ทฤษฎีสี สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในงาน Design ❤️ 🧡 💛 💚 💙 💜 🖤 🤍

Walaiphan J.
Gofive
Published in
2 min readOct 12, 2021

เคยสงสัยไหมคะ เวลาเราจะดีไซน์งาน แมทซ์สีเสื้อผ้า หรือจะทำสไลด์พรีเซ้นท์ บางครั้งทำเท่าไหร่ก็ไม่สวยซักที เรามีทริคง่ายๆในการเลือกใช้สีในงานมาฝากทุกคนกันค่ะ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักวงจรสีก่อน

เราคงจำกันได้ใช่ไหมคะว่าสีทุกสีเกิดจาก สีหลัก (Primary Colors) ซึ่งนั่นก็คือสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน เกิดการผสมกันจนเกิดสีที่สอง (Secondary Colors) ขึ้นมา เช่น สีแดง+สีเหลือง=สีส้ม , สีแดง+สีน้ำเงิน = สีม่วง , สีน้ำเงิน + สีเหลือง = สีเขียว และเมื่อนำสีในสีที่สองมาผสมกันอีก เราจะได้สีขั้นที่ 3 (Teritary Colors) ซึ่งจะเป็นสีที่เพิ่มขึ้นมาอีก เช่น สีเขียวอมเหลือง หรือ สีแดงส้ม โดยเมื่อมาวางรวมกันแล้ว เราจะเรียกสิ่งนี้ว่า วงจรสี (Color Wheel)

นอกจากนี้วงจรสี ยังสามารถแบ่งได้อีกนะ

สีโทนร้อน กับสีโทนเย็น อาจจะฟังคุ้นหู แต่จำได้ไหมว่ามีสีอะไรบ้าง การใช้สีแบ่งตามโทนก็สามารถ สื่อถึงอารมณ์ของงานที่ออกแบบได้ด้วยนะ

สีโทนร้อนจะให้ความรู้สึกมีพลัง ร้อนแรง ความกระตือรือร้น

ในทางกลับกันสีโทนเย็นให้ความรู้สึกสงบ เป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังให้ความสบายตา

ในส่วนของสีเหลืองและสีม่วงนั้นเป็นสีค่ากลาง รวมถึงสีขาวและสีดำที่สามารถนำไปใช้กับได้ทั้งสีทั้ง 2 โทนอีกด้วยค่ะ

ก่อนจะไปถึงขั้นการจับคู่สีเราขอนำเสนออีกซักนิดเกี่ยวกับ Shade, Tint, Tone กันซักหน่อย ❤

เพื่อเป็นการเพิ่มอรรถรสในการใช้สี ทำให้สีที่ดูน้อยนิดเพิ่มมาเป็นเท่าตัว การใช้ Shade,Tint,Tone สามารถทำให้งานของเราดูมีลูกเล่นมากขึ้น

Shade คือการนำเอาสีหลักมาทำการผสมกับสีดำทำให้สีที่ได้นั้นมีค่าเข้มขึ้นตามอัตราส่วนที่ผสมลงไป

Tint คือการนำสีหลักมาผสมด้วยสีขาว ทำให้สีที่ได้มีความสว่างขึ้น

Tone คือการนำสีหลักมาผสมกับสีเทา ทำให้ได้สีที่ดรอปลงเล็กน้อย

ที่นี้คุณผู้ชายก็ไม่ต้องเถียงกับคุณผู้หญิงทุกท่านแล้วนะคะว่าทำไมจะต้องมีลิปสติกหลายแท่ง เพราะสีมันไม่เหมือนกันนิดเดียวก็คือไม่เหมือนกันค่ะ 💋

และมาถึงส่วนสำคัญของเราในวันนี้ จับคู่สียังไงให้น่าสนใจ

โดยปกติแล้ว เวลาการจับคู่สีไม่ควรจะเกิน 3–4 สี และเราสามารถจับคู่สีได้ง่ายๆหลักประมาณ 6 แบบค่ะ

แบบที่ 1 คือ Monochomatic คือการนำสีหลักมาทำการเพิ่ม Shade, Tint, Tone และ การเพิ่มความอิ่มสี (Saturation) เพื่อได้ได้สีที่หลากหลายมากขึ้น เป็นการแมทซ์สีที่รับประกันเลยว่า ให้ตายยังไงงานคุณก็สวยปลอดภัย 100%

แบบที่ 2 Analogous เป็นการนำสีที่ติดกันสามสีในวงจรสีมาใช้ โดยอาจใช้การแบ่งสีโทนร้อน และโทนเย็นขึ้นมาช่วย และใช้หลักการ 3 ข้อ (Shade, Tint, Tone) เพื่อเพิ่มความน่าสนใจของสีได้

แบบที่ 3 Complimentary หรือสีคู่ตรงข้าม เราจะสังเกตได้ว่าสีในวงจรสีจะมีสีที่อยู่ตรงข้ามกันเสมอ นั่นแหละค่ะ สีที่เราสามารถนำมาจับคู่เพื่อให้เกิดความน่าสนใจได้แบบแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น เทศกาลคริสต์มาส เราก็จะเห็นการจับคู่สีเป็นสีเขียวและสีแดงที่นำมาเป็นธีมที่ใช้ นั่นแหละค่ะสีคู่ตรงข้าม

แบบที่ 4 Split complimentary จากแบบที่ 3 เราจะเห็นได้ว่าเราใช้สีคู่ตรงข้ามพอดีเลย แต่ทีนี้เราจะใช้สีข้างๆของสีคู่ตรงข้าม เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการใช้สีขึ้น

แบบที่ 5 Triadic เป็นการใช้สี โดยการใช้สามเหลี่ยมด้านเท่าในการหมุนหาคู่สีที่นำมาใช้รวมกัน

และสุดท้าย แบบที่ 6 Tetradic เป็นการ combination ของการใช้สีแบบ Complementary โดยจะใช้คู่สีตรงข้าม 2 คู่ อย่างไรก็ตามการใช้สีแบบที่ 6 นี้ ควรมีสีหลักที่ใช้เปอร์เซ็นต์สีมากสุด และอีก 3 สีเป็นสีเพื่อเป็นการตกแต่ง ไม่งั้นจะทำให้งานรู้สึกสะเปะสะปะค่ะ

และจากทุกข้อที่กล่าวมาเราสามารถใช้ Shade, Tone, Tint เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้งานของเราได้ค่ะ

อย่างไรก็ตามเราควรพึ่งระวังในการใช้สีกับข้อความซักนิดดด ถึงจะเป็นหลักการใช้ แต่สำหรับสไลด์พรีเซ้นท์แล้ว เราก็ควรจะทำให้อ่านได้ง่ายและสบายตาด้วยนะ

Series สีของเรายังไม่จบเพียงเท่านี้ ในคราวหน้าจะเรื่องเล่าเกี่ยวกับสีและการ Design แบบไหน รอติดตามกันไว้ได้เลยนะคะ

🖤 See ya 🖤

--

--

Walaiphan J.
Gofive
Writer for

Hello 🖤👾🖤 | Graphic Designer l UX/UI Designer | Music | Cosplay | illustration | 1998