6 ข้อดี… ที่ Developer ควรเขียน Blog

Nitipat Lowichakornthikun
I GEAR GEEK
Published in
3 min readJun 14, 2019

วันนี้เราจะมาตั้งคำถามกับประเด็นที่น่าสนใจกันครับว่า “ทำไม Developer ถึงควรเขียน Blog?”

ช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมานี้ เราจะเห็นได้ว่าตอนนี้มีคนที่ทำงานสาย Tech นี้เริ่มเขียนมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื้อหาก็หลากหลายมากขึ้่นอีกด้วย

แล้วอะไรกันล่ะที่ทำให้ผมคนนึงก็สนใจมาเขียน?

ทำไมเราถึงควรเขียน Blog?

1. ฝึกการสื่อสาร

ข้อนี้ผมขอยกมาเป็นประเด็นหลักเลย เนื่องจากพวกเราสาย Tech มักจะโดนต่อว่า (ทั้งแบบจริงจัง และ ไม่จริงจัง) ประมาณว่า “พูดไม่รู้เรื่องเลย… อธิบายเข้าใจยากไป”
นี่ละครับ “การเขียน” จะเป็นตัวช่วยเราซึ่งแตกต่างจาก “คำพูด” ที่เมื่อมันออกจากปากไปแล้วมันไม่สามารถแก้ไขได้ แต่การเขียนนั้นทำให้เราสามารถนำเอาความคิดที่อยากพูดออกมานั้น กลับมาทบทวนก่อนว่ามันโอเคแล้วหรือยัง เสมือนกับเราได้ทบทวนความคิดในหัวของเราเรื่อย ๆ ซึ่งเมื่อเราได้เขียนมากขึ้น ทักษะตรงนี้จะถูกนำเอาไปใช้กับการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ในอนาคต

2. เสริมการเรียนรู้กับเรื่องใหม่ และ เรื่องเดิมที่แน่นขึ้น

การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคืออะไร? มันก็คือการได้ถ่ายทอดเรื่องที่เราเข้าใจกับผู้อื่นครับ

https://www.educationcorner.com/the-learning-pyramid.html

จากรูปด้านบนจากการศึกษาเรื่องรูปแบบของการเรียนรู้ที่ได้ผลที่สุดเป็นดังพิรามิดนี้ จะเห็นว่าการสอนเป็นการเรียนรู้แบบ Active ที่สุด ซึ่งการลงมือทำเองยังไม่ได้เท่านี้เลย
ข้อดีของการเขียน Blog คือเราจะต้องพยาพยามถ่ายทอดเรื่องราวที่สนใจ หรือ ถนัดให้กับคนทั่วไปอ่านได้ ดังนั้นเราต้องทำการบ้านกับเรื่องนั้น ๆ มากยิ่งขึ้นไปอีก ว่าสิ่งที่เราจะนำไปถ่ายทอดนั้นถูกต้องหรือไม่ (ไม่ใช่การที่เรากลัวว่าจะไม่ถูกต้อง แล้วไม่ยอมถ่ายทอดน่ะครับ แต่เราต้องก้าวข้ามตรงนั้นมาให้ได้)

ตัวอย่าง จากบทความก่อนหน้า ผมต้องอ่านข้อมูลจากหลายเว็บเพื่อทำการบ้าน และ ศึกษาเพิ่มเติมว่าเรื่องนี้เราเข้าใจถูกไหม รวมทั้งบางครั้งเรายังได้เรีียนรู้เรื่องใหม่ที่อยู่รอบ ๆ เรื่องที่เรากำลังสนใจอีกด้วย

การเขียนทำให้เราได้อ่านมากขึ้น

ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากที่เราเขียนเสร็จ เมื่อเรานำเอา blog ไปแชร์ในกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญในเรื่องเหล่านี้ก็ทำให้เราได้เรียนรู้เพิ่มเติมอีกด้วย จากคำแนะนำที่มาจากประสบการณ์ที่แตกต่างกันออกไป และ คำถามที่น่าสนใจของผู้ที่อ่านบทความของเรา

3. สร้าง Branding ให้ตัวเอง / บริษัท

ยิ่ง Blog ของเราได้รับความรู้จักมากขึ้น ก็จะทำให้คนอื่นรู้จักกับตัวตนของเรามากยิ่งขึ้นไปด้วย

นึกภาพว่าจะดีแค่ไหนถ้าวันนึงคุณได้ไปสัมภาษณ์งานจาก Blog ที่เราเขียนไปล่ะ… อันนี้เรื่องจริงครับ ไม่ใช่แค่เรื่องสมมติ อิอิ
ดังนั้นถ้ามันคือสิ่งที่คุณสนใจก็แบ่งปันเลย เพราะ สิ่งนี้อาจจะทำให้คุณได้รับโอกาสใหม่ ๆ อย่างคาดไม่ถึง

สำหรับในมุมของบริษัทเช่นกันครับ ถ้าคุณเป็นบริษัทเปิดใหม่ แบบที่ผมทำกันอยู่นี้จากการที่ผมและทีมของเราได้ทดลองเขียน Blog ลง I GEAR GEEK เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ตามมาคือเราทำให้บริษัทของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีลูกค้าหลายเจ้าติดต่อเรามา เพราะสนใจกับเนื้อหาของบทความที่พวกเราลงไว้นั่นเอง :)

4. ฝึกวินัย

การที่จะทำอะไรซักอย่างให้สม่ำเสมอนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าได้เริ่มและทำเป็นประจำเราจะได้ฝึกในเรื่องวินัยว่าในแต่ละสัปดาห์จะต้องเตรียมเนื้อหาอะไรบ้างที่จะไปเขียนลง Blog สิ่งนี้จะทำให้เราสามารถนำเอา

5. ได้ทดลอง

การเขียน Blog ทำให้เราได้ทดลองหลายเรื่องผ่านตัวหนังสือ ทั้งการเตรียมการสอน, การวางเนื้อหาว่าจะทำให้คนสามารถทำตามได้อย่างไร หรือ การพยายามเอาเรื่องยาก ๆ มาสรุปให้เข้าใจได้ ผ่านการทดลองที่เราสามารถทำได้เรื่อย ๆ ไม่มีผิด จนเราจะสามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่เราถ่ายทอดออกไปแบบไหนคือสไตล์เรากันแน่? (หากเราเขียนใน medium จะมี stat ว่าคนอ่านจนจบกี่ % ก็พอจะทำให้เราทราบได้ว่าเนื้อหาแบบนี้ในอนาคตเราจะถ่ายทอดในรูปแบบไหน)

6. เครื่องมือช่วยชีวิต

บ่อยครั้งที่เราติดปัญหา มักจะลืมไปว่าแก้อย่างไร บางครั้งเคยเจอปัญหานี้มาแล้ว แต่เรากลับลืม ดังนั้นการเขียน blog นี้จะเป็นตัวช่วยได้ถ้าเราได้เขียนเรื่องที่เราได้เรียนรู้ไว้ หลายครั้งที่ผมค้นหาข้อมูล แล้วพบว่ามันคือ blog ที่ตัวเองเขียนไว้เมื่อนานมาแล้ว ฮ่า ๆ

ทำไมคุณยังไม่เขียน Blog บ้างล่ะ ถ้ามันดีแบบนี้?

มันไม่มีเรื่องน่าสนใจให้คนอื่นอ่านหรอก / เรื่องพวกนี้คนอื่นก็รู้กันหมด

ใช่ครับ เรื่องที่อยู่รอบตัวของเราถ้ามองมุมของเราเองก็จะมองว่ามันก็ไม่มีอะไร ใช้อยู่ทุกวัน คนรอบ ๆ ตัวในที่ทำงานก็ใช้กันเป็น แต่อย่าลืมน่ะครับว่าเรื่องที่ดูไม่มีประโยชน์กับเราในตอนนี้ มันอาจจะช่วยทำให้คนอื่นเปลี่ยนชีวิตได้เลย (ผมเขียนให้ดูเว่อร์ แต่จริง ๆ น่ะครับ บางเรื่องมันคือเรื่องทั่วไป แต่มีคนสนใจและอยากอ่านอย่างมาก)

อีกอย่างที่ผมเคยคุยกับพี่ปุ๋ย (somkiat.cc) ก็มีเรื่องที่น่าสนใจคือ “ถ้าเมื่อไร เราไม่รู้จะเขียน Blog อะไร แสดงว่าตอนนั้นเราไม่ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ เลย”

เขียนไปกลัวผิด / คนเอาไปด่าว่าเรารู้ไม่จริง

จากที่ผมเขียนมา แม่งแทบไม่มีหรอกครับ คนที่จะมาด่าเรา มีแต่เอาข้อมูลใหม่ ๆ ที่ถูกต้องมาแนะนำ ผมมองว่า Blog เชิง Technical เขียนง่ายมาก มันค่อนข้างตรงไปตรงมา ถ้าเราเข้าใจผิดก็ดีเสียอีกมีหลายคนคอยช่วยให้คำแนะนำเรา ไม่ต้องไปจำสิ่งที่ไม่ถูกต้องไปตลอด แต่สิ่งสำคัญที่เราจะได้อีกเรื่องคือการกล้ายอมรับ Feedback ผิดก็ว่าไปตามผิดตามความเป็นจริง ซึ่งทักษะนี้สำคัญมากครับในการทำงานทุกสาย

เขียนได้แต่เรื่องพื้น ๆ / เขียนเชิงลึกไม่ได้หรอก

ก็อย่างที่ผมบอกครับ เราจะมีเรื่องที่ถนัดและไม่ถนัด ดังนั้นอาจจะเริ่มจากสิ่งที่เราถนัดก่อนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนลึกแบบในโลกไม่เคยมีมาก่อนหรอกครับ เราก็ถ่ายทอดสิ่งที่เราเข้าใจ และ เราอยากมอบให้กับคนอื่น ๆ ก็เพียงพอแล้ว ซึ่ง Blog เชิง Technical ถ้าแบ่ง แบบลวก ๆ ผมจะแบ่งไว้ซัก 2 แบบ คือ

  1. บทความเชิง Tutorial นึกภาพบทความแนววันนี้เรามาเรียนรู้ แล้วทำตามขั้นตอน
  2. บทความเชิง Deep อันนี้นี่เรียกว่าคนอ่านต้องมีความรู้พื้นฐานพอสมควรถึงจะเข้าใจได้

ลองสลับเขียนแต่ละรูปแบบก็ได้ครับ แล้วลองดูว่าเราสามารถเอาบทความ 2 แนวมาเขียนแบบผสมผสานกันได้ไหม ช่วงนี้ผมก็ลองเขียนบทความแนวนี้ว่าจะให้คนที่เป็นกลุ่มเริ่มต้นใหม่เข้าใจได้ และ กลุ่มที่มีพื้นฐานแล้วได้ความรู้เพิ่มเติม

เนื้อหายังไม่สมบูรณ์เลย / เรายังไม่รู้ลึกเลย

ให้แบ่งเรื่องที่เรามั่นใจไว้ส่วนนึงเพื่อเขียน จากนั้นเรื่องที่เรายังไม่รู้ลึกหรือต้องเรียนรู้อีกก็พยายามหาเพิ่ม หรือ จะค่อยทยอยเขียนก็ได้ในโอกาสหน้า… ไม่มีใครรู้นี่หว่า?

ระวังให้ดี ความ Perfect จะทำให้เราไม่ได้ทำอะไรเลย ซึ่งผมไม่ได้บอกว่าให้ปล่อยเนื้อหาไปลวก ๆ แต่เราต้องตรวจสอบและศึกษาจนมั่นใจแล้วของตัวเอง เรื่องอื่นนอกจากนั้นก็เป็นสิ่งที่ถ้าผิดพลาดก็เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้เพิ่มเติมแล้วจาก Feedback ของคนอื่น ๆ

สำหรับคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ และ ยังไม่มี Blog จัดการเลยครับ :)

5 ขั้นตอนเริ่มเขียน Blog

  1. พยายามใช้ blog ที่ไม่ต้องจ่ายเงิน และ รวดเร็ว ไม่ต้องพยายามเขียนระบบ blog เองน่ะครับ จงจำไว้ว่า point ของเราคือการเขียน blog ไม่งั้นคุณจะสนุกกับการทำระบบ blog เอง แล้วสุดท้ายก็ไม่มีบทความออกมา ฮ่า ๆ พยายามหา platform blog เช่น medium, dev.to, wordpress, ghost และ อื่น ๆ
  2. ถ้าเป็นไปได้ก็ควรมี Domain + Hosting ของตัวเอง เนื่องจากวันนึง platform เหล่านี้ล้มหายตามจากเราก็ยังมีของเราไว้
  3. ตั้งเป้าว่าจะเขียนสัปดาห์ / เดือนละกี่ Blog ยิ่งตั้งเป้าได้ท้าทายก็ยิ่งดี สุดท้ายเราจะได้พบว่าจำนวนเท่าไรที่เหมาะสม อีกสิ่งนึงคือปริมาณไม่ใช่ส่ิงที่ดี คุณภาพของเนื้อหาต่างหากที่ดีกว่า (หลังจากเขียนไปซักระยะเราอาจจะเริ่มวัดผลคุณภาพเช่น ยอดคนอ่าน / คนพูดถึง / คนแชร์​ ถ้าเรามัวมาคิดตั้งแต่วันแรก มันจะทำให้เราไม่ได้เริ่ม!)
  4. ลิสต์หัวข้อที่นึกออกมาให้เยอะสุด จากนั้นค่อย ๆ เติมลิสนี้ไปเรื่อย ๆ เรื่องไหนน่าสนใจก็ดึงขึ้นมาเขียนก่อน เรื่องไหนต้องศึกษาเพิ่มก็พยายามหาข้อมูลให้แน่ใจก่อนลงมือเขียน (อย่าติด Perfect เด็ดขาด ค่อย ๆ เขียนเพื่อพัฒนาไปเรื่อยก็ได้)
  5. เขียนเสร็จแล้วก็กล้าที่จะแชร์ครับ ฮ่า ๆ ตอนแรก ๆ ผมก็เป็นคือเขียนมาแล้วไม่มั่นใจไม่กล้าแชร์​ แต่ถ้าเราทำออกมาแล้วไม่ได้ให้คนอื่นอ่าน มันจะมีประโยชน์อะไรล่ะ (ถ้าไม่แน่ใจก็อาจจะแชร์ให้คนใกล้ตัวช่วยเช็คก่อนก็ได้น่ะ)

นอกจากนี้ Blog ก็ไม่ใช้ช่องทางเดียวแล้วที่เราจะใช้ถ่ายทอดเรื่องราว ซึ่งช่วงนี้ Podcast ก็เป็นที่นิยมทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจใหม่ ๆ ได้ ในช่วงนี้ผมกับกลุ่มน้อง ๆ พี่ ๆ สาย Tech ก็กำลังทดลองทำเหมือนกันครับ สามารถไปลองฟังกันได้ที่ The toilet podcast ครับ

The toilet podcast

ขายของกันไปแล้ว :P ถ้ามาถึงตรงนี้… ใครเขียน Blog กันแล้ว และ อยากแนะนำเรื่องอื่น ๆ ที่ได้จากการเขียน Blog เพิ่มเติม จากสิ่งที่ผมเขียนไว้ข้างบนนี้ ก็ทิ้ง comment ไว้ได้เลยครับผม

--

--