ตอนที่ 22 “จมูก แว่นตา และองค์ภควันต์”

เชิงอรรถ

มาร์ติน ลูเทอร์กับการต่อต้านการขายใบไถ่บาป

ปี ค.ศ. 1515 สันตะปาปาลีโอที่ 10 (Leo X) ต้องการหาเงินในการ ก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม จึงส่งคณะสมณทูตมาขาย “ใบไถ่บาป” (Indulgence Certificate) สำหรับผู้ที่เชื่อว่าตนเองมีบาปติดตัว การซื้อใบไถ่บาปเป็นหนทางลัดที่สุดสำหรับผู้มีอันจะกินที่จะฟอกตัวให้บริสุทธิ์

มาร์ติน ลูเธอร์นักบวชชาวเยอรมันและเป็นผู้สอนเทววิทยาสายคัมภีร์ (BIBLICAL THEOLOGY) แห่งมหาวิทยาลัยวิทเทนบูร์ก (WITTENBURG) เห็นว่าการขายใบไถ่บาปที่ว่าเป็นเพียงการบังหน้าจากศาสนจักรที่จะหาผลประโยชน์เข้าตนเองโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้คนทั่วไป จึงได้เขียนญัตติ 95 ข้อ (NINETY-FIVE THESES) คัดค้านการขายใบไถ่บาปติดไว้หน้ามหาวิหารแห่งเมืองวิทเทนบูร์ก

ญัตติของเขาได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในเยอรมนี แต่ผู้นำของคริสตจักรได้ลงโทษเขา โดยประกาศให้เขาเป็นบุคคลนอกศาสนา (การบัพพาชนียกรรม : EXCOMMUNICATION) แต่เจ้าชาย เฟรเดอริก (FRIEDERICK THE WISE) ผู้ครองแคว้นแซกโซนีได้ให้ ความอุปถัมภ์เขาไว้ และให้เขาแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษา เยอรมัน ทำให้ความรู้ด้านศาสนาแพร่หลายไปทั่ว นอกจากนี้เขาได้ก่อตั้งนิกายลูเธอร์ (LUTHERANISM) ซึ่งได้แพร่ขยายไปทั่วเยอรมนีและสแกนดิเนเวีย

ผลงานของลูเทอร์นี้ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือละตินได้มีโอกาสเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของลูเธอร์ที่ต้องการให้บุคคลสามารถรับผิดชอบในความเชื่อของตน โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลที่ 3 เข้ามาผูกขาดการเข้าถึงพระเจ้า เช่น นักบวช กฎเกณฑ์ต่างๆในศาสนาซึ่งเป็นเพียงสิ่งเปลือกนอกที่ไม่สำคัญเท่ากับการที่บุคคลนั้นได้เผชิญหน้าต่อพระพักตร์พระเจ้าด้วยตนเอง

เมื่อมีการปฏิรูปศาสนาในดินแดนต่างๆ นักบวชและชาวคริสต์บางคนได้รวมตัวกันต่อต้าน และปฏิรูปตนเอง รวมทั้งชักชวนให้คริสต์ศาสนิกชนอื่นๆทำตาม พวกปัญญาชนพยายามศึกษาเรื่องศาสนาและเผยแพร่สู่ประชาชน ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวเป็นการปฏิรูปจากคริสต์ศาสนิกชนเบื้องล่าง การปฏิรูปศาสนาจึงลุกลามไปอย่างรวดเร็ว

ผลจากการปฏิรูปทำให้คริสตศาสนาแบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ โรมันคาทอลิก มีศูนย์กลางที่กรุงโรม มีสันตะปาปาเป็นประมุข และนิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งแยกเป็นนิกายต่างๆ ได้แก่ นิกายลูเธอร์แรน นิกายคาลวิน นิกายแองกลิคัน เป็นต้น

​ยูดาสขายพระเยซูด้วย 30 เหรียญเงิน

หลังจากที่พระเยซูอธิษฐานกลับลงมาจากเกทเสมนี ยูดาสก็ขึ้นมายังภูเขามะกอก เพื่อชี้ตัวให้กับทหารโรมัน เนื่องจากเป็นเวลาเที่ยงคืน และเหล่าทหารต่างไม่มีใครเคยพบกับพระเยซูมาก่อน ยูดาสจึงให้สัญญาณกับทหารเหล่านั้นว่า “ผู้ที่เราจูบคือผู้นั้น ให้จับกุมและคุมตัวเขาไป”

เมื่อยูดาสพบพระเยซูจึงสตรงเข้ามาหาเพื่อจูบพระองค์ แต่พระองค์ตรัสถามเขาว่า “ยูดาส ท่านกำลังจะทรยศบุตรมนุษย์ด้วยการจูบหรือ?”

ยูดาสเข้ามาใกล้พระองค์และทูลว่า “ขอคำนับรับบี!” แล้วจึงจูบพระองค์

พระเยซูตรัสว่า “เพื่อนเอ๋ย จะมาทำอะไรก็ทำเถิด”

แล้วคนเหล่านั้นก็ตรงเข้าจับกุมพระเยซู…

ลูกา 22, มัทธิว 26

นักบุญโยเซฟ

นักบุญโยเซฟมีอาชีพช่างไม้ในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อเมืองนาซาเร็ธในประเทศอิสราเอลปัจจุบันคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ระบุว่าเป็นสามีของนางมารีย์(มารดาพระเยซู) นักบุญโยเซฟมิใช่บิดาตามเชึ้อสายของพระเยซูแต่ก็ถือกันว่าเป็นบิดาบุญธรรม และเป็นหัวหน้าของ “ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” หรือ “ครอบครัวพระเยซู” (Holy Family)

Saint Joseph with the Infant Jesus by Guido Reni

นักบุญยากอบองค์ใหญ่และยากอบองค์เล็ก

ยากอบ บุตรเศเบดี (James, son of Zebedee) หรือนักบุญยากอบองค์ใหญ่ (James the Greater) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ และเป็นพี่ชายของยอห์นอัครทูต การเติมสร้อยชื่อ “องค์ใหญ่” ก็เพื่อให้แตกต่างจากยากอบ บุตรอัลเฟอัส หรือที่เรียกว่า “องค์เล็ก” นักบุญยากอบบุตรเบดี เป็นสาวกคนแรกๆของพระเยซู พระวรสารสหทรรศน์กล่าวว่าเมื่อพระเยซูทรงเรียกเขามาเป็นสาวก ยากอบ ยอห์น และพ่อกำลังอยู่ริมทะเล พระเยซูให้สมญาทั้งยากอบและยอห์นว่า “ลูกฟ้าร้อง” (Boanerges) เสียชีวิตราว ค.ศ. 44 หนังสือกิจการของอัครทูต 12:1–2 บันทึกว่าพระเจ้าเฮโรด อากริปปา ทรงสั่งประหารยากอบด้วยดาบ

ยากอบ บุตรอัลเฟอัส (James, son of Alphaeus) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ ไม่ทราบสถานที่เกิดและปีที่เกิด และเสียชีวิตโดยการตรึงกางเขนที่ออสตราไคน์ ทางตอนใต้ของประเทศอียิปต์ราว ค.ศ. 62 นักบุญยากอบ บุตรอัลเฟอัสเป็นหนึ่งในอัครทูตของพระเยซู สันนิษฐานกันว่าท่านเป็นคนเดียวกับ “นักบุญยากอบองค์เล็ก” (James the Lesser) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้กันในทางศาสนา

Statue of James the Greater and St. James the Less in the Archbasilica of St. John Lateran by Angelo de Rossi

เทวทัตลอบปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า

การประทุษร้ายต่อพระพุทธเจ้าครั้งที่ 1
พระเทวทัตทูลขอนักแม่นธนูจากพระเจ้าอชาตศัตรูให้ไปลอบยิงพระบรมศาสดาด้วยศรอาบยาพิษและส่งนักแม่นธนูอีกพวกหนึ่งไปฆ่าปิดปากเพชฌฆาต แต่นายทหารเหล่านั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์เกิคความเลื่อมใสแสดงตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งไปตลอดชีวิต

การประทุษร้ายต่อพระพุทธเจ้าครั้งที่ 2
เมื่อแผนการในครั้งแรกไม่สำเร็จ พระเทวทัตจึงลอบขึ้นไปบนภูเขาคิชฌกูฏ ซึ่งในจำนวนภูเขา ๕ ลูก ที่เปรียบเสมือนกำแพงล้อมรอบกรุงราชคฤห์ คือ คิชฌกูฏ อิสิคิริ เวปุลละ เวภาระ และปัณฑวะ คิชฌกูฏเป็นยอดเขาที่งามกว่าภูเขาลูกอื่นมีลักษณะเหมือนศีรษะพญาแร้ง พระเทวทัตลอบขึ้นไปในเวลาเช้า แล้วผลักก้อนหินใส่พระบรมศาสดาขณะเสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ แต่ด้วยพุทธานุภาพก้อนหินขนาดใหญ่ไม่ถูกพระวรกาย เพียงแต่มีสะเก็ดหินชิ้นหนึ่งกระเด็นมาต้องพระบาทจนเกิดห้อพระโลหิตขึ้นเท่านั้น

การประทุษร้ายต่อพระพุทธเจ้าครั้งที่ 3
พระเทวทัตไปหาคนเลี้ยงช้างหลวงอ้างว่าเป็นพระญาติของพระเจ้าอชาตศัตรู สั่งให้มอมเหล้า พญาช้าง นาฬาคิรี ด้วยน้ำสุราถึง ๑๖ กระออม เพื่อให้พญาช้างที่กำลังตกมันเกิดความคลุ้มคลั่งแล้วปล่อยไปทำร้ายพระพุทธเจ้า (บางตำราบอกว่า พระเทวทัตขอพระราชทานพญาช้างจากพระเจ้าอชาตศัตรู) พระพุทธองค์ทรงแผ่เมตตาจิต พญาช้างหมอบลงเอางวงจับฝุ่นที่พระบาทพระศาสดาขึ้นโรยใส่กระพอง (ส่วนที่นูนเป็นปุ่มสองข้างศีรษะช้าง) และกลับสู่โรงช้างตามเดิม

เทวทัตกระทำสังฆเภท(ทำให้สงฆ์แตกแยก)

ครั้งหนึ่ง พระเทวทัตได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอให้บัญญัติ 5 ให้ภิกษุทั้งปฎิบัติโดยเคร่งครัด คือ

  1. ให้อยู่ในเสนาสนะป่า เป็นวัตร
  2. ให้ถือบิณฑบาต เป็นวัตร
  3. ให้ทรงผ้าบังสุกุล เป็นวัตร
  4. ให้อยู่โคนไม้ เป็นวัตร
  5. ให้งดฉันมังสาหาร เป็นวัตร

พระพุทธเข้าไม่ทรงอนุญาตเพราะเห็นว่ายากแก่การปฎิบัติ เป็นการเกินพอดีไม่เป็นทางสายกลางสำหรับบุคคลทั่วไป ควรให้ปฏิบัติตามศรัทธา

เมื่อไม่สมประสงค์พระเทวทัตจึงโกรธแค้นพระพุทธเจ้า ประกาศว่า คำสอนของตนประเสริฐกว่า ทำให้ภิกษุที่บวชใหม่หลงเชื่อเข้าเป็นสาวก เมื่อพระเทวทัตได้ภิกษุยอมเข้าเป็นบริษัทของตนแล้ว ก็พยายามทำสังฆเภทแยกจากพระบรมศาสดา

ในวันอุโบสถวันหนึ่ง พระเทวทัตก็ประชุมภิกษุ พระเทวทัตประกาศว่า วัตถุ ๕ ประการนั้น ท่านรูปใดเห็นชอบด้วยก็จงจับสลากคือลงคะแนนให้ด้วย ปรากฏว่ามีภิกษุ ๓ หรือ ๔ รูปที่ระบุชื่อกับภิกษุอีก ๕๐๐ รูป เห็นด้วย จึงพากันหนึไปที่ตำบลยาสีสะประเทศ ตั้งคณะขึ้นมาใหม่ โดยไม่ขึ้นตรงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกต่อไป

เมื่อพระพุทธเจ้าทราบจึงให้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไปนำภิกษุพวกนั้นกลับ เมื่อทั้งสองไปถึงก็ได้แนะนำพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้นให้กลับใจ ด้วยอำนาจเทศนาปาฎิหาริย์ และอิทธิปาฎิหาริย์ต่างๆให้ภิกษุเหล่านั้นได้บรรลุอมตธรรม แล้วพาภิกษุเหล่านั้นกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

บันไดของยาโคบ (Jacob’s Ladder)

ระหว่างทางที่ยาโคบเดินทางออกจากเบเออร์เชบา(Beersheba) มุ่งหน้าไปฮาราน(Haran) เมื่อพระอาทิตย์ตกดินเขาจึงพักแรมในที่แห่งหนึ่ง ยาโคบเอาก้อนหินมาหนุนต่างหมอนแล้วนอนที่นั่น

ในฝัน พระเจ้า​โปรด​ให้​ยาโคบ​เห็น​ทูตสวรรค์​ขึ้น​ลง​บันได​หิน​ที่​ทอด​ระหว่าง​สวรรค์​กับ​แผ่นดิน​โลก และ​พระองค์​ตรัส​ว่า​จะ​คุ้มครอง​ยาโคบ​และ​พงศ์พันธุ์​ของ​ท่าน ลูกหลานของท่านจะได้รับการสืบเชื้อสายไปทั่วทั้งโลก ผู้คนทั้งโลกต่างจะได้รับพรเพราะตัวท่านและลูกหลาน พระองค์จะปกป้องรักษาแผ่นดินผืนนี้ไว้ และจะพาเชื้อสายของท่านกลับมายังแผ่นดินนี้อีก

เมื่อตื่นขึ้นยาโคบจึงเอาก้อนหินที่ใช้หนุนศีรษะมาตั้งเป็นเสาศักดิ์สิทธิ์ แล้วเทน้ำมันบนยอดเสานั้นเพื่อถวายแด่พระเจ้า

--

--

ป๋าจอห์นนี่ เดปป์
สองศาสดาลาพักร้อน

เป็นผู้แปลสองศาสดาลาพักร้อน หรือ Saint Young Men ที่ดองงานมายาวนานกว่า 2 ปี กดติดตาม Follow กันได้ทั้งใน Medium และ https://www.facebook.com/ThaiSaintYoungMen