสิฐ

อัติภาวะนิยมสุขสันต์ 47

งานMV ที่เอาเพลงอิเลคทรอนิกส์ มาปะทะสังสรรค์กับภาพของเขียงหมูในความมืด ภาพจริงแบบสารคดีของการชำแหละหมู ถูกนำมาตัดต่อกับเพลงของ วง มะระ ก่อบรรยากาศประหลาดล้ำ ที่เราเอาจจะไม่เคยพบเห็นมาก่อนใน MV ที่ไหนในโลก

Take off 49

งานMV ที่ตัดต่อภาพ แบบเนกาทีฟของชายคนหนึ่งในสระน้ำ พร้อมด้วยคำพูด สบถก่นด่า เพื่อนร่วมงานนิสัยเสีย คลอไปกับเพลง take off ของ HENRIC MESSERSCHMITT ซึ่งที่แท้แล้วไม่ได้มีอยู่จริง เป็นเพียงศิลปินหลอกๆที่มั่วขึ้นมาให้ดูเป็นเยอรมัน เป็นฝรั่ง เพื่อจะดึงดูดและล้อเล่นกับความเห่อฝรั่งของคนฟังเท่านั้น ในขณะเดียวกันตัวMV ก็ล้อเล่นกับวัฒนธรรมของคาราโอเกะของผู้คนอย่างยิ่ง เมื่อเราอาจกล่าวได้ว่าคำสบถก่นด่าหยาบคายที่ปรากฏตลอดเรื่องทำหน้าที่ เหมือนกับตัวหนังสือคาราโอเกะนั่นเอง (มาร้องตามกันเถอะ เนื้อมีว่า ไอ้เอี้ย .. จะไปไหนก็ไป!)

ทุ่งกำมะลอ 51

งาน MV ที่เขาถ่ายภาพของท้องฟ้าอันมืดครึ้ม การเคลื่อนไหวของเมฆฝน และ ภาพของสายฝนที่ร่วงหล่นลงมาจากฟ้า ภายใต้เสียงเพลงโดย เฉลิมชาติ เจริญดียิ่งที่เป็นคนทำเพลงให้กับหนังหลายๆเรื่องของเขา งานMV ชิ้นนี้ถูกทำขึ้นเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุดหนังสึนามี แม้จะเป็นการทำโดยส่วนตัว และไม่ได้ถูกนำไปรวมกับหนังชุดดังกล่าว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือหนังสึนามิ ที่แหลมคมมากเรื่องหนึ่ง

เนื่องจากภาพของท้องฟ้า หรือทะเล หรือสายฝนนั้นให้อารมณ์ในลักษณะของความเป็นทุ่ง อันกว้างใหญ่ไพศาล เหมือนทุ่งหญ้าทุ่งทานตะวัน แต่เป็นเพียงทุ่งฝน ทุ่งทะเล (ซึ่งแน่นอนว่าเรามักไม่ได้แทนสิ่งเหล่านี้ด้วยคำว่าทุ่ง) ทุ่งที่เราเห็นจึง ‘กำมะลอ’ เป็นเพียงทุ่งจอมปลอมที่ที่แท้ คือสิ่งอื่น ภาพของฝนที่กำลังตกหรือเงากระทบผิวน้ำ ก่อนที่ครึ่งหลังเมื่อดนตรีเริ่มกราดเกรียวขึ้น และเกลียวคลื่นนั้นไหลย้อนกลับจากฝั่งลงสู่ทะเล อันเป็นรูปแบบเดียวของการเกิดขึ้นของสึนามิ (คลื่นถูกดูดหายลงไปจนน้ำแห้ง แล้วคืนกลับมาในรูปของคลื่นยักษ์)

หนังนั้นจบลงตรงนี้ แต่ใช่หรือไม่ว่าหลังการเดิสึนามิเราได้เรียนรู้ว่า ยังมีอีกทุ่งหนึ่ง ที่สุดแสนจะกำมะลอพอกัน นั่นคือบ้านเรือน ร้านรวง ชีวิตมนุษย์ที่ถูกกวาดหายไป ในชั่วพริบตาเดียว

บางที ที่แท้แล้ว ทุ่งกำมะลอในความหมายที่แท้กลับคือ แผ่นดินที่มนุษย์อาศัยอยู่ต่างหาก

งานของไพสิฐ แทบทุกชิ้น มักไม่ได้เป็นการถ่ายทำภาพขึ้นมาใหม่ ในหนังของเขาไม่นักแสดงที่ถูกจ้างมารับบทบาท (ยกเว้น ใน สัตว์วิบากหนักโลก ซึ่งอาจนับได้เพียงแค่สองคน ) ภาพของเขามักมีที่มาจากการถ่ายภาพของผู้คนจริงๆ ตั้งแต่คนเดินถนน ไปจนถึง เพื่อนพ้องน้องพี่ของเขาเอง เขาทำหน้าที่เหมือนคนที่คอยถือกล้อง คว้าจับเอาภาพที่มีอยู่มาก่อน จากนั้นนำมันมาจัดเรียงด้วยจินตนาการ เพิ่มเติม และขยายภาพนั้นออกให้มันกลายเป็นภาพแทนเหตุการณ์อันตื่นระทึก รองรับเรื่องราวแปลกแปร่ง การวางจังหวะ และลายแทงจากชื่อเรื่องทำให้ภาพขยายตัวออกไปสู่ดินแดนพิเศษ ภาพของเด็กๆใน หนีนรก ฯ ภาพของห่านในห่านน้อยคอยรัก ภาพวงเหล้าใน มนุษย์ซีอิ้ว ภาพบ้านชนบทใน สัตว์วิบากฯ ภาพเขียงหมูใน อัติภาวะนิยม หรือกระทั่งภาพของท้องฟ้าชุ่มเมฆฝนในทุ่งกำมะลอ อาจเป็นเพียงภาพสามัญ แต่เมื่อประกอบเข้ากับทัศนียภาพเฉพาะที่เรามักจะได้เห็นในหนังของเขา แทบทุกเรื่อง ทัศนียภาพสกปรกแปดเปื้อน ภาพของสถานที่รกร้าง กองขยะที่ถูกทิ้ง ภาพไม่น่ามองทั้งหลายถูกจับจ้องมองอย่างเอาจริงเอาจัง ทำให้มันกลายเป็นเสมือนอีกโลกหนึ่งที่ซ่อนตัวตามซอกมุมต่างๆ แดนสนธยาใต้ทางด่วน ประตูลึกลับหลังเขียงหมู หรือมิติพิศวงด้านหลังคราบฝ้าบนดงน้ำครำ การจ้องมองทำให้ความสามัญกลายเป็นโลกประหลาดเฉพาะขึ้นมา

หากจะมีสิ่งใดที่ใกล้เคียงกับการอธิบายงานของไพสิฐมากที่สุด เราอาจต้องพูถึง การละเล่นเมื่อครั้งที่เรายังเป็นเด็ก การสร้างเรื่องขึ้นอากาศ แล้วเนรมิตชีวิตประจำวันให้กลายเป็นการผจญภัยสุดตื่นเต้น วิธีการทำหนัง และหนังของไพสิฐสอดรับไปกับวิธีการนั้น หนำซ้ำรุดไปข้างหน้าด้วยความพยายาอาศัยความไม่เดียงสาทางภาพนั้นยั่วล้อขนบ ดั้งเดิม ความขัดแย้งของเขรียงหมูกับเพลง อิเลคทรอนิคส์ ศิลปินจอมปลอมที่สามารถวางเรียงเคียงคู่กันไปได้โดยไม่ขัดเขิน หากหนังของไพสืฐคือความไม่เดียงสาแบบเด็กๆ มันก็คือความเดียงสาที่ร้ายกาจยิ่งและคมคายอย่างยิ่ง

น่าเสียดายที่งานของไพสิฐไม่ได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างมากนัก ท้งในเทศกาลหนังสั้น ไล่เรื่อยไปจนถึงเทศกาลหนังยาว ในประเทศ หนังที่เขาส่งร่วมกับหนังเรื่องอื่น (โดยมากเขาทำขึ้นมาเองโดยไม่ได้รับเทียบเชิญ ) มักไม่ได้รับการจัดฉาย ขณะเดียวกันหนังของเขาก็ยาวเกินกว่าจะส่งประกวดเทศกาลหนังสั้น ครั้นเมื่อได้ฉษยในเทศกาลภาพยนตร์ครั้งหนึ่ง จอมโหดมนุษย์ซีอิ้วก็ถูกตัดออกไปครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ฟิตพอดีกับการควบรวม หนังอีกเรื่องให้เต็มรอบ

กระนั้นหนังของไพสิฐก็ยังโดดเด่นทั้งในทางวธีคิด และการทำ เปิดพรมแดนใหม่ๆของโลกภาพยนตร์ที่มีคนจำนวนไม่มากนักที่ไปถึง หนังของเขาอาจไม่ใช่ผลผลิตที่ประสบความสเร็จ เพราะหลายเรื่องมันถึงขั้นล้มเหลวทางการสื่อสารกับคนดูจำนวนมากโดยสิ้นเชิง หากแต่นี่คือพรมแดนลึกลับที่อาจจะมาก่อนกาล และต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ

หวังว่าเราจะได้ดูหนังของเขาอีกในเร็ววัน

--

--