ทำระบบ login บน Laravel 6.0 ด้วย Authentication Quickstart

Noppadol Lanngain
I GEAR GEEK
Published in
3 min readDec 19, 2019

ในปัจจุบัน Laravel Framework ได้ถูกพัฒนาไปถึง version 6.0 แล้ว สำหรับตัว version 6.0 นั้นมีความแตกต่างกับตัว version 5.x บ้างพอสมควรตัวอย่างเช่น ระบบ login แบบ Quickstart และวันนี้เราจะมาทำกันครับ หาข้อมูลเพิ่มได้ที่ Docs นี้เลย https://laravel.com/

Laravel Framework คือ ?

“ ก่อนอื่นย่อหน้านี้สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก Laravel Framework ว่ามันคืออะไรกัน ”
Laravel Framework เป็น PHP Framework ที่พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดการทำงานแบบ MVC (Model View Controller) เพื่อพัฒนาเว็บในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชั่นโดยผู้พัฒนาคือ Taylor Otwell ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ MIT และ Source Code ได้ถูกเก็บไว้บน Host ของ Github

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นด้วย Laravel Framework

เตรียมความสามารถขั้นพื้นฐาน ( พอเข้าใจ )

  • PHP
  • HTML
  • CSS
  • Javascript ( สำหรับพัฒนาร่วม Vue Framework )

สิ่งที่ต้องเตรียมเพื่อใช้งาน Laravel Framework ( localhost )

จากนั้นเรามาเริ่มทำ ระบบ Login บน Laravel 6.0 กันครับ อ้างอิงตาม Docs นี้เลยครับ Authentication Quickstart

ก่อนอื่น init project กันก่อนครับ

composer create-project --prefer-dist laravel/laravel my-project

เข้าไปใน file ที่สร้างพิมพ์คำสั่งนี้เพื่อตรวจสอบว่าสามารถทำงานได้

php artisan serve

ลักษณะนี้สามารถใช้งานได้ครับ ตัว code จะทำงานบน localhost port 8000

ไปต่อสำหรับส่วนที่สำคัญกันเลยครับ สำหรับ version 6.0 นั้นเราต้องติดต้อง laravel/ui เพื่อที่จะสามารถใช้งาน Authentication Quickstart ได้

ติดตั้งกันเลยครับ

composer require laravel/ui --dev

จากนั้นเราใช้คำสั่งนี้ครับ เพื่อสร้างระบบ login

php artisan ui vue --auth

จากที่ผลลัพธ์ให้เราสั่ง

Please run “npm install && npm run dev” to compile your fresh scaffolding.

ให้เราใช้คำสั่งนั้นได้เลยครับ เพราะ version 6.0 พยายามที่จะให้เราใช้งานร่วมกับ Vue Framework ที่เป็น Framework ฝั่ง javascript

npm install && npm run dev

Compiled successfully เเสดงว่าสมารถใช้งานได้ครับ

จากนั้นทำการสั่งนี้อีกครั้งเพื่อดูผลลัพธ์กัน

php artisan serve

ผลลัพธ์ของเราจะเป็นแบบนี้ครับ

จากนั้นทำการเชื่อมต่อ Database อันนี้จะเหมือนกับ version 5 เลยครับ

จากนั้นสั่ง migrate database ซัก 1 ที

php artisan migrate

เท่านี้เราก็สามารถใช้งานแบบ Quickstart ได้เเล้วครับ

สรุปผลการใช้งาน

ถ้าเทียบกับการใช้งาน Laravel Framework version 5.x และ version 6.0 แล้ว version 6.0 ค่อนข้างติดตั้งซับซ้อนกว่า แต่ในความซับซ้อนนั้นมีข้อดี อยู่เพราะเราสามารถใช้งาน Vue Framework ได้เลย และสำหรับ Blog หน้าเราจะมาทำอะไรกันคอยติดตามกันด้วยนะครับ

--

--