CPU Intel อะไรคือ P Core และอะไรคือ E Core

Weerapong K.
G-Able
Published in
2 min readMay 31, 2023

สวัสดีครับทุกท่าน

วันนี้เราอยากให้ทุกท่านได้รู้จัก Architecture ของ CPU Intel ในยุคปัจจุบัน โดยหลักๆ ของเนื้อหาในวันนี้อยากให้ทุกท่านเข้าใจว่าอะไรคือ P Core และอะไรคือ E Core

ถ้าหลายๆ ท่านติดตามข่าวสารวงการ CPU มาบ้างจะเริ่มสังเกตุเห็นว่า Core CPU ของ Intel จะมีความเปลี่ยนแปลงไป จากที่แต่เดิมการดู Spec ของ CPU เราจะสนใจเพียงแค่ว่า CPU มีสัญญาณนาฬิกา (Clock) เท่าไหร่ จำนวน Core ของ CPU มีจำนวนเท่าไหร่ (Core Process) และเธรดของ CPU มีจำนวนเท่าไหร่ และจะวิเคราะห์จากการใช้งานของลูกค้าเองว่าควรเลือกซื้อ CPU รุ่นใหนเพื่อนำไปใช้งาน

ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นว่าค่ายหลักๆ ของผู้ผลิต CPU รายใหญ่ๆ เราจะเห็นว่ามีสองราย (มองเฉพาะบริษัทที่ผลิต CPU ตระกูล X86 X64 เท่านั้นไม่รวมถึง ARM) ก็จะเห็นว่าจะมีค่าย Intel และ AMD เป็นผู้เล่นหลัก ในตลาด แต่เทคโนโลยีเรื่อง P Core และ E Core จะมีเพียง Intel เท่านั้น ที่นำเทคโนโลยีรูปแบบนี้มาใช้ ซึ่ง AMD ในยุคปัจจุบันจะยังคงมีแค่ P Core เป็นแกนหลักในการประมวลผลเช่นเดิมอยู่ในปัจจุบัน บทความในวันนี้จึงอ้างอิงเพียงแค่เทคโนโลยีของผู้ผลิตอย่าง Intel เท่านั้นครับ

หลังจากที่เกริ่นนำไปเยอะแล้วมาทำความรู้จักความหมายของ P Core และ E Core กัน

P Core คืออะไร ชื่อเรียกเต็มๆ คือ Performance Core ซึ่งเป็น Core Process ปกติที่ใช้งานมาช้านานและถูกพัฒนามาตลอดเวลาตามเทคโนโลยี โดยหลักๆ ที่มีความเปลี่ยนแปลงมาตลอดคือเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลงเรื่อยๆ ประหยัดพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นปัจจุบันเราจะเห็นว่า CPU จะใช้เทคโนโลยีการผลิดระดับ 10nm, 7nm เป็นต้น

ซึ่ง P Core จะยังคงเป็นแกนประมวลผลหลักอยู่ไม่ว่าจะเป็น CPU จากค่ายผู้ผลิตใดๆ การแข่งขันของ P Core ก็ยังเป็นตัวชี้วัดความสามารถและประสิทธิภาพในการประมวลผลของผู้ผลิตรายนั้นๆ อยู่เสมอๆ

E Core หรือที่เรียกเต็มๆ ว่า Efficiency Core คือ CPU Process ที่ถูกลดขนาดลงมาจาก P Core ราวๆ 1 ใน 4 และใช้พลังงานต่ำกว่า P Core และตัดส่วนของเธรดออก แต่ยังมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะประมวลผลงานทั่วๆ ไปที่ไม่จำเป็นต้องใช้พลังประมวลผลมาก

ประโยชน์หลักๆ ของ E Core คือเมื่อ CPU ต้องประมวลผลหนักๆ ในขณะนั้นๆ แน่นอนว่าภาระงานหลักๆ จะไปตกอยู่กับ P Core ที่จะต้องทำหน้าที่ แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราต้องการที่จะทำงานอย่างอื่นที่ไม่ใช่งานที่ต้องการพลังการประมวลผลมากมายอะไรเช่น เปิดเช็ค E-Mail , เปิด Web Browser ถ้าเป็นกระบวนการจัดการปกติ งานเหล่านี้จะถูกแทรกคำสั่งที่ P Core ทำให้งานหลักที่ประมวลผลอยู่ถูกขัดจังหวะได้ ทำให้งานที่ต้องประมวลผลหลักเกิดความล่าช้าลงหรือสะดุดแต่ E Core จะทำหน้าที่ในการจัดการงานเหล่านี้แทน

เมื่อเราเห็นข้อดีของการที่มี E Core แล้วคำถามคือใครเป็นคนจัดการหรือบอกได้ว่างานใหนควรจะต้องเป็นหน้าที่ของใครระหว่าง P Core หรือ E Core

อย่างที่เข้าใจกันคนที่มีหน้าที่ในการจ่ายงานให้ CPU แต่ละ Core ก็คือระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้นๆ ว่า OS (เช่น Windows, Linux) แต่เนื่องจากเทคโนโลยีของ P Core, E Core ใน Computer นั้นถือว่ายังใหม่ทำให้ Windows ที่สามารถใช้ประสิทธิภาพของ P Core หรือ E Core นั้นจะต้องเป็น Windows 11 ที่เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งจะแตกต่างจาก Windows 10 ที่อยู่มานานเป็น 10 ปีแล้วทำให้ OS เข้าใจเพียงแค่ว่า มี CPU Core ที่จะจ่ายงานให้ได้จำนวนเท่าใหร่ (ไม่รู้สถานะและทำงานอะไรอยู่บ้าง) เพราะฉะนั้น Intel จึงแก้ไขปัญหานี้ด้วยการเพิ่มไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ควบคุมในระดับ Hardware เพิ่มมาเรียกว่า Intel Thread Director หรือเรียกชื่อย่อว่า ITD เพื่อตรวจสอบหรือ Monitor CPU Core ซึ่งจะรู้ได้ว่าแต่ละ Core มีงานอะไรที่กำลังทำอยู่ การบริโภคพลังงาน ณ ขณะนั้น ระดับความร้อนของแต่ละ Core และจะทำงานร่วมกันกับ OS ให้ทราบรายละเอียดมากขึ้น แต่สุดท้ายแล้วเมื่อต้องการที่จะใช้งาน CPU Intel Gen 12,13 ที่มีทั้ง P Core และ E Core ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ผลิตก็ยังคงแนะนำให้ใช้งานกับระบบปฏิบัติการ Windows 11 อยู่ดีครับ

สรุปสุดท้ายสำหรับเรื่อง P Core และ E Core ใน CPU ของ Intel นั้นยังเป็นเทคโนโลยีที่ยังใหม่สำหรับ Computer แตกต่างจาก CPU ตระกูลของ ARM ในโทรศัพท์มือถือหรือ Tablet ที่มีมานานเพราะจุดเด่นของการที่มี E Core นั้นคือการบริโภคพลังงานที่ต่ำและใช้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่มายาวนานและพัฒนามานานกว่า

— จบ —

--

--