รู้หรือไม่ เคยมีคนล่าสุริยุปราคาด้วยเครื่องบินเหนือเสียง

Vetsutee Laotrakul
Galaxy Express
Published in
2 min readFeb 28, 2017
ภาพนี้จับภาพเครื่องบินเร็วเหนือเสียงคอนคอร์ดเที่ยวแรก ที่กำลังบินผ่านสุริยปราคาที่เกิดในปี 1973 ได้พอดิบพอดี

ภารกิจ

เรื่องของเรื่องคือ ในปีนั้นที่สุริยุปราคาจะเกิดขึ้น หากยืนสังเกตอยู่จุดเดียวคุณจะเห็นปรากฏการณ์ในเวลาทั้งหมดเพียงแค่ 7 นาทีเท่านั้น แต่นักดาราศาสตร์มีไอเดียว่าถ้าขึ้นบนเครื่องบินที่บินได้เร็วพอเขาจะสามารถไล่ตามเงาของดวงจันทร์ได้เรื่อย ๆ และในทฤษฎีจะสามารถสังเกตการณ์ได้นานถึง 70 นาที มากกว่าถึงสิบเท่าของการดูนิ่ง ๆ บนพื้นโลก

เส้นทางสุริยุปราคาซึ่งพาดผ่านแอฟริกาในปีนั้น

ป๊ะพอดีกับตอนนั้น เครื่องบินความเร็วเหนือเสียงคอนคอร์ด กำลังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา นักดาราศาสตร์จึงขอให้ช่วยเอาเครื่องบินรุ่นโปรโตไทป์มาบินไล่เงาดวงจันทร์เพื่อการสังเกตการณ์หน่อย แผนนั้นดูง่าย ๆ แค่เครื่องบินต้องบินด้วยความเร็วเกือบสูงสุดเพื่อให้อยู่ในเงาของดวงจันทร์ตลอดเส้นทางที่เกิดสุริยุปราคา แต่จริง ๆ ต้องใช้การวางแผนอย่างรอบคอบ อาทิ เครื่องมือสังเกตกาณ์ต้องสามารถทนอัตราเร่งของเครื่องบินได้ เส้นทางการบินต้องมีสนามบินที่ยาวพอสำหรับเครื่องบิน และห่างไกลพอที่จะสังเกตการณ์ได้ยาวนาน โอกาสอุบัติเหตุบนเครื่องเช่นไฟไหม้ต้องเป็นศูนย์

เครืองมือที่จะนำขึ้นไปบนเครื่องบินของมหาวิทยาลัย Queen Mary กำลังถูดทดสอบ โดยนักวิทยาศาสตร์ในรูปได้แก่ Jim Lesurf, Jim Hall, และ Tony Marston

วันปฏิบัติการ

เครื่องบิน Concorde 001 ออกปฏิบัติการ

สุดท้ายในวันที่ 30 มิ.ย. 1973 เวลา 10 นาฬิกา เครื่องบินคอนคอร์ดทะยานขึ้นจากเกาะ Las Palmas ของแอฟฟริกา เร่งความเร็วถึง 2.05 มัค สองเท่าของความเร็วเสียงเพื่อไล่ตามเงาสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นแล้วให้ทัน และจบด้วยความสำเร็จที่สามารถไล่ตามเงาได้นานถึง 74 นาที ความสำเร็จจากการสังเกตการณ์ทำให้นักดาราศาสตร์ได้ข้อมูลมากกว่าที่เคยได้ในรอบร้อยปีในการทดลองครั้งนี้เพียงครั้งเดียว สามารถตีพิมพ์บทวิจัยลง Nature ได้ถึง 3 ฉบับ และออกหนังสือเกี่ยวกับการทดลองชื่อ ล่าเงาจันทร์กับคอนคอร์ด 001 (Racing the Moon’s Shadow with Concorde 001)

การศึกษาดวงอาทิตย์บางอย่างสามารถทำได้ในช่วงสุริยุปราคาเท่านั้น อาทิ การสังเกตโคโรนาชั้นบรรยาศส่วนนอกของดวงอาทิตย์ การสังเกตขอบของดวงอาทิตย์ที่มักจะขาวโพลนด้วยแสงสว่างจ้า เห็นต้น

— — — — — — — —
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับอวกาศในเพจ
https://www.facebook.com/GalaxyExpressNews/

--

--