Design Thinking

Vicky
HUBBA THAILAND
Published in
2 min readNov 22, 2017

ในช่วงหลายปีมานี้ Design Thinking จัดว่าศาสตร์วิชาที่กำลังเป็นที่จับตามองวิชาหนึ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งหลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบว่า Design Thinking คืออะไร วันนี้เราจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้ค่ะ

Design Thinking คือ “การคิดในเชิงของการออกแบบ” ซึ่งดูจากคำนิยามนี้อาจจะคิดว่าจะต้องทำโดยนักออกแบบ แต่อันที่จริงแล้วนั้นไม่ใช่การออกแบบอย่างที่หลายๆคนอาจจะเข้าใจกันผิด แต่เป็นการนำกระบวนการคิดโดยให้ความสำคัญต่อบุคคล และการนำเครื่องมือต่างๆมาใช้อย่างเหมาะสม เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้นมา โดยไม่จำเป็นจะต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆเท่านั้น แต่สามารถนำหลักการของ Design Thinking มาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อพัฒนาในเชิงธุรกิจ หรือ การให้บริการก็ได้เช่นกัน เรามาดูกันว่า Design Thinking สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรกันบ้าง

หลักการของ Design Thinking

อ้างอิงจาก แนวความคิดของ Stanford Design School (Institute of Design at Stanford) จะแบ่งขั้นตอนออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

credit: https://infocus.emc.com/william_schmarzo/design-thinking-innovation/

  1. Empathize คือการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากการแก้ไขปัญหา หรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา เราจำเป็นจะต้องระบุกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น ก่อนที่จะแก้ไขปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งใด เราจะต้องเข้าใจถึงกลุ่มเป้าหมายให้ดีก่อน ซึ่งอาจทำได้โดย การสัมภาษณ์ การสังเกต หรือ การจำลองสถานการณ์ เพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย
  2. Define คือการกำหนดว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น จากการที่เราทำการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายคืออะไร หรือเรียกอีกอย่างว่า Point of View ซึ่งหากเรากำหนดได้อย่างชัดเจนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร (Problem Statement) จะทำให้เราทำงานในขั้นตอนต่อไปได้ง่ายขึ้น
  3. Ideate คือ การสร้างความคิดต่างๆ โดยมุ่งเน้นไปในแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้มาก และหลากหลายที่สุด ซึ่งความมคิดที่สร้างคืนจะต้องสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เรากำหนด ขึ้นในขั้นตอน Define ซึ่งในขั้นตอนนี้ หากร่วมกันสร้างความคิด แนะนำว่าอย่าเพิ่งวิจารณ์ความคิดของของอื่น เพราะจะทำให้เกิดการปิดกั้นความคิดต่างๆที่อาจจะเป็นประโยชน์ซึ่งอาจนำมาพัฒนาได้ในภายหลัง
  4. Prototype คือการทำแบบจำลอง เนื่องจากความคิด ในขั้นที่ Ideate อาจจะไม่สามารถ ทำให้ผู้อื่นเห็นภาพตามที่เราคิดขึ้นมาได้ เราจึงต้องสร้างแบบจำลองขึ้นมาเพื่อให้สามารถ สัมผัสได้ถึงสิ่งที่ความคิดเราต้องการนำเสนอ โดยการสร้างแบบจำลองนั้นไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นเป็นวัตถุก็ได้ แต่อาจจะจำลอง สถานการณ์ หรือการบริการ ให้เกิดประสบการณ์ ได้เสมือนจริง (Experience)
  5. Test คือการทดสอบ โดยการนำแบบจำลองที่สร้างขึ้น นำไปทดสอบกับผู้ใช้หรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรับ Feedback มา และนำมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุง

แนวคิด 5 ขั้นตอนของ Design Thinking ของ Stanford Design School นั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียงลำดับตามนี้ทุกครั้ง เช่น พอเราทำถึงขั้น Test แล้วพบว่าสิ่งที่เราทำมาไม่ตอบโจทย์ของการแก้ปัญหาได้จริง เราก็อาจจะต้องย้อนกลับไปในขั้น Define หรือ Ideate อีกครั้ง และในบางครั้งอาจจะต้องเริ่มใหม่ทั้งหมดก็ได้ โดยหลักสำคัญของ Design Thinking นั้น มุ่งเน้นไปที่เน้น Human-Centered Approach ซึ่งคือการเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดกับกลุ่มเป้าหมาย

จาก 5 ขั้นตอนนี้ เราสามารถจำแนกออกเป็น 3 หมวดง่ายๆดังนี้

credit: http://designthinking.co.nz/design-thinking-in-a-day/

  1. Understand (ขั้นของการทำ Empathize และ Define) เนื่องจากเราจำเป็นต้องเข้าใจ รับรู้ปัญหา สถานการณ์ต่างๆ ของกลุ่มเป้าหมายของเรา เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และตีความ และนำมาใช้ในการคิดแก้ปัญหาต่อไป
  2. Create (Ideate) คือการสร้างไอเดีย เพื่อมุ่งแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย ที่เราได้รับรู้มา
  3. Deliver (ขั้นของการทำ Prototype และ Test)เพื่อสร้างต้นแบบของการแก้ไขปัญหา และปรับปรุง เพื่อนำไปสู่การเกิดนวัตกรรม นำไปใช้ได้จริง

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อ ผู้ที่ต้องการพัฒนาธุรกิจ ได้นำไปทดลองใช้ และประสบความสำเร็จในการเอาชนะปัญหานะคะ หากสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้าง Brand Experience ด้วย Design Thinking สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/2mHwIuE นะคะ

Blog owner: HUBBA Academy

#HUBBAAcademy #LearnReal #DesignThinking

--

--