มุมมองของขยะรีไซเคิลและ การจัดการเมืองใหม่

GEPP Think Tank
GEPP SA-ARD
Published in
1 min readJun 2, 2020

มุมมองสำหรับขยะรีไซเคิลเป็นขยะที่มีคุณค่าและเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการที่เราสามารถช่วยสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ ไม่รบกวนทรัพยากรธรรมชาติ โดยผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญกับการดูแลขยะนั้นหลังการใช้งาน ฟังดูเหมือนต้องลำบากและไม่สะดวก อาจเป็นความคิดแรกที่เข้ามาเมื่อเราเริ่มที่จะเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองเพราะที่ผ่านมาเราใช้ชีวิตด้วยความสะดวก แต่จริงแล้วมันเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถออกแบบการใช้ชีวิตของเราเองได้ ที่จะเริ่มทำให้ชีวิตของเราสะดวกได้อย่างที่เราเคยเป็น สิ่งแรกที่เราต้องเริ่มคือการทบทวนพฤติกรรมและกิจวัตรประจำวันของเราว่าต่อวันเราต้องทำอะไรบ้างและเราสร้างขยะเพราะอะไร เช่น เรารับประทานอาหารที่เราต้องทิ้งกล่องอาหาร ถุง เราทำงานอะไรสร้างขยะอะไรและ เราเดินทางอย่างไรสร้างมลพิษมากแค่ใหน แต่ละกิจกรรมที่เราทำส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นต้นทางสำหรับการสร้างขยะหรือมลพิษที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เราควรที่จะช่วยลด ช่วยใช้ซ้ำและเลือกใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ มีคำถามที่ตามมาและพบได้บ่อยเมื่อได้ทำการแยกขยะแล้ว รถที่มาเก็บขยะแยกประเภทหรือรวมและนำวัสดุที่เราทำการแยกแล้วไปทำประโยชน์กลับมาเป็นอะไร

ที่มา : theprototype.pim.ac.th, schoolofchangemakers.com/knowledge

จากนโยบายของภาครัฐการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมในปี 2563–2565 เป็นเรื่องของการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ในนโยบายหลักด้านที่ 10 นี้ประกอบด้วย แก้ปัญหาก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและ แก้ใขปัญหาการจัดการขยะและของเสียอย่างมีระบบ ซึ่งในเรื่องของขยะมูลฝอยทำการส่งเสริมการให้ความรู้ตั้งแต่ต้นทางเพื่อให้ครัวเรือนและธุรกิจ สามารถลดปริมาณขยะของตนเองลงได้ ส่งเสริมการใช้ซ้ำ การแยกขยะตั้งเเต่ต้นทางและนำขยะแต่ละชนิดกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งขยะที่เราพบเห็นในเมืองที่เราอาศัย ทำงาน ความเป็นจริงขยะยังมีในแหล่งน้ำและทะเลอีกด้วยซึ่งทางกรมควบคุมมลพิษ ดูแลการแก้ปัญหาขยะส่วนนี้ทั้งขยะบกและขยะทางทะเล เช่นการลดการใช้โฟม ห้ามการนำเข้าพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศและ มีส่วนร่วมกับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการจัดเก็บขยะแหล่งน้ำและทะเล เพื่อทำการลดปริมาณขยะในประเทศทั้งหมด จากนโยบายสามารถตอบคำถามของผู้เกิดคำถามว่าการจัดของภาครัฐเป็นอย่างไร ซึ่งภาครัฐพยายามนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์มากที่สุดแต่ต้องมีการจัดการตันทางที่มีคุณภาพเพื่อเชื่อมต่อการจัดการขยะได้ชัดเจนและสามารถไปที่ปลายทางได้อย่างถูกต้อง

จากประสบการณ์การใช้ชีวิตพบเห็นรถเก็บขยะที่ทำการแยกขยะที่หลังรถตอนที่เข้ารับขยะแต่ละจุดที่เป็นจุดรวบรวมขยะของแต่ละพื้นที่และใช้เวลาในการจัดการนาน หลังการเก็บขยะและแยกวัสดุรีไซเคิลแล้วจุดรวบรวมขยะนั้นจะส่งกลิ่นและมีความไม่สะอาดส่งผลต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองส่งผลกระทบต่อคนเดินเท้าและผู้อาศัยใกล้เคียง ซึ่งจากปัญหาที่พบเห็นมาจากการที่ไม่มีการแยกที่ต้นทางทำให้กระบวนการทำงานนั้นส่งผลต่อเนื่องถึงกิจกรรมการเก็บของรถเก็บขยะของส่วนกลางที่ต้องทำการแยกก่อนเพราะถ้านำขยะทุกประเภทรวบรวมเข้าไปในรถที่เป็นรถอัดขยะจะทำให้ขยะทุกชนิดรวมกันและเกิดความปนเปื้อนจนทำให้ขยะรีไซเคิลที่มีมูลค่าไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ต่อ ซึ่งจากตัวอย่างการจัดการขยะในต่างประเทศที่มีความแตกต่าง จะมีการระบุวันในการจัดการขยะแต่ละชนิดชัดเจนและมีข้อบังคับในการจัดเตรียมขยะแต่ละชนิดชัดเจนเพื่อเป็นการช่วยลดภาระของการจัดการขยะของภาครัฐได้อย่างมากและสามารถได้ขยะที่มีคุณภาพสามารถจัดการต่อได้ง่าย เพื่อทำให้ขยะนั้นกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือการกำจัดขยะนั้นได้อย่างถูกวิถีเพราะแต่ละชุมชนไม่ได้มีแค่ขยะรีไซเคิลแต่ยังมีขยะอันตรายที่สามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากจึงต้องมีการกำจัดที่ถูกวิธี เหตุผลของการแบ่งประเภทของขยะเป็นตารางในการเข้ารับแต่ละพื้นที่และแต่ละพื้นที่ก็มีตารางที่แตกต่างกันออกไปนั้น ด้วยกระบวนการจัดการขยะนั้นสิ่งสำคัญคือเรื่องการขนส่งต่อผู้จัดการปลายทางที่ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เมื่อกระบวนการจัดเก็บสามารถวางแผนให้เป็นระบบในแต่ละพื้นที่ได้มีการเชื่อมต่อเครือข่ายการจัดการขยะแต่ละชนิดของแต่ละพื้นที่ทำให้สามารถสร้างมูลค่าของขยะรีไซเคิลหรือขยะประเภทอื่นให้มากขึ้นจากการจัดการขยะต้นทาง ลดงานของพนักงานมาแยกอีกครั้ง ทำให้วัสดุนั้นสามารถส่งตรงเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล กระบวนการกำจัดขยะ ทำให้การวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายของการจัดการขยะนั้นสามารถเป็นระบบ คาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตเพื่อปรับปรุงการสื่อสาร การปฏิบัติงานของแต่ละภาคส่วนได้ ซึ่งจากตัวอย่างที่กล่าวมาสอดคล้องกับการพัฒนาเมืองที่มีแนวคิดเมืองยั่งยืน (Sustainable City) ด้วยแนวคิดเมืองยั่งยืนเป็นแนวคิดที่มีการประชุมในระดับโลกมีการลงนามใน Rio +20 (Earth Summit 2012) โดยออกมาเป็นแผนการปฏิบัติที่ชื่อว่า แผนปฏิบัติการ 21 (Local Agenda 21) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่มีความยั่งยืน นับว่าเป็นแผนแม่บทระดับโลกในแผนนี้มีรายละเอียดหลายระดับที่ครอบคลุม เริ่มตั้งแต่ Carbon-Neutral City คือการที่เมืองมีระบบการคิดหักลบปริมาณคาร์บอนที่เกิดขึ้นของเมืองได้และนำไปสู่การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำได้ มีเรื่องโครงการของเมืองที่ต้องมีพื้นที่สีเขียว มีการจัดการเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนในระบบขนส่งสาธารณะภายในเมืองเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดย Local Agenda 21 นี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้านคือ 1. The Green Agenda ที่จะคำนึงถึงด้านระบบธรรมชาติเป็นหลัก 2. The Brown Agenda ที่คำนึงถึงมนุษย์ในเรื่องการจัดการเมืองที่น่าอยู่ มีสุขภาพที่ดีของประชาชนซึ่ง 1 ในเรื่องที่อยู่ในด้านนี้คือการจัดการขยะนำกลับมาใช้ใหม่ ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการเรื่องนี้ในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับชุมชน ซึ่งหลังจากที่มีกรอบแนวคิดนี้เข้ามาในเมืองไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแนวคิดนี้เพื่อให้เข้ากับบริบทของเมืองไทยมากที่สุดและออกเป็นแนวทางในการปฏิบัติในแต่ละโครงการที่เกิดขึ้นในประเทศ

จากมุมมองของขยะรีไซเคิลถึงการพัฒนาเมืองที่อยู่ในระดับโลก มองกลับมาสู่การพัฒนาการจัดการขยะในระดับเมืองของเมืองไทยยังขาดการเชื่อมต่อการจัดการขยะให้ถึงปลายทางอย่างมีประสิทธิภาพด้วยกระบวนในส่วนนี้ต้องมีการมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนของแต่ละพื้นที่และมีปัจจัยที่แตกต่างกันหลายระดับในแต่ละพื้นที่ทำให้กระบวนการที่เป็นกรอบแนวคิดและให้แต่ละพื้นที่ทำการพัฒนาของตนเองเกิดขึ้นได้ยาก จึงมีความคิดเห็นว่าการเริ่มการพัฒนาเรื่องการจัดการขยะนั้นเป็นการวางระบบภาพรวมทั้งประเทศเข้าด้วยกันเพื่อสามารถส่งเสริมการเชื่อมต่อการจัดการขยะที่ปลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่ต้นทางในแต่ละพื้นที่สามารถทำได้จากผู้นำชุมชนหรือการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ให้แพร่กระจายไปได้มากที่สุด หลังจากมีการปฏิบัติตั้งแต่ต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพแล้วและสามารถนำส่งสู่ปลายทางได้อย่างมีระบบต้องมีการจัดเก็บเรื่องของข้อมูลของทุกการจัดการที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่เพื่อในระดับประเทศ ระดับชุมชน สามารถมีแผนงานในการพัฒนาได้ชัดเจนเพื่อให้เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรม ไม่ได้เป็นแค่เรื่องตนเองอีกต่อไปแต่สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นเรื่องของทุกคนที่อยู่ในสังคมต้องช่วยเหลือกันจากการเลือกที่จะใช้ชีวิต

แหล่งที่มาของข้อมูล

  1. (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (2563–2565) ของกรมควบคุมมลพิษ
  2. การประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนในประเทศไทย, สำนักประสานงานชุดโครงการเมืองยั่งยืน ฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

เกี่ยวกับผู้เขียน

ศศิน ถวิลประวัติ หรือพี่โตน เป็น Chief Operating Officer (COO) ที่ เก็บสะอาด พื้นฐานเป็นสถาปนิกเชี่ยวชาญด้านการออกแบบผังเมือง แต่มีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาขยะในประเทศมากกว่าเลยนำแนวคิดแบบ Macro View ที่ใช้กับการออกแบบผังเมืองมาประยุกต์หาวิธีการแก้ปัญหาขยะให้กับบริษัทในประเทศ

--

--

GEPP Think Tank
GEPP SA-ARD

GEPP team members who have some thoughts to share on waste management because we believe we all can do better!