จะสิ้นปีแล้ว เรามาทำ Self-Reflection กันดีกว่า

Ingkwan
Ingkwan’s Knowledge Hub
3 min readDec 13, 2023

--

หลายคนอาจจะเคยทำ Year End Recap เช่น การโพสต์ลงโซเชียลว่าปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นกับเราบ้าง ชีวิตเราดำเนินไปอย่างไร มีเรื่องดีหรือเรื่องไม่ดีอะไร หรือเรื่องราวของการเติบโต เป้าหมาย สิ่งต่างๆที่เราได้เรียนรู้ ฯลฯ

ในหนึ่งปีเองก็เกิดเรื่องราวมากมาย บางจังหวะของชีวิตได้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งในบางเรื่องเราอาจจะจำได้เลือนรางว่า ณ ตอนนั้น เราเป็นอย่างไร ความรู้สึกกับความคิดเราเกิดจากสาเหตุไหน

หรือถ้าใครเคยเขียนไดอารี่แล้วพอได้ย้อนกลับมาอ่านอีกครั้ง เราอาจจะแปลกใจกับการกระทำหลายอย่างของตัวเอง หรือรู้สึกแม้กระทั่งว่าสิ่งที่ทำไปมันไม่สมเหตุสมผลเลย

แต่จะดีกว่ามั้ย ถ้าเรารู้ตัวตั้งแต่เนิ่นๆ และเราสามารถแก้ไขมันได้?

การทำ Self-Reflection เป็นประจำ ก็จะมาช่วยตอบคำถามนี้ให้กับเรา

แล้ว Self-Reflection มันคืออะไร?

ให้พูดง่ายๆก็คือการสะท้อน (Reflect) ตัวเอง เป็นการย้อนกลับมาสังเกตและทบทวนตัวเรา เพื่อสำรวจชีวิตไม่ว่าจะเป็นด้านพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึก เป้าหมาย และแรงจูงใจ

ระหว่างที่เราดำเนินชีวิตไปในแต่ละวัน Self-Reflection จะช่วยให้เราได้หยุดและหันมามองตัวเอง ได้ตั้งคำถามในมุมต่างๆ และนำสิ่งเหล่านั้นไปพัฒนาตัวเองต่อไป

Self-Reflection จะเป็นคนละอย่างกับ Self-Talk ที่เป็นการพูดคุยกับตัวเองในใจ (Inner Dialogue) และนี้มีงานวิจัยมารองรับว่าการทำ Self-Talk เป็นประจำสามารถช่วยทำให้ Performance ของเราดีขึ้น ตัวอย่างของงาน Effects of self-talk: a systematic review จะแยก Self-Talk ออกเป็นสี่แบบ ได้แก่ Positive, Negative, Instructional, Motivational ซึ่งรายละเอียดไว้ถ้ามีเวลาจะมาเขียนเพิ่ม :D

คนที่ทำงานไอทีส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก Sprint Retrospective ซึ่งการทำ Self-Reflection ก็จะคล้ายกัน แต่เป็นการไปโฟกัสที่ชีวิตของตัวเราเองแทน

ข้อดีของการทำ Self-Reflection

Develop Self-Awareness

Self-Awareness คือการตระหนักรู้หรือรู้จักตัวเอง เป็นความสามารถในการรับรู้และเข้าใจตัวเรา เช่น เรามีนิสัยอย่างไร มีความชอบแบบไหน มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

ถ้าใครอยากรู้เกี่ยวกับ Self-Awareness เพิ่มเติมก็ไปลองอ่านจากบทความนี้ได้

การทำ Self-Reflection จะทำให้เราได้เห็นความคิด (Thoughts) ความรู้สึก (Feelings) พฤติกรรม (Behaviors) ของตัวเอง และได้ทำความเข้าใจที่มาที่ไป เห็นความเชื่อมโยง และได้เห็นว่าสิ่งที่เราทำส่งผลต่อตัวเองกับคนอื่นอย่างไร

รูปด้านล่างคือโมเดล Cognitive Triangle แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Thoughts, Feelings, Behaviors โดยทั้งสามสิ่งจะส่งผลต่อกัน ยกตัวอย่างเช่น

นาย A เป็นนักวิ่งที่ชื่นชอบในการวิ่งและได้เตรียมตัวเป็นเดือนๆสำหรับการวิ่งแข่งมาราธอนครั้งแรก ก่อนเริ่มแข่งนาย A ตื่นเต้นและมีความมั่นใจกับการวิ่งครั้งนี้มาก แต่ในขณะที่เขาลงแข่งก็ได้มีอาการเจ็บเข่าที่ทำให้วิ่งได้ช้าลง เขาพยายามฝืนร่างกายเพื่อวิ่งต่อแต่สุดท้ายก็ต้องหยุดวิ่งเพราะอาการบาดเจ็บ

นาย A คิดว่าเขาไม่เหมาะที่จะเป็นนักวิ่งและไม่สามารถวิ่งในระดับมาราธอนได้ (Thoughts) ความคิดด้านลบของนาย A ส่งผลให้เขารู้สึกไม่พอใจ เกิดความผิดหวังในตัวเอง และหมดกำลังใจในการวิ่ง (Feelings) ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้นาย A มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป โดยที่เขาได้หยุดวิ่งและหยุดไปงานวิ่งในทุกๆงาน (Behaviors)

ถ้านาย A มี Self-Awareness ในตัวเอง เขาจะสามารถเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีคิดและแนวทางของตัวเองใหม่ได้ตามแนวทางนี้

  • ตั้งเป้าหมายที่ดูเป็นไปได้มากขึ้น
  • ฉลองกับความสำเร็จเล็กๆ e.g. ในระหว่างฝึกวิ่งเขาวิ่งได้เพิ่มขึ้น 1km หรือทำเวลาได้ดีขึ้น
  • พูดคุยกับตัวเองในแง่บวก (Positive Self-Talk)
  • เข้ากลุ่มนักวิ่งแถวบ้านและหาเพื่อนวิ่ง
  • ใช้ Tracking App ในการวิ่งเพื่อกระตุ้นแรงจูงใจ

เมื่อนาย A ได้ลองปรับเปลี่ยนตามวิธีดังกล่าวแล้ว เขาได้มีความคิดใหม่ในแง่บวกที่ส่งผลกับความรู้สึกและพฤติกรรมของเขา ทำให้นาย A ได้กลับมาวิ่งอย่างมีความสุขอีกครั้งและสามารถไปถึงเป้าหมายท่ีตั้งใจไว้

https://hudsontherapygroup.com/blog/cognitive-triangle

Self-Awareness จะเป็นรากฐานการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) และเมื่อเรามี Self-Awareness ทำให้สามารถบริหารจัดการตนเอง (Self-Management) เราควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตัวเองได้ สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ดี

Goal Clarity

เราได้เห็นช่องว่าง (Gap) ระหว่างตัวเราในปัจจุบัน และตัวเราในสิ่งที่อยากเป็น ทำให้เราสามารถทบทวนเป้าหมายของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น เราสามารถมองเห็นภาพเส้นทางของตัวเองที่กำลังดำเนินไป และรู้ว่าเราควรทำอะไรเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายนั้น

Improve Decision-Making

เรียนรู้ทั้งจากความสำเร็จและความผิดพลาด รวมถึงการที่เห็นเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้เราได้ตัดสินใจตรงกับความต้องการของเรา

Improve Communication

การได้ทบทวนตนเองทำให้เราสามารถตกผลึกเพื่อนำไปสื่อสารต่อได้ ช่วยให้เราเข้าใจความรู้สึกของตัวเองและสื่อสารกับกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ และบอกได้ตรงกับความรู้สึกหรือความต้องการของตัวเอง

นอกเหนือจากนี้การทำ Self-Reflection ก็ยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง

  • สร้างความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self-Esteem)
  • สามารถจัดการชีวิตได้เป็นระบบมากขึ้น
  • ลดความเครียดและความวิตกกังวล
  • เป็นคนที่รอบคอบมากขึ้น

อยากลองทำ Self-Reflection แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี

Start with Building a Weekly Practice

เราอาจจะลองมาทบทวนตัวเองในทุกๆ Week โดยการตั้งคำถามเหล่านี้ หลักๆคือเราต้องการ Reflection, Goal Settings, Learning และอย่าลืม Self Appreciation หรือการชื่นชมตัวเราเองด้วย เราสามารถปรับคำถามได้ให้เหมาะกับตัวเราเองเช่นกัน

  • How I feel this week?
  • What did I accomplish?
  • What did I learn?
  • Am I making progress on my goals?
  • What are my biggest obstacles right now?
  • What I did that didn’t serve me well, and how can I improve this?
  • What I did that I’m proud of, and why do they matter to me?
  • What am I grateful for this week?
  • Am I using my time wisely?
  • Am I thinking negative thoughts before I fall asleep?
  • Am I taking care of myself physically?
  • Am I putting enough effort into my relationships?
  • Am I letting matters that are out of my control stress me out?

Journaling

หรือเรียกว่าการเขียนบันทึกในแต่ละวัน เราจะจดไว้ทุกอย่างเมื่อเราเกิดความคิด ความรู้สึกบางอย่าง รวมถึงความรู้สึกทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดหัว เราจะบันทึกในทุกเหตุการณ์ และพยายามระบุว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้น

หลังจากที่เราได้บันทึกเราก็ควรกลับมาอ่านในทุกๆ Week และไม่ใช่แค่ว่าอ่านผ่านๆอย่างเดียว เราต้องอ่านแล้ววิเคราะห์หรือนำไปคิดต่อด้วย

ในขณะที่เราอ่าน เราได้เห็นสิ่งที่แตกต่างไปบ้างไหมเมื่อเทียบกับความคิดตอนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ?

เราเรียนรู้จากความผิดพลาด และจะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกได้อย่างไร?

Mood Meter

ปัญหาหนึ่งในการสื่อสารหรืออธิบายอารมณ์คือเราไม่ได้มี Word Choice ที่หลากหลายพอที่จะอธิบายได้ จึงได้เกิด Tools หลายตัวที่จะมาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ หนึ่งในนั้นคือ Mood Meter ที่คิดค้นโดย Yale Center for Emotional Intelligence

แกน Y คือระดับ Energy หรือพลังงาน
แกน X คือระดับ Pleasantness หรือความพึงพอใจ

จะเห็นว่ากลุ่มของอารมณ์ออกได้ถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามรูป

อยากแนะนำแอพนึงที่ชื่อว่า How We Feel มีให้ดาวน์โหลดทั้ง iOS และ Android ซึ่งเคยได้รางวัลจาก Apple App Store ในหมวด Cultural Impact ปี 2022 ด้วย

ตอนบันทึกอารมณ์จะมีให้เลือก Zone ตาม Energy กับ Pleasantness ก่อน เมื่อเรากดเข้าไปที่แต่ละอารมณ์ก็จะมีความหมายไว้ด้านล่างด้วย ซึ่งตรงนี้ก็ช่วยเพิ่มคลังคำศัพท์เราได้อย่างดี

พอเราเลือกอารมณ์ได้แล้ว จะมีให้เราใส่รายละเอียดต่างๆ ยิ่งถ้าเราใส่ข้อมูลได้มากจะช่วยให้เราได้กลับมาทบทวนได้ง่าย หลังจากที่เราบันทึกไปเราสามารถเข้ามากดดูในส่วนของ Analyze เพื่อ Breakdown หรือดูภาพรวมอารมณ์ของเราได้ชัดเจนขึ้น

ส่วนตัวเคยใช้แอพแนว Mood Tracker หลายอันแต่พอได้ลองอันนี้แล้วรู้สึกชอบเพราะ UI ใช้งานง่าย มีอารมณ์ให้เลือกได้หลากหลายดี

สำหรับ Year End Reflection ความที่ตัวเองก็ใช้ Notion อยู่เป็นประจำเลยไปลองหา Template และก็เจอว่ามีคนทำ Notion Template ไว้ให้ใช้ฟรี คำถามส่วนใหญ่จะครอบคลุมให้หลายๆด้านของชีวิต หรือถ้าหากใครที่นำไปใช้แล้วก็อาจจะปรับเปลี่ยนคำถามให้เหมาะสมกับตัวเองได้

https://gonsalves.notion.site/Annual-Reflection-Template-8844514bb7c64b5c86ea74735353c1f4

สรุป

การทำ Self-Reflection หรือการสะท้อนตนเป็นทักษะหนึ่งที่ทุกคนควรมี เพราะเป็นส่วนสำคัญของการเติบโตของคนเรา ทำให้เราพัฒนาตัวเองไปในทางที่ดีขึ้นและเข้าถึงเป้าหมายของเราได้มากขึ้น

Self-Reflection นั้นไม่ได้มีวิธีที่ตายตัว เราสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการ การตั้งคำถาม ความถี่ในการทำ ตามความสะดวกและถนัดในแต่ละคน แต่สิ่งสำคัญคือเราจะกลับมาคิดวิเคราะห์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงตัวเองต่อไป

References

--

--