10 เดือนของการฝึกงาน ประสบการณ์ที่Health at Home

Chonticha S.
Human Of Health At Home
3 min readMar 11, 2022

Writed by Mo S. Chonticha

สวัสดีฮะคูมผู้อ่านทุกท่าน ชื่อ โม นะคะ Blog นี้ก็จะมาเล่าประสบการณ์ในการฝึกงานให้ทุกคนอ่านกันค่ะ หลังจากเข้าร่วมโครงการ Founder Apprentice จัดโดย NIA ต้องมีการฝึกงานตาม Timeline ของโครงการ+กับฝึกงานของวิทยาลัย จนผ่านการสัมภาษณ์จาก Health at home มาทำงานในตำแหน่ง VDO Editor เป็นระยะเวลา 10 เดือน อ่านไม่ผิดค่ะ 10 เดือน ที่มันดูยาวนานแปลก ๆเพราะเป็นหลักสูตรที่เลือกเรียนไว้นั่นคือหลักสูตรทวิภาคีที่เน้นการทำงานมากกว่าการเรียน ให้ตัวนักศึกษาไปลองหาประสบการณ์ที่ในสถานศึกษาไม่สามารถสอนได้ เอาล่ะเราเกริ่นยาวเกินไปแล้ว งั้นขอแชร์ประสบการณ์เลยแล้วกันนะคะ

ช่วงนึงของการฝึกงาน ไปถ่ายที่ Health at Home Care Center บ่อยม๊ากกก

เริ่มต้น

เราเริ่มฝึกงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 เม.ย 2021 ใจแรกก็กกลัวๆ เพราะเป็นการฝึกงานที่นานมากและกลัวว่าเราจะมีความสามารถมากพอหรือไม่เพราะพี่ ๆ ในบริษัทไม่ทำธรรมดากันเลยแต่ละคนเจ๋งสุดยอด แต่ก็มองในอีกมุมว่าเรามาฝึกงาน คือการหาประสบการณ์จากการลงมือทำงานจริงมากกว่าในตำราเรียน งั้นมาพูดถึงตำแหน่งของเรากัน ตำแหน่งของเราคือ VDO Editor มีหน้าที่นำวิดีโอมาทำเป็นคอนเทนต์ หลายคนคิดว่าตำแหน่งนี้แต่ตัด ๆ ต่อ ๆ วิดีโอออกมาแต่ความเป็นจริงแล้วตำแหน่งนี้ต้องรู้ Detail Framework ของงาน รวมถึง Production ของงานชิ้นนั้น ส่วนตัวเราทำแต่งานของอาจารย์ตามรายวิชาเล็ก ๆ น้อย ๆ เลยไม่ได้เก่งเรื่องของ Production มากนัก

แต่ก็พอมีความรู้บ้าง ถึงตำแหน่งเราจะเป็น Editor แต่เราก็ไม่ได้ทำแค่ตัดต่อนะ เราอยู่ในทีม Marketing มีพี่ตั้มและพี่บอม ซึ่งในตอนนั้นมีทีม Marketing มีแพลนที่จะดันงานด้าน YouTube เราเลยมีส่วนร่วมในการคิดคอนเทนต์และส่วนร่วมในการ Brainstorm ในหลาย ๆ งาน เช่นงานชิ้นแรกของโมก็คือ Review Mask อันนี้ไม่ใช่งานตัดแรกเพียงอย่างเดียว ยังเป็นคอนเทนต์แรกที่คิด

ผลงานชิ้นแรกที่เข้ามาทำในตำแหน่ง Editor

นอกจากคิดคอนเทนต์แล้วยังทำหน้าที่ Co-Produce รวมถึงถ่ายทำด้วยส่วน Producer ใหญ่ของเราคือ พี่บอมนั่นเองงง ฮ่าๆๆๆ การทำงานในช่วงแรก ๆ ก็จะเก้ ๆ กัง ๆ หน่อย แต่ก็จะมีพี่ตั้มพี่บอมคอยช่วยเสมอ ถ้าพูดง่าย ๆ ก็เป็นสาย Sup ของทีมเลยก็ว่าได้ และยังมี Content TMRW Creator ที่พี่ตั้มได้เข้าร่วมแข่ง TMRW Creator camp อันนี้เนี่ยตัดไปก็ได้ความรู้ไปฟู ๆ แน่น ๆ เลยล่ะค่ะ

ช่วยพี่หมอตั้ม ตัด Clip จากงาน TMRW Creator

แล้วก็ยังมีคลิปวิธีการออกกำลังกายสำหรับใช้ในการส่งให้สมาชิก Health at work อีกด้วย นอกจากกอง Youtube Content แล้ว ก็มี Challenge อื่น ๆ อีก เช่น กอง FB Live ช่วงแรก ๆ ก็มีคุมแบบ On-Site แต่พอ Covid ก็ต้องถูกเปลี่ยนเป็น Online ช่วงที่เราฝึกเป็นช่วงของ Covid ก็จะเหงา ๆ หน่อย ทำให้เราไม่ค่อยเจอพี่ ๆ คนอื่น ๆ เลย จะเจอแค่พี่ ๆ แค่ช่วงออกกองเพราะตัวเราเองก็ WFH และพี่ ๆ ส่วนใหญ่ก็ WFH เช่นกัน

Behind The Scene

นอกจากที่ถ่ายทำและตัดต่อแล้วบางทีเราก็เป็น Creative ด้วย ถ้างานไหนที่เราควบทั้งถ่ายและคิดงานนั้นจะมันส์มากสำหรับเราเพราะได้ Research ข้อมูลมาใช้ในการถ่ายทำตอนนั้นเราหาข้อมูลเยอะมาก ๆโดยวิธีการ Research ของเราจะใช้ข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง ทั้งข้อมูลจากในไทยและต่างประเทศ เอามา Debate เพื่อหาจุดตรงกลางและหาความเป็นไปได้ ใช้ Keyword ในการหาข้อมูลบน Google Trend (ซึ่งได้รับการแนะนำจากพี่บอมตั้งแต่วันแรกที่ฝึกงาน อิอิ) แน่นอนว่าพอข้อมูลต่าง ๆ มาจากหลายที่มาเวลาเราจะมานำเสนอกับทีมก็จะต้องบอกได้ว่าเราเอาข้อมูลมาจากไหน ไม่เพียงแค่สร้างความมั่นใจให้แก่ตัวเรา แก่ทีม เราต้องมองถึงคนที่จะต้องรับข้อมูลนี้ต่อจากเราด้วย ขนาดตัวเราเองยังไม่อยากสร้างความเข้าใจจากการได้รับข้อมูลผิด ๆ คนดูคงคิดแบบเดียวกับเรา

ใช้ Google Trend ในการลำดับว่าจะทำContentไหนก่อนหลัง หรือ หากระแสความนิยมในช่วงนั้น

Process การทำงาน

การทำงานหลังจากที่ได้ทำการ Research ข้อมูลแล้วก็จะมีลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นจนPublish ก็จะมีประมาณนี้ค่ะ

๐ Research
๐ Meeting เสนอกับทีมว่าข้อมูลเป็นมาอย่างไร นำมา Wrap up อีกที
๐ นัดวันถ่ายทำ แจ้ง Theme ที่จะถ่ายทำ
๐ ถ่ายทำ
๐ ตรวจสอบ Footage และ Meeting แจ้งทีมว่าการทำถ่ายเป็นอย่างไร ใช้เวลาตัดต่อประมาณกี่วัน คาดการณ์ว่าสามารถ On-air ได้เมื่อไหร่
— หากมี Footage เสียหายก็ต้องถ่ายทำใหม่
— หาก Footage สมบูรณ์ ก็ตัดต่อได้เลย
๐ Process ของการตัดต่อ
๐ ส่งงาน Draft แรก รอรับ Feedback ว่าควรปรับตรงไหน
๐ หากแก้ Draft และ Feedback แล้วไม่มีอะไรต้องแก้ไขก็ทำการ Final และ Unlisted ไว้ใน Channel
๐ ทำ Thumbnail
๐ Publish

นี่ก็เป็น Process ต่อ การทำงาน 1 ชิ้น จะเห็นว่าค่อนข้างมีลำดับขั้นตอนที่ค่อนข้างมากในระดับนึง แต่ข้อดีคือจะทำให้การทำงานของเราจะ Flow ขึ้นมาก

ผลงาน

มาถึงพูดถึงผลงานกันบ้างแล้วกันค่ะ (จะเรียกอวดก็ว่าได้ค่ะ5555) เราทำงานมาได้ทั้งหมด 10 เดือน ผลงานน่าจะประมาณ 30 กว่าชิ้นได้ แต่ละงานก็จะมีความยากง่ายต่างกันออกไปจะมีทั้งงานที่กระแสตอบรับที่ดี และก็จะมีผลงานที่เกิดข้อผิดพลาดระหว่าง Process ซึ่งแน่นอนการทำงานมันไม่ได้ราบรื่นเสมอไปก็เป็นการ Learning by doing at the same time

ผลงาน Master Piece ของเราค่ะ มียอดวิวถึง 67K แล้ววววว เย้ ๆๆๆ

ดูภายนอกก็อาจจะ เอ๊ะ ก็ปกติดีไม่มีอะไรนี่ แต่ก็มีชิ้นงานบางชิ้นที่ไม่ได้ On-air เพราะมีความผิดพลาดเช่น คลิปให้อาหารทางสายยางที่จะต้องมีอีก Version นึง แต่…เราลืมย้ายไฟล์ออกจาก Card จากนั้นเราก็ Format ไป TT ยังไม่หมดนะคะยังมีคลิปที่ต้องไปถ่ายใหม่เหมือนกันเพราะไมค์มีปัญหาทำให้เสียงขาดหาย แล้วก็จะมีคลิปอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราไม่สามารถแก้ไขได้ก็มีค่ะ

อย่างคลิปนี้เป็นคลิปที่ต้องถ่ายใหม่ค่ะ เพราะSetแรกที่ถ่ายเสียงขาด ๆ หาย ๆ TT

เป็นยังไงคะการทำงานของเราก็จะมีทั้งหฤหรรษ์และหรรษาปะปนกันก็เป็นสีสันในการทำงานดีค่ะ

Fight with Covid

หลังจากสนุกสนานกับฝึกงานมาเกือบครึ่งทางได้ พระเจ้าก็เล่นตลกกับเราใช่ค่ะ Covid Season นี้ เราไม่ใช่ Survivor กลายเป็น Covid Girl ช่วงนั้นก็ไม่ได้ทำงานไปเกือบเดือน รู้สึกผิดกับงานที่ค้างไว้มาก TT แต่ก็นะทำอะไรไม่ได้ นอกจากรักษาตัวให้หาย แล้วมาฮึดทำงานอีกรอบ

แรกขำ ๆ หลัง ๆ พอติดโควิดปั๊ปขำมะออก TT
แรกขำ ๆ พอติดโควิดปั๊ปขำมะออก TT

ฟ้าหลังฝน(โควิด)

หลังจากผ่านช่วงที่ยากลำบากไปแล้วก็กลับมาสู่สถานการณ์ปกติ เอเนอจี้เปี่ยมไปด้วยความอยากทำงาน ตัดต่องานอย่างบ้าคลั่ง ฮ่าๆ ทำงานอย่างสุดฤทธิ์สุดเดช เวลาก็เลยผ่านไปจนถึงเดือนสุดท้ายของการทำงาน ก็แอบรู้สึกแปลก ๆ โหวง ๆ ที่จะฝึกงานครบพอลองมานึก ๆ ดูแล้ว เราได้บทเรียนหลาย ๆ อย่างจาก Health at home “ไม่ว่าบทเรียนนั้นจะมาจากความสำเร็จหรือจากความผิดพลาดแต่สิ่งสำคัญที่สุดที่เราได้จากการฝึกงานคือการได้ลงมือทำยอมรับข้อติและข้อชมนำมาพัฒนาตัวเองโดยไม่หยุดพัก ต่อให้เราเก่งมากแค่ไหนถ้าเราไม่เปิดใจเราก็จะไปไหนไม่ได้ไกลเท่ากับคนที่ที่เขาไม่หยุดพัฒนาตัวเอง”

สรุป

สุดท้ายนี้อยากขอบคุณพี่ ๆ ทุกคนที่ทำงานร่วมกันมาไม่ว่าจะทำงานโดยตรงหรือทางอ้อมขอบคุณพี่บอมที่เป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยดูแลมาตลอดเกือบ 1 ปี ถึงบางอย่างโมจะสร้างเรื่องให้ปวดหัวบ้าง เช่น ฟุตเทจเสียเอย ฟุตเทจหายเอย แต่พี่ก็ไม่เคยดุโมเลยมีแต่จะบอกว่าไม่เป็นไรแล้วให้เก็บไปเป็นบทเรียนและคนที่ต้องขอบคุณมากที่สุดคือพี่ตั้ม ถ้าในวันที่สัมภาษณ์งานพี่ตั้มไม่เลือกโม โมคงไม่เจอมิตรภาพดี ๆ ที่ได้จาก Health at home และมากไปกว่าทุกสิ่งคือโอกาสที่ได้ประสบการณ์ในการเรียนรู้ ขอบคุณที่ทำให้ระยะเวลา 10 เดือนของโมเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่านะคะ :)

ภาพหายากทีม Marketing Ver.WFH Edition เพราะไม่ได้ถ่ายกันตอนเจอหน้าเลย ซึ่งอันนี้ก็ไปขโมยพี่บอมมาเช่นกัน555555

--

--