เราคำนวณผลกระทบจากข้อมูลได้อย่างไร

Suthat Ronglong
GetStray
Published in
1 min readJan 5, 2019

เราคำนวณผลกระทบจากข้อมูลได้อย่างไร?

คำตอบเบื้องต้น คือ เราใช้กระบวนการที่เรียกว่า การสร้างคุณค่าของข้อมูล โดยอาศัยแหล่งข้อมูลมนุษย์ (จำนวนหนึ่ง) หรือ Crowdsourcing

แล้ว Crowdsourcing คืออะไร?

ในสมัยก่อน คนไทยเราเคยพูดกันว่า “คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย สามคนกลับมาได้ …” อะไรประมาณนี้ หรือในสำนวนภาษาฝรั่งเขาก็มี “two heads are better than one” หรือ “many hands make light work”

เราลองเชื่อมโยงประเด็นของมันกับคำว่า Crowdsourcing ก็น่าจะได้เหมือนกันนะครับ นั่นคือ ยิ่งมีคนมากๆ มาทำอะไรในสิ่งเดียวกัน ยิ่งทำให้สิ่งนั้นเข้มแข็งและมีความน่าเชื่อถือ ยกตัวอย่างเช่น

Wikipedia.com อนุญาตให้ผู้คนทั่วโลกเข้ามาช่วยมะรุมมะตุ้มแก้ไขบทความข้อมูลต่างๆ ได้ เพื่อบันทึกไว้เป็นสาราณุกรมของทุกอย่างบนโลกที่มีการอัพเดทให้ทันสมัยตลอดเวลา นี่คือ Crowdsourcing

Change.org อนุญาตให้ผู้คนทั่วโลกสามารถตั้งแคมเปญเรียกร้องให้เกิดการสนใจหรือแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะรัฐบาล ซึ่งอาศัยจำนวนการร่วมมาลงชื่อของคนที่เห็นด้วยในเรื่องเดียวกันจำนวนหนึ่ง (เช่น 50,000 รายชื่อ) ระบบจะทำการส่งรายงานไปยังผู้เกี่ยวข้อง เสมือนเป็นกระบอกเสียงแทนผู้คนจำนวนนั้นต่อผู้มีอำนาจ นี่คือ Crowdsourcing ภายใต้รูปแบบ Crowd-Voting

Kickstarter.com อนุญาตให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรม เปิดไอเดียตัวเองและขอรับการระดมทุนจากผู้คนทั้งโลกที่อยากได้ อยากใช้ อยากส่งเสริมไอเดียผู้ผลิตหรือแม้แต่ขอให้ทำขึ้นจริง โดยจะระดมเงินทุนให้กับเจ้าของไอเดียคนละนิดคนละหน่อยตามกำลัง (หรือตาม Package ที่เจ้าของไอเดียทำไว้ให้เลือก) สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาแก้ไขปัญหาในชีวิตมนุษย์มากมาย เป็นคุณค่าและเป็นมูลค่ามหาศาล นี่คือ Crowdsourcing ภายใต้รูปแบบ Crowd-Funding

เราใช้หลักการ Crowdsourcing และ Crowd-Voting ในการระดมข้อมูล (ภาพ พิกัด และข้อมูลอื่นๆ ที่มีนัยยะสำคัญ) ของสุนัขจรจัด โดยอาศัยเทคโนโนโลยีสมาร์ทโฟนจากผู้คนมาเป็นเครื่องมือหลัก โดยการพัฒนาแพลตฟอร์มตัวกลางขึ้นมาในนาม GetStray นั่นเอง

GetStray นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้จากระบบปัญญาประดิษฐ์และข้อมูลรายงานจากทีมวิจัย มาเข้าสู่การพัฒนาโมเดล Crowdsourcing ตามมาตรฐานที่ใช้งานกันในระดับสากล กล่าวคือ มีการนำข้อมูลจากความร่วมมือของผู้คนที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งผ่านการวิเคราะห์แล้ว มาประเมินผลกระทบ ประเมินความน่าเชื่อถือ และนำเสนอในรูปแบบที่มีคุณค่าต่อการนำไปสร้างผลกระทบเชิงบวกในการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัด ตามบริบทพื้นที่หรือข้อเท็จจริงของข้อมูล

ในทางปฏิบัติ GetStray จะออกรายงานเปิดผนึก (จดหมายเปิดผนึก) ส่งถึงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยมีการคิด ออกแบบ และจัดสรรรายชื่อผู้เกี่ยวข้องไว้ล่วงหน้าแล้ว (โมเดลนี้เรียกว่า Level of Involvement) เพื่อสร้างความตระหนักต่อปัญหาโดยที่มีข้อมูลเป็นตัวอ้างอิงอย่างแท้จริง

--

--

Suthat Ronglong
GetStray

Founder & Innovator of DO IN THAI Company Limited