ใช้งาน Socket.io ง่ายๆ บน Vue.js และ Laravel

Noppadol Lanngain
I GEAR GEEK
Published in
2 min readAug 31, 2019

สวัสดีครับวันนี้เราจะมาจัดทำระบบแชทแบบ Real-Time อย่างง่าย และเก็บข้อมูลการแชทไว้ใน Database โดยใช้ตัว socket.io กันครับ เราจะทำผ่าน Framework สองตัวคือ Laravel และ Vue.js

ก่อนอื่นเลยนะครับเรามาตรวจดูกันก่อนว่าเรามีเครื่องมือที่พร้อมใช้งานกันแล้วหรือยัง ตามที่เห็นในหัวข้อเลยนะครับ เราใช้ Framework ของ Laravel เป็นตัวจัดการด้านข้อมูล และ Vue.js เป็นตัวแสดงผลร่วมกันสองส่วนครับ ในส่วนของฐานข้อมูลนั้นเลือกได้ตามสะดวกเลยครับ ส่วนผมเลือกใช้ให้ run ผ่าน Docker ครับ

สรุปกันเลยครับว่าเราควรมีอะไรบ้าง !!!

composer ใช้สำหรับติดตั้ง Package ของ php

Node.js ใช้สำหรับติดตั้ง Package ของ javascript

Docker อันนี้ไม่ต้องก็ได้ครับถ้าไม่ใช้

เมื่อผ่านขั้นตอนตรวจสอบเครื่องมือมาได้แล้วเรามาเริ่มลงมือกันเลยครับ

Step 1: Install Laravel and Vue.js

ติดตั้ง Laravel และ Vue.js ได้ตามอ้างอิงนี้เลยครับ

Step 2: Install package

npm i socket.ionpm i vue-socket.io

Step 3: Create file server.js

ใช้ Express เป็นตัวเรียก io บน port 6999

Step 4: Edit file app.js

เรียกใช้ socket.io-client ใช้งานผ่าน port 6999 ตรงกับ file server.js

Step 5: Edit file ExampleComponent.vue

function sendText จะทำการส่งข้อมูลไปเก็บไว้ใน Database และ trick ให้ socket.io ทำงาน ส่วน function fetchMessage จะทำการ fetch ข้อความจาก Database ออกมา

mounted จะคอยการทำงานให้พร้อมเสมอเมื่อ มีการ trick จะทำการ fetch ข้อความให้แสดงผลใหม่อีกครั้ง

Step 6: Create Controller Message and Model Database

php artisan make:model Message -m
php artisan make:controller MessageController

เพิ่ม column ใหม่

Schema::create('messages', function (Blueprint $table) {  $table->bigIncrements('id');  $table->string('text');  $table->timestamps();});

Model Message

protected $fillable = ['text'];

Controller Message

สร้าง Route เพื่อรับส่งข้อมูล ผมสร้างไว้ในส่วนของ Route api นะครับ

Route::get('/fetch/message', 'MessageController@fetch')->name('api.fatch.message');Route::post('/create/message', 'MessageController@create')->name('api.create.message');

Step 7: run service

ทำการ build JavaScript ของ Vue.js

npm run prod

จากนั้น run server.js เพื่อให้ socket.io ทำงาน

node server.js

“เรามาดูผลลัพธ์กันเลยครับ ผมจะเรียงตามลำดับเลยนะครับว่าจะเกิดเหตุการใดก่อน สังเกตุจากหน้า terminal ของ server.js นะครับ”

เมื่อเราสั่งให้ file server.js run สำเร็จจะได้หน้าตาประมาณนี้

แสดงว่าสามารถทำงานได้บน port 6999

และเมื่อมี user connect เข้ามาใช้งานในช่องสัญญานี้จะเเสดง

จากที่เห็นผมใช้สองหน้า browser เชื่อมต่อเข้ามา

และเมื่อผมทำการส่งข้อความเข้าไปใน socket.io

เราจะได้หน้าตาประมาณนี้เลยครับ

เป็นยังไงบ้างครับสำหรับการใช้งาน socket.io ง่ายๆ เลยใช่มั้ยครับ ซึ่งความจริงแล้วเจ้าตัว socket.io นั้น มีฟังก์ชันให้ใช้งานมากมาย ซึ่งถ้าต้องการศึกษาเพิ่มเติมก็ลองเข้าไปอ่าน Document เพิ่มเติมได้ที่ https://socket.io/docs/ ได้เลยครับ

สามารถดู source code ได้ที่นี้ https://github.com/Noppadollanngain/Socket.io-Vue-Lravel

--

--