จัดพอร์ตแบบ Hedge Fund อันดับ 1 โลก- All Weather ของปู่ Ray

พิเศษช่วงแถม ไกด์วิธีสร้างพอร์ตเอง

Vithan Minaphinant
investic
2 min readJun 27, 2020

--

วันนี้จะเล่าให้ฟัง ถึงโครงสร้าง +Concept คร่าวๆ + ตัวอย่างพอร์ต (แต่ปู่แกก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆนะ)

จุดประสงค์ของพอร์ต All Weather ก็ตามชื่อคืออยู่ทน ได้ทุกสภาพอากาศ หรือแปลงเป็นภาษาลงทุนคืออยู่รอดไปได้ทุกวัฏจักรเศรษฐกิจ เป็นการผสมผสาน Quants และ Machine Learning

กลยุทธ์นี้ถูกออกแบบมาให้ผลตอบแทนที่ดีทั้งในช่วงที่เศรษฐกิจมีการเติบโตดี และไม่ดี และได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเวลาเจอวิกฤต เทียบกับการจัดพอร์ตทั่วไป

!! มันจะวิเศษ อะไรขนาดนั้น !!

มันเป็นเรื่องของการผสมผสานสินทรัพย์ทางการเงิน และการใช้ประโยชน์ของการกระจายความเสี่ยงที่ดี เวลามีอะไรขึ้น ก็ต้องมีอะไรลง หุ้นไม่ได้ขึ้นพร้อมกันทุกตัว ทองไม่ได้ขึ้นพร้อมหุ้นทุกวัน แนวทางนี้ทำให้ Bridge Water ขึ้นเป็นอันดับ 1 โลก หากวัดตามขนาดกองทุน เพราะเป็น multi-asset แบบเสี่ยงน้อย

เราอาจมักคุ้นกับการ กำหนดน้ำหนัก ว่าจะถือหุ้นกี่ % ดี ถือทองกี่ % ดี (ที่เรียกสวยๆว่าจัดพอร์ต)

แต่การจัดพอร์ต All Weather Strategy ของ Bridge Water หลังจากคิดมาดีแล้ว ก็กำหนดน้ำหนักจากหลัก risk contribution ว่า อยากได้ exposure จากอะไรเท่าไหร่ เช่นดังรูป อยากได้จาก inflation 25%, interest rate 25%, equity 25%, credit risk 25% แล้วค่อยคิดย้อนกลับมาว่าต้องลงสินทรัพย์ไหนเท่าไหร่ (ดังรูปตัวอย่างด้านล่าง) ก็จะได้ออกมาว่า เป็น equity 43.7%, alternatives 10% บราๆๆ

ซึ่งน้ำหนักการลงทุนนี้จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามภาวะต่างๆ และตามสินทรัพย์ที่มาลงทุน

ทีนี้ที่มาของแต่ละอย่าง อย่างละ 25% นั้น ต้องเข้าใจในทฤษฎีปู่เรย์ก่อน ปู่เรย์มองแบบนี้

ปู่เรย์เชื่อว่าสิ่งที่ทำให้ราคาสินทรัพย์เปลี่ยนไปมี 4 อย่าง

  1. เงินเฟ้อ (Inflation)
  2. เงินฝืด (Deflation)
  3. เศรษฐกิจเติบโต
  4. เศรษฐกิจซบเซา

เมื่อมี 4 อย่างกระทบราคา ปู่เรย์ก็คาดว่าจะมี 4 วัฏจักรด้วยกัน

  1. ช่วงที่เงินเฟ้อสูงกว่าที่คาด
  2. ช่วงที่เงินเฟ้อต่ำกว่าที่คาด
  3. ช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตกว่าที่คาด
  4. ช่วงที่เศรษฐกิจซบเซากว่าที่คาด

“กว่าที่คาด”

ทำไมจึงเป็น สูงกว่า ต่ำกว่า ที่คาด ปู่เรย์มองในมุมการลงทุน นักลงทุนนั้นซื้อขายบนความคาดหวัง เมื่อมันดีกว่าที่คาดก็จะมีการเปลี่ยนมุมมอง และไล่ซื้อ ทำให้ราคาสินทรัพย์พุ่งขึ้นไปอีก

ปู่เรย์ก็จะเลือกสินทรัพย์ที่ดี มีประโยชน์ ในแต่ละช่วงวัฏจักร

แล้ว ดี มีประโยชน์ นิยามยังไง?? เวลา ผู้จัดการกองทุนจัดพอร์ต ไม่ได้มองแค่ ผลตอบแทน แต่มองในมุมความเสี่ยงด้วย ดังนั้นปู่เรย์จะคัดสินทรัพย์ทีได้ประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยง เมื่อผสมผสานกันแล้ว พอร์ตจะได้ผลตอบแทนที่ดีค่อนข้างสม่ำเสมอ มี drawdown ต่ำ

ตัวอย่างพอร์ตจาก https://www.theoptimizingblog.com/ โดยใช้ ETF ที่ตลาดเมกา

  • 30% US stocks : VTI
  • 40% long-term treasuries : VGLT
  • 15% intermediate-term treasuries: VGIT
  • 7.5% commodities, diversified: IAU
  • 7.5% gold: PDBC

ผลลัพธ์เป็นอย่างไร ลองดู ในรูป

Portfolio 1 คือตัวอย่าง ส่วน Vanguard 500 Index คือ S&P500

source: https://www.theoptimizingblog.com/

ก็จะเห็นได้ว่า ผลตอบแทนนิ่ง ผันผวนต่ำ แต่ก็ไม่ได้โตแพ้หุ้นล้วนเลยนะครับในระยะยาว แค่มีบางช่วงเวลาที่จะได้น้อยกว่า (ก็หุ้นน้อยกว่านี่นะ)

ช่วงแถม

แล้วชาวบ้านอย่างเราๆจะ ทำพอร์ตแบบนี้ บ้างได้อย่างไร — เตือน section นี้ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่ ต้องทำ MVO เป็นมาก่อน และมีประสบการณ์ ML

หลักการได้เล่าไปหมดแล้ว ผมสรุปให้ย่อๆเผื่อมีคนอยากสร้างพอร์ตนี้เอง

  1. ก่อนจะทำได้ต้องไปเข้าใจ Risk Parity ธรรมดาก่อน Tutorial ในเน็ตมีเยอะแยะ
  2. หา asset ที่เป็นตัวแทนของการลงทุนใน 4 วัฏจักรของ Ray คือ inflation, equity, interest rate, credit มาเป็น proxy หรือแตก exposure ของ asset กลับไปบน 4 อย่างนั้น (ตรงนี้ก็แล้วแต่แนวทาง)
  3. optimized บน contribution หาพอร์ตที่เข้าเงื่อนไข ตาม tutorial ก็จะใช้ solver กัน กำหนด constraint เอา แตก น้ำหนักกลับคืน asset class ที่เลือก

ข้อ 3 บอกเลยว่าคุณจะเจอกับ local minima ทำให้คุณได้โมเดลที่ ไม่ได้ดีที่สุด

แก้ปัญหาอย่างไร หรืออย่างไร รอลงเรียนคอร์ส เอ้ยย แซวเล่น .. อันนี้เป็นเทคนิคแพรวพราว ความลับทางธุรกิจของแต่ละสำนักละแหละ ยิ่งพวก Robo-Advisor ที่โชว์ๆกัน ผมคงเอามาบอกที่สาธารณะไม่ได้

ทีนี้พอร์ตแบบนี้เหมาะกับเงินเยอะๆ ต้องการให้เหวี่ยงน้อยๆๆ ถ้าเอามาใช้กับแบบธรรมดาละ?

บทความถัดไปจะประยุกต์ใช้แบบ เม่าๆให้ดูครับ เป็นการเริ่มแบบ Basic ก่อน

--

--