ทำ Pitching Deck อย่างไรดี ?
วันนี้มาร่วมตอบคำถามใน Information session ของ dtac Accelerate batch5 ที่พึ่งเปิดรับสมัครไป
คำถามที่น่าสนใจคือ
“ควรทำ Pitch Deck อย่างไร” เพราะกฏกติกาคือ ให้ทำ 10–15 แผ่นเท่านั้น
ผมขอแนะนำ Framework จากหนังสือเรื่อง The Art of The Startup ของพี่ Guy Kawasaki ในบท The Art of Pitching ได้แนะนำการทำ pitch deck แบบ 10 slides โดยเขาให้เหตุผลว่าตัวเลข 10 slides จะทำให้เราพอจะย่อยเหลือเฉพาะสิ่งสำคัญที่จะนำเสนอ อาจแพล่มเพิ่มได้นิดหน่อย แต่ไม่ควรเกิน 15
มาดูว่า “ 10 Slides “ ของ Guy Kawasaki แบ่งเป็นหัวข้อย่างไรบ้าง
1.[Title]
- เป็นแผ่นเปิดตัว มีชื่อบริษัท, ชื่อเรา ตำแหน่งในบริษัท ควรเป็นสไลด์ที่คนดูเห็นแล้ว พอเข้าใจโทนเรื่องราวทั้งหมดที่บริษัทเรา
2.[Problem and Opportunity]
- ระบุปัญหาที่เราอยากจะแก้ว่า มันสำคัญมันยิ่งใหญ่อย่างไรอันนี้ผมเชื่อว่าปัญหาที่เราอยากจะทำมันต้องยิ่งใหญ่สำหรับเราอยู่แล้ว แต่ถ้าบางทีผู้ฟังเขาอาจจะไม่เข้าใจในบริบท หรือ ไม่เข้าใจอุตสาหกรรมนั้นๆ เราต้องสามารถอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆว่ามันสำคัญอย่างไร
3.[Value preposition]
- อธิบายว่าสิ่งที่เราทำ มันไปแก้ไขได้อย่างไร เรานำเสนอแนวทางการแก้ไขแบบใด
4.[Underlying magic]
-อันนี้มันคือการบอกว่าเรา “เจ๋ง และ แตกต่าง” อย่างไร มันคือสิ่งที่รู้สึกว่า “ว้าว” อาจเป็น technology ขั้นสูง, เทคนิคลึกลับบางอย่าง
ผมชอบคำจำกัดความที่ Guy บอกว่า “ Magic Behide your product “ โดยรวมๆผมว่ามันคือ Innovation ที่เราใส่เข้าไปใน Solution ของเรานี่แหละครับ
-ถ้ามี Prototype ที่เคย test แล้วก็ควรนำเสนอออกมาให้เห็นภาพเพราะ
1 Picture = 1,000 words
1 Prototype = 10,000 slides
5.[Business model]
-อธิบายว่าธรุกิจนี้สร้างรายได้อย่างไร ใครเป็นผู้จ่าย รูปแบบการคิดเงิน ถ้าโมเดลของเราซับซ้อน ก็ต้องพยายามย่อยให้ง่ายที่สุด
ถ้ามีองค์กร หรือ ใครใช้ Solution ของเราแล้วก็อาจจะโชว์ได้ใน slide นี้
6.[Go to market plan]
- บอกว่าเราจะหาลูกค้าอย่างไร มีแผนการที่ชัดเจนว่าลูกค้าจะรู้จักเรา และใช้บริการเราได้อย่างไร
คำเตือนคือ ไม่ควรใช้คำว่า “Go viral” เพราะมันเป็นการ “ลุ้น” มากกว่า “แผนการ”
7.[Competitive Analysis]
-วิเคราะห์ให้เห็นว่ามีใครเป็นคู่แข่งบ้าง เพื่อให้รู้ว่าเราเข้าใจตลาดขนาดไหน พยายามบอกจุดดีที่แตกต่างของเรา ไม่ใช่ไปบอกว่าของคนอื่นไม่ดีอย่างไร
-หลายคนอาจบอกว่า ของฉันเป็นของใหม่ในตลาด ไม่มีใครเคยทำแบบเรา เลยไม่มีคู่แข่ง อันนี้ผมเสนอว่ามันอาจจะไม่ได้หมายถึงคู่แข่งที่เหมือนกับเราอย่างเดียว แต่จริงๆ มันคือ ณ ปัญหา ที่เราได้กล่าวไว้นั้น ผู้ใช้บริการเขาใช้ solution อะไรอยู่ในการแก้ไขปัญหานั้นๆ ผมยกตัวอย่างเช่น คู่แข่งของ สำนักพิมพ์ อาจจะไม่ใช่ สำนักพิมพ์อีกยี่ห้อ แต่คือ Social media เพราะ คนต้องการเรียนรู้ หรือ หากิจกรรมฆ่าเวลา ซึ่งการแก้ปัญหานี้คือการเปิด Facebook เสพ content แทนการซื้อหนังสือ ก็เป็นได้
8.[Management team]
-ทีมหลักเรามีใครบ้าง ทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้ฟังรู้สึกว่า มันต้องเป้นทีมพวกเรานี่แหละที่จะแก้ปัญหานี้ได้ มีที่ปรึกษาใดๆ (ที่อาจเกี่ยวข้อง และ เขาเป็นที่ปรึกษาเราจริงๆก็ใส่เข้ามาได้) แต่พยายามใส่รายละเอียดที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะแก้ ถ้าเรายังหาสมาชิกไม่ครบ ( เพราะมันไม่มีทางได้ perfect ทีมอยู่แล้วตั้งแต่ช่วงแรกๆ) เราก็แค่บอกว่า เราคิดว่าเรายังขาดใคร ตำแหน่งไหน และจะหามายังไงในอนาคต
9.[Financial Projection and Key metric ]
-ในหนังสือบอกว่าทำ Projection ไป 3–4 ปี ( แต่ผมว่ามันน่าจะไม่ตรงอยู่แล้น )
- ควรทำการประมาณจาก Bottom up ขึ้นไป ไม่ควร Top down เช่น ตลาดน้ำอัดลมจีนใหญ่มาก 100 Billion US เราต้องการแค่ 1% ก็จะ 1 Billion US อะไรแบบนี้
- สิ่งที่สำคัญกว่าตัวเลขคือ สมมุติฐานในการคิดขึ้นมา ว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร
10.[Current status, Accomplishments to date, Timeline, and use of funds ]
-บอก Status ว่าของทีมเราตอนนี้เป็นอย่างไร ถ้ามี Traction ก็ต้องงัดมาโชว์กันตรงนี้
-เป้าหมายระยะสั้น กำลังจะทำอะไร
-หรือถ้ากำลัง Raise fund ก็บอกว่าไปว่าจะเอาเงินไปทำอะไร
จริงๆคงไม่ได้มีสูตรตายตัวว่าต้องเป็นประมาณนี้นะครับ แต่ถ้าใครยังไม่มีไอเดีย ก็ลอง Follow ตามนี้ไปก่อนได้นะครับ แล้วค่อยขยับๆปรับแต่งเอา
.
สำหรับความสวยงามผมเอง คิดว่ามีผลเหมือนกันนะครับ คล้ายๆคนเขียนลายมือสวยอ่านง่าย เราก็ให้ภาษีดีกว่าอยู่แล้ว สำหรับทีม Health at Home เรามีพี่รัฐ Rath Panyowat เป็น ultimate weapon ในการนี้
แต่ Pitch Deck ก็เป็นแค่ส่วนเสี้ยวเดียวเท่านั้นของการทำ Startup คนที่ยังอยู่ใน Idea stage ก็เหนื่อยหน่อยเพราะต้องเล่าเยอะ ต้องโม้เยอะ แต่ถ้ามีของมี Product แล้ว ก็อาจไม่ต้องเล่าเยอะ ก็โชว์ Traction โชว์ Testimonial โลดครับ เพราะสุดท้ายแล้ว Startup มันจะไปได้ไม่ได้ มันก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรรมการ หรือ นักลงทุน แต่ขึ้นอยู่กับว่า เราสร้างของที่มีคนต้องการใช้จริงๆหรือเปล่า ?
.
สุดท้ายขอให้ทุกท่านโชคดี และใครมีไอเดีย ผมว่าลองสมัคร Batch5 โลดครับ http://accelerate.dtac.co.th/en
#ถ้าสมัครคุณอาจได้หรือไม่ได้ แต่ถ้าไม่สมัครโอกาสเท่ากับ0% #อาจารย์บีมได้กล่าวไว้
เกี่ยวกับผู้เขียน
นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ (ตั้ม)
อายุรแพทย์
ผุ้ร่วมก่อตั้ง Health at home บริการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่บ้าน
Dtac accelerate Batch 4 alumni