ตอนที่ 25 “แต่งองค์ทรงเครื่อง!”

เชิงอรรถ

ผ้ากาสายะ

ผ้ากาสายะ(kāṣāya) เป็นคำเรียกผ้านุ่งห่มหรือจีวรของภิกษุทั้งในนิกายเถรวาทและมหายาน ซึ่งเรียกตามสีที่ใช้ย้อมทำผ้าเป็นหลัก(คล้ายๆกับการเรียกผ้าเดนิม) โดยจะย้อมด้วยน้ำฝาด ซึ่งในสมัยนั้นพระภิกษุย้อมสีจีวรต่างกันไป พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม 6 อย่าง คือ น้ำย้อมเกิดแต่รากหรือเหง้า 1 น้ำย้อมเกิดแต่ต้นไม้ 1 น้ำย้อมเกิดแต่เปลือกไม้ 1 น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้ 1 น้ำย้อมเกิดแต่ดอกไม้ 1 น้ำย้อมเกิดแต่ผลไม้ 1”

ในสมัยพุทธกาลพระภิกษุนั้นอาศัยเก็บผ้าที่ชาวบ้านทิ้งเอาไว้ตามร้านตลาดบ้าง ผ้าห่อศพหรือที่ถูกเอาไปทอดไว้หน้าศพบ้าง เพราะผ้าพวกนี้เป็นผ้าที่สกปรก จึงไม่มีผู้ใดปรารถนา เอามาซักล้างให้สะอาด แล้วเก็บไว้เพื่อนำมาเย็บหรือซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด

ต่อมาเริ่มมีการถวายปัจจัยเป็นผ้านุ่มห่ม พระภิกษุบางรูปก็ได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยบ่อยครั้ง พระพุทธเจ้าจึงให้ตัดผ้าที่ได้รับถวายเป็นผืนเล็กๆนำมาเย็บต่อกันให้มีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง ไม่มีผู้ใดต้องการนำไปตัดเย็บอีก ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์

Swiss Guard

Swiss Guard คือทหารรักษาความปลอดภัยแก่องค์สันตะปาปา และสำหรับคริสตจักรคาทอลิก ซึ่งทางวาติกันได้ว่าจ้างมาประจำการเพื่อทำหน้าที่นี้มาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 มาจนถึงปัจุบัน

ด้วยความสามารถด้านเชิงรบที่เก่งกาจ ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ภักดี และความสามารถในการเก็บความลับ และยังต้องผ่านการทดสอบต่างๆดังนี้

  1. ต้องเป็นคนสวิสเซอร์แลนด์
  2. ต้องมีความสูงขั้นต่ำ 175 ซม.
  3. ต้องเคยเป็นทหารในกองทัพของสวิสเซอร์แลนด์มาก่อน
  4. ต้องนับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมัน-คาทอลิก
  5. ต้องมีทักษะการพุดภาษาพื้นฐาน 3 ภาษา และผ่านข้อทดสอบต่างๆ
  6. ต้องผ่านหลักสูตรพิเศษต่างๆ ที่ทางวาติกันตั้งเงื่อนไขไว้
ชุด Swiss Guards ออกแบบโดย ไมเคิล แองเจโล่

มุทรา

มุทรา(mudrā) เป็นท่าทางแสดงสัญลักษณ์ทางพิธีกรรมในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธส่วนมากเน้นที่ลักษณะมือและนิ้ว มุทราแต่ละท่าจะแฝงนัยความหมายทางจิตวิญญาณแตกต่างกันไป

มุทราในศาสนาพุทธมักปรากฏเป็นปางต่าง ๆ ของพระพุทธรูป โดยแต่ละปางจะมีอิริยาบถและท่ามือแตกต่างกันไป ทั้งประวัติความเป็นมาของแต่ละปางก็มีที่มาจากพุทธประวัติ

ในสมัยก่อนถือเป็นหัวใจของการฝึกวิชานินจา ซึ่งการฝึกปางมือนี้ก็คือการฝึกจิตของตนให้เข้าถึงแก่นแท้สรรพสิ่งทั้งมวล เมื่อเข้าใจถึงแก่นแท้แล้วก็จะเข้าใจความสัมพันธ์ของที่มาแห่งพลังต่างๆ และสามารถนำพลังนั้นออกมาใช้ได้โดยไม่เกิดอันตรายกับตนเองศาสตร์แห่งนินจาเชื่อว่าการประสานมือเป็นการโอบล้อมทำให้เกิดพลัง อันประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ (ชิ — ซุย — ฟุ — กะ) เมื่อผู้ใช้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิอันแน่วแน่จะสามารถบังคับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอารมณ์ สภาพบรรยากาศอันกดดัน และผนึกสมาธิให้ตั้งมั่นได้อย่างสูงสุด

--

--

ป๋าจอห์นนี่ เดปป์
สองศาสดาลาพักร้อน

เป็นผู้แปลสองศาสดาลาพักร้อน หรือ Saint Young Men ที่ดองงานมายาวนานกว่า 2 ปี กดติดตาม Follow กันได้ทั้งใน Medium และ https://www.facebook.com/ThaiSaintYoungMen