SET Digital Asset Industry Forum Part 5: มุมมองของกฎหมายกับ Digital Asset

Turbo Panumarch
Flipay
Published in
2 min readOct 8, 2019

บทความนี้เป็นสรุป Part 5 จากงาน SET Digital Asset Industry Forum สามารถตามอ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ตามรายการนี้เลยครับ

Intro: สรุป SET Digital Asset Industry Forum โดยย่อPart 1: ทำไมต้อง SET Digital Asset PlatformPart 2: DLT คืออะไร และมีการใช้งานจริงอย่างไรบ้างPart 3: แนวโน้มของ Digital Asset และ Ecosystem ในระดับโลกPart 4: Asset Tokenization จะมาเปลี่ยนแปลงธุรกิจการเงินอย่างไร👉 Part 5: มุมมองของกฎหมายกับ Digital Asset

มุมมองของกฎหมายกับ Digital Asset

ความยากหนึ่งจากมุมมองของ Regulator คือ Digital Asset มีความคาบเกี่ยวกับ Regulation หลายด้าน อย่างในไทยก็จะเห็นกฎหมายที่คาบเกี่ยวกับทั้ง กลต​. ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมสรรพากร และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

กฏหมายที่เกี่ยวกับ Digital Asset ก็จะมีลักษณะ 4 แบบใหญ่ๆ คือ

  • เกาหลี ประยุกต์กฎหมายเดิมเพื่อใช้กับ Digital Asset
  • ญี่ปุ่น แก้กฎหมายเดิมเพื่อใช้กับ Digital Asset
  • เม็กซิโก ออกกฎหมายใหม่กว้างๆ สำหรับ Digital Asset แต่ไม่ได้เฉพาะเจาะจง
  • ไทย ออกกฎหมายฉบับใหม่มาเพื่อใช้กับ Digital Asset
ลักษณะของกฎหมาย Digital Asset ในไทย

Liechtenstein ประเทศเล็กๆ ที่ออกกฎหมาย Digital Asset อย่างล้ำหน้า

ใน Forum ได้มีการยกตัวอย่างถึงประเทศ Liechtenstein (อ่านว่า ลิกเตนสไตน์) ที่มีประชากรเพียง 3 หมื่นคน แต่ว่ามีการศึกษาและออกแบบกฎหมายที่มีความยืดหยุ่นและเหมาะกับเทคโนโลยี Blockchain ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

Liechtenstein ได้ออกกฎหมายมาใหม่เรียกว่า Token and Trusted Technologies Service Provider Act หรือ TVTG (เหมือนจะย่อมากจากภาษาเยอรมัน เลยกลายเป็น TVTG)

และเค้าใช้คำว่า Trusted Technology หรือ TT แทน Blockchain เพราะเค้าไม่ต้องการจะออกกฎหมายผูกติดกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยใช้การกำหนดคำใหม่และวางนิยามให้ครอบคลุมแทน

ซึ่งใน TVTG นั้น Token Container Model คือกุญแจสำคัญของกฎหมายนี้

Within this framework, a token serves as a container with the ability to hold rights of all kinds, whether that be the right to something represented — examples including real estate, stocks, bonds, and gold; or nothing.

[…] transfer of a token on a TT system constitutes a binding transfer of the underlying right, whether that be a right to a physical object or a digital asset.

สรุปคือ Token Container เป็น Digital Token อะไรก็ได้ที่แทน “Right” หรือสิทธิในการเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ เช่น หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ตราสารหนี้ ทอง หรือ แม้แต่ nothing ซึ่งหมายถึง Token ที่ไม่ได้ผูกกับอะไรอย่าง Bitcoin

สรุปภาพรวม TVTG หรือกฎหมาย Digital Asset ของ Liechtenstein

ในกฎหมายมีการนิยามผู้ให้บริการด้านต่างๆ ขึ้นมา เช่น

  • Physical Validator อันนี้น่าสนใจมากๆ คือเป็นเหมือนผู้ให้บริการ Tokenize สินทรัพย์ต่างๆ คือเป็นผู้บังคับและควบคุมให้ผู้ที่ถือ Token มีสิทธิในการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่อยู่ข้างในจริงๆ ซึ่งตรงนี้จะทำให้การโอนบ้านหรือที่ดินผ่านมือถือด้วย Digital Asset เป็นความจริงได้
  • Token issuer คือผู้ออก Token แก่สาธารณชน ไม่ว่าจะเพื่อตนเองหรือผู้อื่น
  • TT Key Depository คือ Custodian ที่เก็บรักษา Token โดยการจัดการกุญแจของ Wallet นั้นด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมของ TVTG เข้าไปอ่านได้ที่ TVTG Summary

สรุป

จากที่อ่านมาเราจะเห็นได้ว่า Digital Revolution จาก Digital Asset มันเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้นเอง ทุกอย่างดูใหม่ไปหมด เรามองเห็นประโยชน์จริงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความเร็ว ความสะดวก ต้นทุนที่ลดลงมหาศาล

แต่ความท้าทายสำคัญก็ยังคงเป็นการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ เปิดรับเทคโนโลยี และ นำมาปรับใช้กับระบบปัจจุบัน เพื่อก้าวไปเป็นผู้นำของยุคต่อไป 😊

--

--

Turbo Panumarch
Flipay
Editor for

Builder at Flipay. An Engineer who loves Coding, Product Design and Blockchain. Former VP of Engineering at Omise Payment. 📬 turbo@flipay.co