Web Accessibility Standard : ความสามารถและการเข้าถึงเว็บไซต์โดยไม่มีข้อจำกัด

Greatpicha
InsightEra
Published in
3 min readAug 16, 2020

หากพูดถึง Accessible design คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกระบวนการออกแบบที่เป็นการแก้ปัญหาสำหรับคนที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็นหรือการได้ยินเท่านั้น แต่วันนี้เราอยากจะมาพูด Accessible design ในส่วนที่เป็นมาตรฐาน ประสบการณ์การใช้งานและแนวทางที่ดี โดยมีเป้าหมายหลักคือ การทำเว็บไซต์ที่ใช้งานได้สำหรับทุกคน ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจก็ตาม

Web accessibility Standard หรือที่เรารู้จักกันว่า Web Content Accessibility Guideline (WCAG)

@pch.vector from freepik.com

Web Content Accessibility Guideline (WCAG) เป็นแนวการการออกแบบเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึง เป็นการใช้ความคิดที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางและปฏิบัติตามข้อกำหนดความสามารถในการเข้าถึงเว็บต่างๆที่กำหนดโดย W3C ไม่เพียงแต่มีความสำคัญและมีความจำเป็นเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้จริงอีกด้วย จึงเกิดเป็นมาตรฐานสากลและเป็นแนวทางในการสร้างเว็บไซต์

ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วตามยุคสมัย การพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์จึงต้องมีปรับเปลี่ยนและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการพัฒนาเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ต้องมีการทบทวน Guideline กันใหม่ และได้มีการปรับเนื้อหาให้รองรับและครอบคลุมกับเทคโนโลยีใหม่ๆให้เข้ากับปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เป็นไปตามหลักสากล

Web Content Accessibility Guideline (WCAG) แบ่งเป็น 4 หลักการ 12 Guideline ตามวัตถุประสงค์ในการออกแบบเว็บไซต์

3 Trends That Will Define ADA Compliance in 2018

1.Perceivable — ผู้อ่านต้องสามารถรับรู้เนื้อหาได้

  • จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) แทน เนื้อหาที่มีรูปแบบเป็นอื่น
  • จัดเตรียมข้อความบรรยายที่ตรงกับเหตุการณ์ในสื่อมัลติมีเดีย
  • การออกแบบโครงสร้าง และเนื้อหา ต้องสามารถทำงานเป็นอิสระจากกันและกัน
  • ต้องมั่นใจได้ว่าพื้นหน้าและพื้นหลัง(สีและเสียง) ต้องมีความแตกต่างกันมากพอที่ผู้ใช้จะสามารถแยกแยะได้

2.Operable — องค์ประกอบต่าง ๆ ของการอินเตอร์เฟสกับเนื้อหาจะต้องใช้งานได้

  • การทำงานทุกอย่างต้องรองรับการใช้งานจากคีย์บอร์ดได้
  • จัดเตรียมเวลาให้เพียงพอในการอ่าน หรือการกระทำใดๆ ของข้อมูล สำหรับผู้ใช้ที่เป็นคนพิการ
  • ไม่สร้างเนื้อหาที่อาจเป็นสาเหตุของอาการลมชัก
  • จัดเตรียมทางช่วยเหลือสำหรับผู้ใช้ในการสืบค้นเนื้อหา รู้ว่าตัวเองอยู่ในตำแหน่งใดในเนื้อหา และท่องไปในเนื้อหานั้นได้

3.Understandable — ผู้ใช้สามารถเข้าใจเนื้อหา และส่วนควบคุมการทำงานต่างๆ ได้

  • สร้างเนื้อหาให้สามารถอ่านและเข้าใจได้
  • การทำงานของระบบต่างๆ หรือการแสดงผลบนหน้าเว็บ ต้องเป็นสิ่งที่ผู้ใช้สามารถคาดเดาได้
  • จัดเตรียมส่วนการช่วยเหลือให้ผู้ใช้ให้สามารถกรอกข้อมูลได้ถูกต้อง

4.Robust — เนื้อหาต้องมีความยืดหยุ่นที่จะทำงานกับเทคโนโลยีเว็บในปัจจุบันและอนาคตได้ (รวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก)

  • รองรับการใช้งานร่วมกับ User Agent ได้ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต (รวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก)

การออกแบบเว็บไซต์ตาม Web Content Accessibility Guideline (WCAG) ได้รับการจัดระเบียบเป็นสามระดับ

3 Trends That Will Define ADA Compliance in 2018

ระดับ A — ระดับการเข้าถึงเว็บไซต์ขั้นต่ำและครอบคลุมความสามารถในการเข้าถึงเว็บขั้นพื้นฐาน

ระดับ AA — ระดับความสามารถในการเข้าถึงระดับกลาง สามารถจัดการกับอุปสรรคที่พบบ่อยในการเข้าถึงเว็บไซต์สำหรับผู้ใช้ที่พิการ

ระดับ AAA — ระดับการเข้าถึงเว็บไซต์ขั้นสูงสุดและซับซ้อนที่สุด สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับทุกๆคน

Web Content Accessibility Guideline (WCAG) Checklist สามระดับ

WCAG Checklists

จากหลักการของ WCAG จะเห็นได้ว่า Accessibility guidelines ไม่ใช่แค่ทางเลือกสำหรับคนที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกาย แต่เป็นสิ่งที่ควรมีในการออกแบบที่ดี เป็นประสบการณ์ใช้งานที่ดี (UX) และควรนำไปใช้ให้ได้กับทุกคนไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เพราะในทุกวันนี้ Web accessibility Standard ควรจะต้องเป็นสิ่งพื้นฐานที่อยู่ในดิจิทัลแพลตฟอร์มในทุกสภาวะ เช่น ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำที่ทำให้มีการแสดงผลบนเว็บไซต์ได้ช้า ผู้ที่มีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆอยู่ในสภาวะฝนตก, แดดจ้า, ไฟดับ หรืออยู่ในพื้นที่เสียงดัง ผู้ที่ใช้งานบนอุปกรณ์อื่นๆไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ, Smart TV, Smart Watch เป็นต้น

--

--