Pubic Speaking ที่ดี มีอะไรบ้าง?

pompor_lita
G-Able
Published in
2 min readJun 19, 2023

หลายๆคนคงเคยประสบอาการตื่นเต้น สั่นเป็นเจ้าเข้าเวลาต้องพูดต่อหน้าสาธารณชนพูดต่อหน้าคนเยอะๆ หรือแม้กระทั่งการนำเสนอผลงานต่อผู้บริหาร แต่หากเรามีเทคนิคดีๆและฝึกฝนบ่อยๆ ก็จะสามารถพูดแบบ Public Speaking ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เรามาดูกันว่าเทคนิคนั้นมีอะไรบ้าง?? โดยที่เทคนิคนี้ทุกคนไม่ต้องจำเลย แค่อาศัยนิ้วมือของเราในการทำความเข้าใจ 6 นิ้วเท่านั้นเอง!!

ไปดูกันเลยดีกว่า ว่าทักษะการพูดแบบ Public Speaking มีอะไรบ้าง?

Photo by Kevin Malik on www.pexels.com

นิ้วมือแรก คือเลข 1 เรื่องของการยืนตัวตรง

การพูดในที่สาธารณะหรือพูดต่อหน้าพี่ๆผู้บริหาร เราต้องมีบุคลิกที่ดีคือ การยืนตัวตรงให้มั่นคง เพื่อให้น้ำเสียงที่ออกมามีคุณภาพ เสียงดังฟังชัด ไม่พูดไปคลิกสไลด์ไป ไม่พูดไปเดินไป จะทำให้น้ำเสียงและท่าทางของเราดูไม่มั่นใจได้

Photo by Soroush Karimi on Unsplash

นิ้วมือสองนิ้ว หรือหมายเลข 2 หมายถึง Eye Contact นั่นเอง

การพูดคือการสื่อสารอย่างหนึ่ง จำเป็นที่ผู้พูดจะสื่อสารกับคนฟังด้วยการสบตาผู้ฟังด้วย เทคนิคตรงนี้สามารถฝึกง่ายๆด้วยการ Look Lock Talk เริ่มจาก

  • Look มองผู้ฟังท่านใดท่านหนึ่งก่อน จากนั้นตามด้วย
  • Lock สบตาผู้ฟังอย่างน้อย 3–5 วินาที ในกรณีมีผู้ฟังมากกว่า 1 ท่านให้กวาดสายตาให้ครบทุกท่าน
  • Talk เมื่อสบตาผู้ฟังครบ 3–5 วินาที จึงค่อยเริ่มพูดเนื้อหา
Photo by Sincerely Media on Unsplash

หลักการที่ 3 การพูดของเราต้องไม่มีโทนเสียงเดียว ต้องมีเสียงสูง เสียงกลางและเสียงต่ำ

  • เสียงสูง (Head Tone) คือเสียงสูงที่สุดที่เราจะพูดได้ ถ้านึกไม่ออกให้นึกถึงเสียงเวลาที่นักร้องหวีดเสียงหรือ improvised ขึ้นสูงในเพลงเพื่อเพิ่มบทเพลงนั้นให้มีพลังมากขึ้นนั่นเอง สามารถฝึกได้โดยออกเสียง “มดตัวเล็กนิ้ดนึง” ให้สูงที่สุด
  • เสียงกลาง (Milddle Tone) คือเสียงพูดของเราในตอนปกติ ควรออกเสียงให้ชัดเจน เสียงดังฟังชัด ระดับความดังของเสียงไม่ถึงขนาดตะโกนแต่ก็ไม่เสียงเบาจนต้องถามซ้ำ สามารถฝึกพูดได้โดยการออกเสียง “ม้าตัวโต”
  • เสียงต่ำ (Chest Tone) คือเสียงต่ำที่สุดที่เราจะออกเสียงได้ ให้นึกถึงละครจีนสมัยก่อนที่จะมีพระเอกชื่อ “อาฉี” ที่จะมีเสียงทุ้มต่ำสอดคล้องกับตัวละครที่หล่อเหลามากจนเป็นขวัญใจคนยุคนั้นจนมีฉายาว่า “อาฉีเสียงหล่อ” สามารถฝึกได้โดยออกเสียง “ช้างตัวใหญ่” ให้ต่ำที่สุดเท่าที่เราจะออกเสียงได้ เสียงจะสั่นจนรับรู้ได้ถึงการสั่นช่วงอก จึงมีชื่อเรียกว่า Chest Tone นั่นเอง

สำหรับการพูดในชีวิตจริงของคนเรา ถ้าไม่อยากเป็นคนพูดเสียงเดียวหรือ Monotone เราควรฝึกพูดโดยใช้น้ำเสียงสูง-กลาง-ต่ำให้เหมาะสม เพราะแต่ละสถานการณ์มีการออกเสียงไม่เหมือนกัน เช่น สถานการณ์ที่เราต้องขอโทษลูกค้า ต้องใช้เสียงโทนต่ำเพื่อแสดงความเชื่อมั่น การใช้เสียงสูงเพื่อนำเสนอ solution เพื่อให้เกิดความตื่นเต้น น่าสนใจ เป็นต้น

Photo by Igor Miske on Unsplash

เรื่องที่ 4 หั่นหมู หั่นผักยังเป็นจังหวะ การพูดก็เช่นเดียวกัน

การพูดก็ต้องมีจังหวะหยุด จังหวะเน้นเสียง เพื่อให้การพูดน่าสนใจและไม่ติดกันเป็นพรืดดด… เราคงเคยได้ยินคนพูดติดกันรัวๆๆ แบบนั้นคนฟังอย่างเราเองยังรู้สึกหายใจตามไม่ทันและอาจทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟังต่อ เพราะฟังไม่ทันและจับใจความสำคัญไม่ทันอีกด้วย

Photo by Saif71.com on Unsplash

“หยุด” การพูดด้วยมือทั้ง 5 นิ้วของเรา ว่าด้วยเรื่องของจังหวะการ “หยุด” ในการพูด

ลองสังเกตในงานประกาศรางวัล เวลาพิธีกรพูดว่า

“และรางวัลที่ 1 ในค่ำคืนนี้ ได้แก่….” จากนั้นพิธีกรก็จะหยุดพูดเพื่อให้ดนตรีขึ้นมาเพื่อบิ้วอารมณ์คนฟังให้ตื่นเต้น !!!

หรือแม้กระทั่งเวลาที่สส.อภิปรายหาเสียงบนเวที เขาก็จะมีจังหวะหยุด

“จริงไหมพ่อแม่พี่น้อง….!!!” “นโยบายแบบนี้ สะใจดีไหมครับ พี่น้องงง…..!!!”

การหยุดเพื่อให้มี death air หรือความเงียบเล็กน้อย ไม่ใช่เรื่องผิดมหันต์ในการพูด บางคนกลัว death air เพราะเกิดความเงียบ แต่อันที่จริง Death air ที่มาถูกที่ ถูกเวลาก็อาจเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ตื่นเต้น ได้ใช้เวลาคิดหาคำตอบ หรือได้ส่งเสียงเฮ ทำให้การพูดมีสีสันมากขึ้นได้

Photo by Andrea Piacquadio on www.pexels.com

เรื่องสุดท้าย นิ้วมือ 6 นิ้ว นิ้วที่ 6 ตัดทิ้ง!!! ทำไมต้องตัดทิ้ง เพราะนิ้วที่ 6 หมายถึง “Non-word” หรือคำพูดที่ไม่มีความหมาย

ไม่มีประโยชน์ที่จะพูดและจะพูดเพื่อออออ… เช่น “อ่า…” “เอ่ออออ….” “อะไรประมาณนี้อ่ะค่ะ/ครับ” คำพูดเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องพูดหรือใช้ในการสื่อสาร และถ้านำมาใช้ในการพูดมากเกินไปจะทำให้เสียงเหล่านี้กลายเป็น “Noise” หรือ “สิ่งรบกวน” ในการสื่อสารจนรบกวน message หลักที่เราต้องการสื่อสารได้ เปรียบเสมือนเรานั่งดูทีวีแล้วมีสัญญาณรบกวนเส้นๆแทรกเป็นพักๆ เราก็รู้สึกรำคาญนั่นเอง ดังนั้นในการพูด เราจึงควรระวังไม่ให้มี “Non-word” หรือคำที่ไม่มีความหมายเหล่านี้มากจนเกินไป

อย่างไรก็ตาม การพูดในที่สาธารณะเป็น “ทักษะ” เมื่อเป็นทักษะก็หมายถึงคุณต้องมีการฝึกฝน เราคงไม่สามารถพูดในที่สาธารณะครั้งเดียวแล้วจะเกิดความคล่องแคล่ว ได้ แต่การฝึกฝนนั้นต้องอาศัยความตั้งใจอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องและยาวนานมากพอก็จะทำให้ทักษะการพูดในที่สาธารณะของคุณดีขึ้นเรื่อยๆได้นั่นเอง

สำหรับท่านที่สนใจเรื่องการฝึกฝนการพูดในที่สาธารณะ สามารถติดตามการเปิดลงทะเบียนหลักสูตร Public Speaking กับทีม OCD ได้เร็วๆนี้ แล้วพบกัน!!

--

--

pompor_lita
G-Able
Writer for

Have faith in what you do,you'll make it through.