Orbiting Body (รูปโคจร) (2024)

Wiwat Lertwiwatwongsa
FILMSICK
Published in
2 min readJul 5, 2024

Orbiting Body (รูปโคจร) Artists:
Apichatpong Weerasethakul /Araya Rasdjarmrearnsook /Pratchaya Phinthong/ Sathit Sattarasart / Sorawit Songsataya

Curator: Mary Pansanga

https://en.bacc.or.th/event/3567.html

พองานทั้งหมดเป็นงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว และไม่ใช่งานใหม่ เป็นงานที่ได้รับเสียงร่ำลืออยู่แล้ว สิ่งที่เราสนใจคือการคิดตั้งต้นว่าจะทำอย่างไรไม่ให้มันมีความรู้สึกว่าเป็นเพียงการ ‘รวมฮิต’ งานของศิลปินดังโดยเขียนธีมไว้หลวมๆเพื่อให้ดูไปกันได้ แต่พอไปดูจริงๆก็พบว่าตื่นเต้นมากๆๆเพราะวานทั้งหมดได้ถูกเชื่อมร้อยเข้าหากัน และเชื่อมร้อยกับสถานที่จัดงานที่มีลักษณะเป็นการเดินวนเส้นรอบวงของวงกลม การเดินจากงานชิ้นหนึ่งไปยังอีกชิ้นหนึ่งกลางเงามืด ช่องว่าง แสงและลมเลยเป็นตัวงานอีกชิ้นที่เชื่อมงานทั้งหมดซึ่งว่าด้วยภาพ การมองเห็นภาพ ใป้กลายเป็น วงโคจรของภาพ ของการมองเห็นภาพ ซึ่งก็สะท้อนในโปสเตอร์งานที่เป็นทั้งวงกลมและดวงตา

จากพระจันทร์สองดวงจากครึ่งเส้นรอบวงของโลกในงานของปรัชญา พินทอง ที่เซตความหมายของการมองเห็น(พระจันทร์ /ฟิล์ม/ภาพถ่าย) และการโคจร (จากปารีสไปนิวซีแลนด์ที่อยู่ในจุดตรงกันข้ามโลกกันพอดี) เราเดินมาจ้องมองการจ้องมอง จากงานของอารยาที่เป็นวีดีโอถ่ายการจ้องมองภาพวาดชิ้นสำคัญของโลกผ่านสายตาของชาวนาที่ตีความภาพใหม่นอกตำรา และผู้ชม จ้องมองและตีความวีดีโอชิ้นนี้ซ้อนทับเข้าไปจากเบาะนั่งรวมที่ถ้านั่งกันหลายคนก็จะเป็นเหมือนกลุ่มผู้ชมศิลปะตีความการตีความของชาวนา

จากความมืดไปหาแสง ม่านผีสิงของอภิชาติพงศ์ที่หยิบเอาฉากลิเก ละคร (ที่เขานำมาใช้บ่อยๆในช่วงหลัง) ให้มาเป็นตัวลพครหลักเสียเอง แม้จะไม่หลอกหลอนเหมือนตอนดูในโรงเรียนร้างที่เชียงราย แต่ก็ให้ความรู้สึก ‘ผีหลอกกลางวัน’ อันน่ารื่นรมย์

จากนั้นจึงเดินเข้าหาภาพลวงตาของสถิตย์ที่ผู้เขียจ้องมอง หมุนไปหมุนามาว่าการมองนั้นเห็นอะไร เห็นอีกฝั่งหรือเห็นภาพสะท้อนของตัวเอง การเห็นจึงมากพอๆกับการไม่เห็นขระผู้ชม ‘โคจร’รอบรูปที่เป็นทั้งกระจกสองด้านและด้านเดียว

งานชิ่้นสุดท้ายของ สรวิทย์ที่มอทะลุจนเห็นเป็นพิกเซลสีเดียวของรูปทัศนียภาพ เป็นการเห็นจนไม่เห็นในที่สุด (ในสูจิบัตรบอกว่าเป็นเทคนิครังวัด แต่เรารู้สึกเหมือนจ้องมองพิกเซลของกล้องดิจิตัลมากกว่า) สุดท้ายการโคจรจากการมองเห็นไปสู่การมองแล้วไม่เห็น หรือไม่มองจึงเห็น จึงเป็นงานที่งดงามมากๆ

— — — — — — — — — — — — — — — -

Since all the works are by renowned artists and are not new, being already well-acclaimed, our focus was on how to avoid giving the impression of merely creating a ‘greatest hits’ collection with a loosely written theme to tie them together. However, upon viewing the exhibition, it was very exciting to find that all the works were intricately connected to each other and to the venue, which has a circular walking path. Walking from one piece to another amidst shadows, spaces, light, and wind became another piece that interconnected all the works. This turned into an ‘orbit’ of images and visual perception, reflected in the poster that features both a circle and an eye.

Starting with the two moons from the half-circumference of the earth in Pratchaya Phinthong’s work, which sets the meaning of vision (moon/film/photography) and orbit (from Paris to New Zealand, which are on opposite sides of the world), we move on to gaze at the act of gazing. Araya’s video work, which captures the gaze at significant world paintings through the eyes of farmers who reinterpret the images in unorthodox art interpretation, allows viewers to gaze and interpret the video from shared seats. If multiple people sit together, it resembles a group of art viewers interpreting the farmers’ interpretation of viewing.

From darkness to light, Apichatpong’s ghost curtain, which uses traditional theater backdrops (frequently featured in his recent works), becomes the main character. Though it may not haunt like it did in an abandoned school in Chiang Rai, it gives a delightful ‘daytime ghost’ feeling.

Then, we move towards Sathit’s illusions, where the viewer gazes and spins, pondering what is seen. Is it the other side or a reflection of oneself? Seeing thus becomes as much about not seeing, while viewers ‘orbit’ around forms that are both two-sided and single-sided mirrors.

The final piece by Sorawit involves seeing through to the point where the landscape image becomes a single-color pixel, ultimately seeing until not seeing at all (the catalog mentions it as a surveying technique, but it feels more like staring at digital camera pixels). Finally, the orbit from seeing to not seeing or not seeing to seeing becomes a very beautiful experience

--

--