Phumpat Ruangsakul
inCart
Published in
4 min readSep 18, 2020

--

E-Commerce 2020–2021 จะขายยังไงดี (ตอนที่ 2) – FB / IG / Website / Line ขายแต่ละที่ดียังไง? (ในวันที่ช่องทางการขายมันเยอะซะเหลือเกิน)

กลับมาอีกครั้งกับบทความ E-commerce ของเรา ตอนนี้ก็เป็นตอนที่ 2 แล้วในคอนเซ็ปท์ของการดูช่องทางการขายที่เหมาะสมกับสินค้า และร้านค้าเรา รวมไปถึงเครื่องมือต่างๆที่แต่ละช่องทางเค้ามีให้ด้วย ใช้เป็นรับรองปังเลย ส่วนใครที่อยากรู้เกี่ยวกับ Marketplace Shopee / Lazada / JD ก็ย้อนกลับไปอ่านตอนที่แล้วกันได้ที่นี่ได้เลยครับ >> (ลิงก์ตอนที่ 1)

e-commerce 2020 trends
ในวันที่ช่องทางการขายมันเยอะซะเหลือเกิน หลากหลายช่องทางมากๆ

เราไม่พูดพร่ำทำเพลงไปเริ่มกันเลยดีกว่ากับช่องทางที่คนในบ้านเราขายของกันเยอะที่สุด ณ เวลานี้ นั่นก็คือ Facebook และ Instagram

Facebook & Instagram

ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ก่อนที่ Marketplace Shopee / Lazada จะเริ่มบูม ใครๆก็ขายกันบน FB และ IG กันทั้งนั้น โดย FB นำโด่งมาก่อนเลย และทุกวันนี้ก็ยังเยอะอยู่ สิ่งที่ช่วยให้คนขายเริ่มต้นธุรกิจง่ายๆได้ ก็คือเริ่มทำ Page ก่อนเลย พอเจ้าของแบรนด์ ทำ FB Page แล้วถือว่ามีตัวตนในโลกออนไลน์ไปขั้นที่ 1 แล้ว IG ก็เช่นเดียวกัน

จุดเด่นๆของ FB เลย เรามาแยกประเด็นกันทีละข้อชวนคิดดู

  1. สร้างง่าย แต่หาลูกค้าไม่ง่ายเท่าไหร่ (FB Page)

เนื่องจากมันง่าย ก็เลยมีคนสนใจมากเป็นธรรมดา แต่ FB เค้าไม่ได้ช่วยแค่นั้น เครื่องมืออื่นๆที่เค้าทำมามันยังเอื้อให้คนมาเปิดเพจกับเค้าเยอะๆด้วย เช่น เปิดเป็นเพจแล้วก็ทำแคมเปญโฆษณาได้ ซึ่งสิ่งนี้ FB เค้าได้เงินไง แต่ข้อดีของพ่อค้าแม่ค้าเราเองก็คือมีเครื่องมือให้คุณเล่นเยอะมาก แถมการเก็บข้อมูลสถิติคนเข้าดูเพจต่างๆนาๆ โพสไหนลงไปดีไม่ดี คุณดูได้หมดเลยจาก insight เพราะฉะนั้นทำเถอะครับ เราก็ใช้เจ้านี่ในการลงข้อมูลข่าวสารสินค้าใหม่ๆ รีวิวสินค้าจากลูกค้าที่ซื้อไปได้ ทำให้คนกลับมาติดตามต่อ

2. หาลูกค้ายากก็ทำ Marketing ด้วย FB Ads ซะเลย

ช่วงแรกๆคุณอาจจะติดว่าลูกค้าเรานั้นหายากจัง เพราะเพจเรายังใหม่อยู่ อาจจะฝากเพื่อนๆพี่ๆช่วยไลค์เพจ ซึ่งเป็นปกติกัน แต่ทว่าเครื่องมือที่เค้าให้คุณช่วยหาลูกค้าเพิ่มขึ้นก็คือ การลงโฆษณา (Ads) อันนี้เองจะเป็นตัวช่วยอีกทางนึง ที่คุณจะรีบวิ่งหาลูกค้าเลย ถ้าคอนเทนท์คุณน่าดึงดูด น่าซื้อ ดูน่าเชื่อถือ คนน่าจะคลิก ก็ช่วยให้คุณหาลูกค้าได้ง่ายขึ้น แต่ทว่าต้องแลกมากับเงินที่จะต้องลงไปนะ เพราะฉะนั้นคำนวณต้นทุนดีๆ ค่อยๆหากลุ่มลูกค้าที่ใช่ แล้วค่อยสเกลหนักขึ้นไป

3. สินค้าคุณเฉพาะกลุ่มไหม มี community ไหม ถ้าใช่ตามชื่อเลย ขายในกลุ่มไหมล่ะ? (FB Group)

แต่ถ้าคุณบอกว่างบคุณยังไม่ถึง และลูกค้ายังน้อยอยู่ ให้ลองดูว่าสินค้าของคุณนั้นมันเล่นกันเฉพาะกลุ่มรึเปล่า เช่น ตัวอย่างผมเองชอบออกกำลังกาย วิ่ง ปั่นจักรยาน มันก็จะมีกลุ่มคนที่แยกตามแต่ละประเภทกีฬาเลยเช่น กลุ่มสำหรับรองเท้าวิ่งแบรนด์นู้น แบรนด์นี้ กลุ่มสินค้าจักรยานยี่ห้อนี้ๆ หรือกลุ่มที่ขายสินค้ามือสองก็รวมอยู่ด้วยเช่นกัน พวกนี้เองจะช่วยให้การฝากร้านของคุณ เจอตรงกลุ่มมากขึ้น แต่ฝากเอาแต่พองาม อย่าถี่จนเกินไปเดี๋ยวท่านอื่นๆในกลุ่มจะรำคาญกลายเป็นภาพที่ไม่ดีกับร้านคุณแทน

4. Marketplace บน Facebook

ส่วนนี้จะเจอกันบ่อยๆ เป็นแท็บเมนูรูปช็อป ซึ่งเมื่อเรากดเข้าไป ก็คือการแสดงสินค้าตอนเราลงขาย ซึ่ง Facebook เค้าเรียกว่า Marketplace เป็นที่ๆเราลงขายและค้นหาสินค้าที่เราสนใจได้ ตั้งการแจ้งเตือนกับคำค้นหาที่เราสนใจได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วยังไม่บูมมากนักในบ้านเรา มักจะเจอกับกลุ่มคนที่ลงขายสินค้าในกลุ่ม และจะมาแสดงในนี้ด้วย

Facebook Marketplace
ตัวอย่างการหาสินค้าบน Facebook Marketplace (เน้นที่เป็นระแวกใกล้เคียงและสินค้าที่สนใจอยู่)

5. เริ่มมีลูกค้าติดตามมากขึ้น >> Live หน่อยดีไหม (FB Live)

ตัวสุดท้าย กว่าจะได้มาแทบน้ำตาจะไหลเพราะคุณจำเป็นต้องมีผู้ติดตามที่พอสมควรมันถึงจะเห็นผลก็คือ การทำ Live คุณคงเห็นคน Live ขายกันเยอะมาก แต่ทำไมเรา Live ทีคนน้อยจัง องค์ประกอบมันก็ต้องมาดูกันว่า คนติดตามคุณเยอะไหม เพราะถ้าน้อยมันก็จำกัดด้วยตัวมันเองระดับนึงแล้ว คนขายมีผลไหม เช่น หน้าตา ผมเผ้า ลีลาการขาย หรือการพูดโน้มน้าวให้ซื้อก็รวมอยู่ด้วย ส่วนสุดท้ายก็น่าจะตัวสินค้าคุณ ราคา น่าดึงดูดไหม พวกนี้ต้องผสานกันให้ดี ถ้ามาครบมีชัยไปกว่าครึ่ง อย่างน้อยๆต้องมีออเดอร์หล่ะ (ล่าสุด! สามารถลงรูปสินค้าตอน Live ได้แล้วด้วยนะ เทรนด์น่าจะมาเรื่อยๆ)

Facebook Live ในบ้านเราตอนนี้ก็บูมมากๆเลยทีเดียว (CF no CC นะจ๊ะ)

Instagram หล่ะมีอะไรที่เทียบกับ FB บ้าง

ต้องบอกก่อนว่าพฤติกรรมของคนที่เล่น platform พวกนี้สำคัญต่อการคิดที่จะขายของๆคุณเช่นกัน เพราะถ้าขายได้ตรง platform ก็เหมือนเปิดร้านในตลาดที่ทำเลดี คำถามง่ายๆ คุณคิดว่าถ้าจะขายเสื้อผ้า ควรเลือก platformไหน

จุดที่น่าสนใจของ Instagram ก็คือ การนำเสนอ Product แบบที่สามารถเห็นได้ทันทีเป็นเหมือน Gallery หลายๆรูป ซึ่งทำให้ลูกค้าเลือกที่จะเข้าชมสินค้าได้ง่าย และดึงดูด

Instagram Landing of Store
ตัวอย่างหน้าร้าน IG จากแบรนด์เสื้อผ้า Joobs Studio << อยากช็อปคลิกเลยจ้า

ส่วนข้อเด่นๆของ Instagram อื่นๆจะมีดังนี้

  1. จากรูปด้านบน จะเห็นว่าปักหมุดทำเป็นเหมือน Gallery ของสินค้าแต่ละแบบได้ ลูกค้าเห็นได้ง่าย แถมเอาวิดีโอที่ตอนลง IG Story มารวมไว้ด้วย ซึ่งมันก็คือ Video present product นั่นเอง
  2. IG นั้น Trend คนที่เข้ามาเล่นใน Platform ส่วนใหญ่ ชอบการใช้ IG Story ซึ่งอย่างที่กล่าวไปคือ Video ทำให้เรานำเสนอหน้าตาสินค้า แบบที่มีคนใส่จริงๆให้กับลูกค้าได้ง่ายมากๆ หรือจะเป็นลูกค้าเราที่ซื้อไป ใส่ถ่ายแล้วติดแท็กมาหาเรา เราก็เอามา Promote ใน Story เราได้
  3. อีกส่วนที่สำคัญก็คือการรีวิวสินค้า ต้องยอมรับว่าคนรุ่นใหม่ Gen Y, Gen Z นี้ติดตามคนใน IG มากกว่า FB แล้ว และดาราหรือ KOL (Key Opinion Leader หรือ Influencer) เองก็โปรโมทตัวเองบน IG มากกว่า ทำให้คนที่ติดตามได้เจอการรีวิวสินค้าใน IG ที่รวดเร็วกว่า ตรงกลุ่มกว่านั่นเอง
  4. Feature Live นั้นมีเหมือนกันกับใน Facebook เช่นเดียวกัน
Compare Facebook Instagram Website
ตัวอย่างเมื่อเราเข้าในเพจของร้านค้าใน FB / IG และเทียบกับหน้าตัวอย่างเว็บไซต์

อย่าลืมไป Facebook และ Instagram เจ้าของเดียวกันนะ ดังนั้นเราอาจจะได้เห็นการปรับเปลี่ยนต่างๆได้ทุกเมื่อ แต่โดยทั่วไปแล้วร้านค้าบ้านเราเปิดควบคู่กันอยู่แล้วหล่ะ

เกือบลืมไปครับ !! เนื่องจากล่าสุดประกาศมาแล้วแต่ยังไม่เข้ามาในบ้านเรา ซึ่งนั่นก็คือ Facebook Shops ไม่เพียงแต่จะเรียกว่า Facebook Shop นะ เค้าเองก็บอกมาด้วยว่า Instagram ก็ได้เช่นเดียวกัน และก็รวมไปถึง Live Shopping Product ด้วย

Facebook Shops
หน้าตาของ Facebook Shops ที่สร้างมาจาก Facebook Page ของร้านค้า (อ่านเต็มๆที่นี่เลย)

Line (Shopping & MyShop)

อีกหนึ่งกระแสที่จะไม่พูดถึงก็คงไม่ได้ก็คือ Line Platform Chat ที่คนใช้ในไทยเยอะที่สุด แน่นอนทุกคนปฏิเสธไม่ได้เลย ซึ่ง Line ประเทศไทยเองก็ได้ทำ Feature ทางด้าน E-Commerce มามากขึ้นเรื่อยๆ จากการเข้าซื้อ Sellsuki เมื่อหลายปีก่อน โดยเราขอแบ่งเป็น 2 อย่าง ที่สำคัญๆเลยก็คือ Line Shopping และ Line MyShop

Line Shopping

มากับ Concept “ให้คุณขายดีเหมือนลูกค้ามายืนอยู่ตรงหน้า” หลังจากร่วมมือกับทาง Priceza เมื่อปี 62 ก็ได้เกิด Line Shopping เกิดขึ้น มีหลายแบรนด์ที่ลงไปในนี้ โดย traffic ของคนที่เข้ามาในนี้ทาง Line ประเทศไทยตั้งเป้าไว้สูงเลยทีเดียว เนื่องจากคนที่ใช้แพลตฟอร์ม Line ในไทยเราเยอะมากๆ (อย่างที่บอกก็เกือบทั้งหมดของคนที่แชท) ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลที่ หากคุณเป็นแบรนด์ที่ใหญ่หน่อย อยากเน้นให้คนเจอร้าน traffic จาก Line ช่องทางนี้อาจจะตอบโจทย์ได้เลย แถมมีโปรตามเทศกาล และรับ Point ต่างๆใน Eco system ของ Line ได้ง่ายๆเลยด้วย (เรียกได้ว่ามาเป็น Mini Marketplace)

line shopping banner

Line MyShop

ส่วนในบริการล่าสุด Line MyShop ก็เป็นการให้ร้านที่เปิดเป็น Official Account (OA) กับทาง Line สร้างเหมือนเป็นหน้าเว็บไซต์ตัวเองบนไลน์ได้เลย มี Flow การใช้งานแบบหน้าเว็บไซต์เลย และพร้อมเชื่อมต่อช่องทางการชำระเงินของ Line ไว้ในนี้ด้วย ค่าธรรมเนียมของการชำระเงินด้วย Rabbit ก็อยู่ที่ 2.5% ในรูปด้านล่างเป็นการจำลองเล่น Flow ของร้านค้าให้ดูครับ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่เลย)

ตัวอย่าง Flow ของ Line MyShop (ขอขอบคุณร้าน Running Tales ด้วยครับ)

Website

เว็บไซต์ ตายแล้วหรือยัง! นี่เป็น 1 คำถามที่เราเจอกันอยู่ในตลอด 2–3 ปีมานี้ เพราะเนื่องจากคนหันไปหาช่องทางการขายอื่นๆมากขึ้นมากๆ อย่างที่อธิบายไปเยอะแล้ว Facebook / IG / Shopee / Lazada เพียบเลยทีเดียว แต่พฤติกรรมที่น่าสังเกตก็คือในต่างประเทศเอง กลับแตกต่างจากเรา เว็บไซต์ก็ยังเป็นช่องทางหลักๆที่ยังคงใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ต่างประเทศใหญ่ๆเช่น Lululemon, H&M, Uniqlo, Zara ต่างล้วนแล้วแต่ทำแบรนด์ของตัวเองลงบนเว็บไซต์ได้อย่างน่าสนใจ

หน้าเว็บไซต์ Zara สุด Modern และ Abstract มากๆ บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของแบรนด์กันเลยทีเดียว

ซึ่งหลังจากที่เราได้ไปเจอกับร้านค้าในออนไลน์ของบ้านเรา ก็พบว่าจริงๆแล้วหลายคนอยากมีเว็บไซต์นะ เพราะเค้าเองก็เกรงว่าถ้าอิงกับช่องทางใดช่องทางหนึ่งมากเกินไป หากเกิดการเปลี่ยนแปลงมาจะทำให้กระทบกับร้านค้าเค้าหรือแบรนด์เค้าอย่างหนักเลย เช่นคำถามสั้นๆว่าถ้าประเทศเรามีการบล็อกหรือระงับการเข้าถึง Facebook หรือ Instagram ขึ้นมา เราจะไปขายที่ไหน?

อยากให้มองว่าเว็บไซต์ของคุณเองเว็บ .com นี้จะเป็นสินทรัพย์ (Asset) ของเราในโลกออนไลน์ จะไม่มีใครมาพรากมันไปจากคุณ (ตราบที่คุณจ่ายตังค่าโดเมนอยู่)

E-commerce website

วิวัฒนาการของเว็บไซต์เองก็พัฒนาไปไกล เริ่มตั้งแต่เราทำเว็บ eCommerce แบบไม่ได้รองรับ mobile จนตอนนี้ทุกเว็บรองรับหมด สั่งซื้อของก็ทำได้ง่ายๆ จ่ายเงินก็ง่ายขึ้นในเว็บ รองรับทั้งจ่ายแบบโอนเงินแนบสลิป บัตรเครดิต เดบิต ผ่อนชำระได้หมด และจากแต่ก่อนที่สร้างกันยากๆ เดี๋ยวนี้ 2–3 ชั่วโมงเสร็จแล้ว เอารูปจาก FB / IG มาทำได้ง่ายๆเลย (แอบขายของหน่อย ถ้าใครสนใจก็ติดต่อหรือลองทำกันได้เลยใน inCart ของเรานี่เอง คลิกที่นี่เลย)

inCart ของเราไม่ได้มีเพียง Web Editor แต่ยังมี Full E-Commerce Website และ Chat&Shop ฟังก์ชัน เพื่อตอบโจทย์ร้านที่ขายผ่าน Social Commerce อีกด้วยนะครับ ;)

Salepage

นอกจากนี้ ยังมีเว็บไซต์ อีกประเภทที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงหลังๆนี้ก็คือเซลล์เพจ จะเห็นได้ว่า เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซนั้น อาจจะเหมาะที่จะทำเป็นร้านแบบครบเครื่อง มีหมวดหมู่ มีรายการสินค้าต่างๆมากมาย ส่วนเซลล์เพจนั้นจะเหมาะกับการทำเป็น เว็บเพจหน้าเดียว เน้นสินค้าตัวเดียว หรือมีตัวเลือกไม่มาก เพื่อให้ผู้ซื้อจะได้ focus ที่สินค้านั้นๆเท่านั้น เมื่อกดเลือกสินค้าแล้วก็จ่ายเงินทันที เรียกได้ว่ามีหน้า landing แล้วก็ checkout เลย ใครที่มีสินค้าประเภทแนวๆนี้ ก็ลองพิจารณาเว็บแนวนี้ดู

Conclusion บทสรุป

ก่อนไปถึงบนสรุป แปะสถิติไว้ให้ดูกันก่อนว่าในปี 62 ที่ผ่านมานี้ จาก ETDA สำนักงานพัฒนาธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ช่องทางที่คนส่วนใหญ่ ซื้อสินค้า และขายสินค้า หรือบริการในโลกออนไลน์ ตามรูปด้านล่างนี้ แต่เชื่อว่าในปี 63 หรือ 64 นี้อาจจะมีการปรับเปลี่ยนมากยิ่งขึ้น

จากรายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 (อ่านเต็มๆที่นี่เลย)
  1. ขายผ่านช่องทางออนไลน์แบบ Social Commerce ง่ายสุด ไล่ไปเป็น Marketplace และ Website (แต่ถ้า inCart เราก็ไม่ได้ยากน้า แอบขายของ Lol)
  2. ขายหลายช่องทางถ้าจัดการได้เป็นสิ่งที่ดีที่สุด (OmniChannel) เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงการให้บริการของเราได้มากที่สุด เพราะตอนนี้รู้เพียงอย่างเดียวว่าทุกเจ้าพยายามผลักให้คนเข้าถึงการบริการของตัวเองมากๆไม่ว่าจะ Facebook / Instagram / Marketplace / Line ฯลฯ เพื่อให้ที่ว่าเมื่อคนติดการใช้บริการของ Platform แล้ว ก็เปิดโอกาสในการทำการขายบริการของตัวเองได้มากขึ้น ลูกค้าเราอาจจะหลุดไปอยู่ที่ช่องทางไหนช่องทางหนึ่งในวันข้างหน้าก็เป็นได้
  3. ตัวช่วยในการหาลูกค้ามาให้เราคงจะเป็น Marketplace (Shopee / Lazada / JD หรือจะเป็น Line Shopping ด้วย) ณ ตอนนี้ หรือถ้าพอจะไหวก็ลองทำ Ads Marketing ควบคู่ไปด้วย ทั้ง FB Ads และ Google Ads
  4. ต้นทุนในการขายหลายแพลตฟอร์ม จะยากเรื่องสต็อกและคนจัดการ แอดมินที่มากขึ้นหมายถึงต้นทุนทางการขายที่มากข้ึนตาม
  5. กลับมาสร้าง Own asset อย่างเว็บไซต์ตัวเอง เป็น Safe zone ที่สุด อย่างน้อยไปทำการตลาดในหลายๆที่ก็จะมีเว็บไซต์ของเราเป็นที่อุ่นใจ ไม่ว่าใครจะเปลี่ยน Policy ยังไงเว็บเราก็ยังอยู่

สุดท้ายขอฝากทิ้งไว้ จากส่วนตัวที่ทำ platform มา และได้เจอพี่ๆน้องๆในวงการทุกคนล้วนเตือนพ่อค้าแม่ค้ามาโดยตลอดว่า การขายสินค้านั้นควรทำแบรนด์ของตัวเอง หรือการทำ Value Added เข้าไปในตัวสินค้า หากซื้อมาขายไป ใครก็ได้ทำได้ นั่นหมายถึงความเสี่ยงของธุรกิจที่ต้องยอมรับให้ได้ หากวันหนึ่งที่พี่จีนหรือใครเอามาขายได้แบบเรา เราเองก็จะหมดหนทางและต้องดิ้นรนทันที

สัดส่วนกลุ่มสินค้าที่เอาเข้ามาขายจากต่างประเทศ (Cross border) จากทาง Priceza

เพราะโลกมันหมุนไว การที่วิ่งให้ทันว่ายากแล้ว การนำหน้าคนอื่นๆหรือแข่งกับรายใหญ่ยิ่งยากกว่า สู้ไปด้วยกันครับ

--

--

Phumpat Ruangsakul
inCart
Editor for

I’m Name, CPO of inCart e-Commerce Platform and co-founders at Muze Innovation. Our businesses focus on tech solutions and e-commerce.