ประยุกต์แนวทาง Hedge Fund มาใช้จัดพอร์ตหุ้นเองที่บ้าน

GoodBye Markowitz, Hello Risk Weight

Vithan Minaphinant
investic
2 min readJul 1, 2020

--

หลายท่านอาจจะเรียนรู้การจัดพอร์ต asset allocation ตามหลักการ ของ Markowitz Efficient Frontier และค้นพบว่ามันใช้กับพอร์ตหุ้นล้วนได้ไม่เอาถ่านเอาซะเลย

แต่รู้หรือไม่ Harry Markowitz ผู้คิดค้น Modern Portfolio Theory (MPT) อันโด่งดัง ไม่ได้ใช้ทฤษฎีนี้ในการลงทุน !!

ในปัจจุบัน กองทุนมากมายที่อิงบน MPT นี้ ใช้ Markowitz Efficient Frontier และ Mean Reversal Optimization (MVO) ในการจัดน้ำหนักการลงทุน แต่วิธีนี้ดูจะไม่ Modern สมชื่ออีกต่อไป

เพราะในช่วงเกือบ 10 ปีหลังมานี้ ทฤษฎีใหม่ที่แพร่หลาย และถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีและวิธีการที่ดีกว่า คือ Risk Parity ซึ่งโด่งดังมาจาก All Weather Asset Allocation Strategy จาก hedge fund ที่ใหญ่อันดับ 1ของโลก “Bridge Water” นำโดย Ray Dalio

ในบทความที่ผ่านมาได้บอก concept คร่าวๆไปแล้ว แต่จะทวนให้อีกครั้ง (และมีลิ้งแนบท้ายให้)

Concept ง่ายๆ ของ Risk Parity คือ การใช้ Risk Weight มากำหนดว่าพอร์ตควรถืออะไรเท่าไหร่ เพราะการจัดน้ำหนักการลงทุนโดยกำหนด หุ้น 50% ตราสารหนี้ 50% แต่เวลาหุ้นตก มันตกกัน -20–30% แล้วตราสารหนี้ ขึ้นแค่ 5–10% มันชดเชยกันได้ที่ไหน

เพื่อให้พอร์ตได้รับประโยชน์ของการกระจายความเสี่ยงบนหลัก Correlation จริงๆ จึงมองว่า พอร์ตถูกขับเคลื่อนโดย asset อะไรเท่าไหร่ (มี Risk Contribution/ Risk Weight เท่าไหร่)

ดังรูป ทางซ้ายตัวอย่างพอร์ตแบ่งน้ำหนัก (Capital Contribution) มีหุ้น 60% ตราสารหนี้ 40% ที่มักถูกเรียกว่า “ความเสี่ยงปานกลาง” กลับมา Risk Contribution จากหุ้น 89.4% ตราสารหนี้ 10.6%

หมายความว่าอย่างไร หมายความว่า พอร์ตที่เราลงทุนไป หุ้น 60% ตราสารหนี้ 40% แต่การเคลื่อนไหวของราคามาจากหุ้น 89.4% ตราสารหนี้ 10.6%

ในเคสนี้จากการคำนวนของ CaixaBank คือ หุ้นตก ตราสารหนี้ก็ไม่ช่วยอะไร ถ้าอยากให้ช่วยได้ (คือ offset ตั๊วๆหักล้างกันไปเวลาหุ้นตก จะต้องให้ Risk Contribution เท่ากัน หุ้น 50% ตราสารหนี้ 50%) น้ำหนักการลงทุนที่ดีควรจะเป็น หุ้น 26.47% หุ้นกู้ 73.53%

แน่นอนว่าเม่าๆอย่างเราๆ ไม่ได้มานั่ง asset allocation กันเท่าไหร่หรอก หากลองนำ concept นี้มาใช้ ก็ต้องประยุกต์กันหน่อย เช่นใช้เพื่อเลือกกำหนดน้ำหนักหุ้น

ยกตัวอย่าง เราจะจัดพอร์ตหุ้นล้วนๆ เน้นไปที่หุ้นเทคโนโลยี มา Equal Risk Weight กัน จะเป็นอย่างไรเทียบกับ S&P 500 โดยใช้ ETFs หลายๆตัวเข้าช่วย โดยใช้ข้อมูล ETFs 6 ตัว ด้วยกัน ได้แก่ ARK, Chinese Tech, Cloud Computing, Analytics, Fintech, Internet of Things

ผลลัพธ์ที่ได้ … มาดูกันครับ เส้นสีน้ำเงินคือพอร์ตที่ผมลองสร้างดูเล่นๆ เรียก ERC-Tech สีเขียวคือ ETF Spyder หรือ passive investing แบบ S&P500 (จริงๆแล้วควรเทียบ NASDAQ แต่ขี้เกียจแก้แล้วละ)

INVESTIC ERC-Tech vs S&P500 Performance

มองในมุม ความเสี่ยง (Volatility) ล่ะ?

INVESTIC ERC-Tech vs S&P500 6M Rolling Volatility

ก็จะถือว่าจัดจ้านในย่านนี้มากๆ ก็ดีพอที่จะเลิกลงทุนใน passive fund กันตรงๆนะครับ

เกร็ดความรู้ : Risk Parity ใช้เพียงหลักคณิตศาสตร์ธรรมดาของ Correlation มิใช่ Machine Learning, AI หรือ Algorithm ใดๆ แต่ผู้ทำมักมีการใช้ ML ในการช่วยรันพอร์ต Risk Parity จึงมักถูกมองเป็น AI fund ในอดีต

สนับสนุนโดย

INVESTIC AI Lab for Investment

— -

link บทความ All Weather Portfolio ของ Ray Dalio

--

--