AlphaGo Documentary Reaction
คืนนึงระหว่างที่ผมได้อ่านหนังสือ เพราะฉะนั้น ฉันจึงถาม ของหนุ่มเมืองจันทร์ มีอยู่บทนึงได้พูดถึงเรื่องของ AlphaGo แล้วก็ได้พูดถึงหนัง AlphaGo Documentary ของ Netflix เลยทำให้เกิดความสนใจอยากจะไปดูหนังบ้าง จริงๆแล้วก็ติดตามอ่านข่าวอยู่ตลอดอยู่แล้ว นึกอยู่ในใจก็รู้ผลอยู่แล้วนะ แต่ก็เผื่อว่าได้เห็นมุมมองอะไรใหม่ๆจากหนังเรื่องนี้
ยิ่งหลังๆได้อ่านบทความที่พูดถึงเรื่อง AI ที่เล่นเกม Starcraft ก็ดี หรือล่าสุดที่นำมาเล่นเกม Hide and seek นั้นยิ่งเห็นถึงความอลังว่าความล้ำของ AI ว่าสามารถไปได้ขนาดไหนแล้ว หากยังไม่ได้เห็นก็แนะนำลองดูวิดีโอนี้ได้ครับ เป็นอะไรที่เทพมาก ผมมองว่าตรงนี้แหละครับที่ AI ได้เปรียบทั้งในเรื่องของเวลา การฝึกฝน การสะสมประสบการณ์ และการคำนวณที่ทำได้อย่างแม่นยำ ซึ่งมีมากกว่าคนเลยทั้งสิ้น
กลับมาที่หนัง AlphaGo บ้าง เอาจริงๆแล้วผมเล่น Go ไม่เป็นครับ เคยลองจะเล่นอยู่แต่ก็เหมือนพับโครงการไปซะงั้น หนังทำออกมาได้ดีครับ แม้ว่าเล่น Go ไม่เป็นก็สามารถเข้าใจและติดตามได้ง่าย ผมไม่ได้รู้สึกน่าเบื่อหรืองงงวยอะไร แถมได้ความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของ Go มากขึ้นไปอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นยังให้เราได้เข้าถึงว่าจริงๆแล้วตัวเกม Go เองก็ช่วยให้ผู้เล่นสะท้อนอะไรบางอย่างในตัวเขา เหมือนเขาได้เห็นและเข้าใจตัวเขาเองมากยิ่งขึ้น มันเป็นอะไรที่ลึกซึ้งมาก และสะท้อนอะไรบางอย่างออกมาว่าจริงๆแล้วทุกคนล้วนแต่อยู่ในเส้นทางที่เรากำลังพยายามเข้าใจอะไรบางอย่างในตัวเรา อาจจะเป็นการเข้าใจความหมายในชีวิตเรามากขึ้นก็ได้ครับ
ผมชอบหนังเรื่องนี้ที่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกออกมาได้ดีครับ มันน่าแปลกที่ส่วนตัวผมกลับไม่ได้รู้สึกดีใจสักเท่าไรเลยด้วยซ้ำที่ AlphaGo ชนะ ผมชอบ moment ที่ Sedol Lee แสดงอาการต่างๆออกมาระหว่างเล่นกับ AlphaGo มันเห็นถึงความเป็นมนุษย์ครับ โดยเฉพาะ moment ที่เขาเหลือบตาจากบอร์ดขึ้นมามองคู่แข่งเขา มันเป็น common sense movement ที่เราต้องการจะเชื่อมต่ออีกคนที่เป็นมนุษย์ด้วยกันเพื่อสัมผัสและเข้าถึงอะไรบางอย่างของเขาคนนั้น อย่างน้อยๆก็รับรู้ถึงคลื่นพลังงานอะไรบางอย่างที่เป็นสัญชาตญาณของเขา แต่ในเคสนี้มันไม่มีประโยชน์ครับ มันไม่มีอะไรแบบนั้น
AlphaGo สอนเราครับว่าบางทีแม้แต่สิ่งที่ทุกคนคิดว่ามัน bad move มันอาจจะไม่ใช่ bad move จริงๆก็ได้ หนังสะท้อนให้เห็นว่าแม้แต่เซียนเองก็อาจจะคิดอย่างนั้นตอนแรก จนกระทั้งหลังจากที่ได้เดินหน้าที่ดูเหมือน “bad move” ไปแล้วอีก 2–3 ตาข้างหน้าก็อาจจะเริ่มเข้าใจว่าบางที bad move ที่เห็นอาจเป็น best move เลยก็ได้ นั้นแหละครับที่ทึ่ง และมันสะท้อนให้เห็นในชีวิตจริงเหมือนกัน จริงๆแล้วใครจะรู้ว่าอะไรมันคือ “bad” ณ ตอนนั้นจริงๆ แม้แต่ตัวเราเองเพราะ “bad move” ที่เกิดขึ้น อาจจะกลายเป็น “best move ever” เลยก็ว่าได้
AlphaGo ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของ “small wins” ว่าบางทีการชนะมันไม่จำเป็นที่จะต้องเดินหน้าไปยัง move ที่ให้คะแนนได้เยอะที่สุด แต่ในเมื่อบางทีแค่ 1 แต้มก็ชนะแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วเรา focus ที่ small wins อย่างต่อเนื่องนั้นอาจสามารถทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ ก็เป็นข้อคิดนึงที่ AlphaGo สอนเราทุกคนอีกครั้ง
ใช่ครับที่ Gofive เองนั้นเราก็ศึกษาอยู่ในการทำ AI เข้ามา Empower ระบบของเราอย่าง Venio เพื่อช่วยให้ลูกค้าของเรามีตัวช่วยให้เขาในการวางแผนและตัดสินใจได้อย่างดียิ่งขึ้น ปฏิเสธไม่ได้หรอกครับ เพราะว่ามันคืออะไรที่ทรงพลังมาก หากสามารถ Implement ได้อย่างลงตัว ซึ่งจุดนี้แหละครับเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญมาก เพราะเราต้องการให้ลูกค้าเห็น value และได้ประโยชน์จากมันอย่างแท้จริง
สุดท้ายนี้ ผมยังเชื่อในตัวคนครับ ผมเชื่อในสิ่งที่มากกว่าที่อยู่ตรงหน้าเพียงแต่ร่างกายแต่อะไรที่เหนือไปกว่านั้นถึง soul ของตัวคนเอง สัญชาตญาณก็เป็นอะไรที่ทรงพลังมาก Sedol Lee ได้ตัดสินใจเดิน move เด็ดเลยก็ว่าได้ที่ AlphaGo นั้นประเมินว่าปกติคนจะเลือก move แบบนี้เพียงแต่ 0.0007% เท่านั้น นั้นคือ genius insight ที่แวบออกมาเลยก็ว่าได้ แต่กลับ Sedol Lee นั้นเขาเพียงบอกว่าเขาแค่รู้สึกว่านี่แหละ the only move ที่เขาต้องทำ ณ ตอนนั้นเลย มันน่าทึ่งใช่ไหมละครับ