Product Manager ที่ Jitta และ Values ที่ทีมเราให้ความสำคัญ

Dhammatorn Riewcharoon
Jitta Engineering

--

สวัสดีครับ ผมชื่อเซ็น เป็น Product Manager (PM) จาก Jitta ครับ วันนี้จะมาเล่าวิธีการทำงาน และ แนวคิดของการทำ Product ที่ Jitta นะครับ

ในแต่ละบริษัทอาจจะนิยามชื่อตำแหน่ง PM ไม่เหมือนกัน บางที่ PM ย่อมาจาก Project Manager หรือบางที่ก็เรียกตำแหน่งนี้ว่า PO หรือ Product Owner เพราะแต่ละบริษัทก็มี Background มีความต้องการแตกต่างกันไป เราแค่ต้องเรียนรู้ เปิดรับ และปรับให้ตรงกับผลลัพธ์ที่บริษัทต้องการมากกว่า

“Help investors create better returns through simple investment methods.” เป็น Mission ของ Jitta บริษัท Wealth-Tech ของไทย ต้องการช่วยให้นักลงทุนสร้างผลตอบแทนที่ดีด้วยหลักการที่พิสูจน์มาแล้ว ด้วยวิธีที่เรียบง่ายที่สุด

“Help investors create better returns through simple investment methods.”

Jitta ส่งมอบ value เหล่านี้ให้กับ user ของเราผ่าน product สองอันหลักๆ คือ

  1. Jitta.com เป็น platform ในการวิเคราะห์หุ้นรายตัวด้วยหลักการ value investment ซึ่ง product นี้เหมาะกับนักลงทุนที่มีประสบการณ์ระดับนึงแล้ว และ ชอบการลงทุนด้วยตัวเอง
  2. Jitta Wealth เป็นกองทุนส่วนบุคคลที่เน้นการลงทุนระยะยาวด้วยหลักการ value investment ซึ่ง product นี้เหมาะกับกลุ่มที่ไม่อยากลงทุนเอง หรือ ไม่มีเวลาศึกษาวิธีการลงทุนมากพอ

The Role of the Product team

ที่ Jitta เรามองว่า Product Team มีหน้าที่ทำความเข้าใจ ออกแบบ และแก้ปัญหาของ user ให้ได้ตรงจุด ซึ่ง user เองไม่จำเป็นจะต้องเป็นนักลงทุนเท่านั้น สามารถเป็นทีมอื่นๆ ในองค์กรได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น operation user-support หรือ marketing

สำหรับ Jitta เรามอง Product Team เป็นศูนย์กลางใน การ align roadmap ของแต่ละทีมในองค์กร ซึ่งแปลว่า Product Team จะทำ project ที่เกี่ยวข้องกับหลายๆ ทีมพร้อมกัน เป็นข้อดีที่ทำให้ Product Manager (PM) ได้เจอคนเยอะๆ จากหลาย background ได้ทำความเข้าใจ User หลายๆ แบบ การสื่อสารที่ดีเป็น key skill ที่ PM ต้องมี

Product Management จะมีหน้าที่ดังนี้

  • เข้าใจปัญหา หรือ process ที่พยายามจะปรับปรุง หรือแก้ไข ผ่านการพูดคุยกับ stakeholder
  • plan และ design solution ตาม values ของเรา พร้อมกับการเขียน requirement ให้กับทีม engineer
  • ดูแล และ support development timeline ของ project
  • ทำให้มั่นใจว่า deliver project ที่มีคุณภาพให้ได้ตาม requirement และ timeline ที่วางไว้

ในทีมของ Product Management จะมี Product Manager (PM) ที่คอยดูแลการ develop software

Product Management team

Product Management team เราจะทำงานกันโดยมี Head of Product เป็นคนที่แบ่งมอบงานให้ PM แต่ละคน ซึ่ง Head of Product เองจะมีหน้าที่ในการออกแบบและวางแผน roadmap ของ software development ที่เกิดขึ้นกับ product ขององค์กรที่จะถูกฉายภาพให้กับทีมอื่นด้วย ตัว roadmap เองจะต้องตอบโจทย์ทั้ง mission และ OKRs ของบริษัท

Product Roadmap ประกอบด้วย projects ต่างๆที่ PM แต่ละคนมีหน้าที่ในการ manage ตามที่ถูก assign มาจาก Head of Product

Project-Based Development

หลังจากที่ Head of Product assign project มาแล้ว สิ่งที่ PM ต้องทำคือการคุยครับ เพราะก่อนหน้านี้เราจะเห็นปัญหาคร่าวๆมาแล้ว แต่การที่ได้คุยกับผู้ที่อยู่หน้างานจริงๆ หรือ stakeholder จะทำให้เราเห็นภาพปัญหา หรือ process ที่ต้องเปลี่ยนแปลงชัดขึ้น

การที่คุยกับ domain expert เราจำเป็นต้องหา และ สรุปให้ได้ว่าปัญหาจริงๆคืออะไร (root cause) เพื่อที่จะสามารถ design solution ได้อย่างถูกต้อง

หลังจากที่เข้าใจปัญหาแล้ว PM จะร่วม design solution พร้อมกับ stakeholder, product designer, system analyst และ engineers เพื่อออกแบบสิ่งที่เราจะ deliver ร่วมกัน จังหวะนี้เราจะเขียน Product Requirement Document เป็นเอกสารเพื่อยืนยันและลงรายละเอียดของ software

ทาง engineers จะทำการนำ Product Requirement Document เพื่อแบ่ง epic และ task เพื่อทำการ estimate เวลาที่จะใช้ในแต่ละตัวงาน ซึ่ง PM เองจะมีหน้าที่ในการนำ task และ estimation มารวบรวมเป็น project timeline

PM จะทำงานรวมกับ engineers เพื่อให้ development เสร็จสมบูรณ์ตาม requirement จนจบถึงการ QA Testing และ delivery

เป็น project-based แต่ทำไมเรียก Product Manager

สำหรับองค์กรของเรา ถึงแม้เราจะให้ความสำคัญกับ project ที่เสร็จตาม timeline แต่สิ่งที่ define success จริงๆของ project คือ value หรือ impact ที่ deliver ออกไปหา user แปลว่าคนที่จะ manage project นี้จะต้องให้น้ำหนักกับคุณภาพมากกว่าการแค่งานเสร็จตามเวลา นอกจากนี้ในขั้นตอนการหา solution เอง Product Manager จะต้องเข้าไปเก็บ requirement เอง หรือ แม้แต่ศึกษารายละเอียดต่างๆที่จำเป็นด้วยตัวเอง ฉะนั้นคำว่า Project Manager เลยไม่ตอบโจทย์สำหรับองค์กรของเรา

ส่วน Product Owner นั้นไม่ตรงกับวิธีการทำงานของเราเช่นเดียวกัน เนื่องจาก Product Owner จะใช้ใน context ของ SCRUM มากกว่า

Values ที่เราให้ความสำคัญ

Tony Fadell เขียนในหนังสือ Build ของเขาว่า “Most companies I work with misunderstand the role of the Product Manager .. product management lives at the intersection of many specialities and can look very different at different companies” (Build, page 281)

Product Manager ของแต่ละองค์กรทำงานคล้ายกันแต่ก็ไม่ได้เหมือนกัน 100% เพราะว่า product ของแต่ละองค์กรแตกต่างกัน เช่น

  • Product Manager ของ OpenAI ควรจะมีความรู้และ market knowledge ของ AI use-cases มากกว่า Product Manager ที่ Jitta
  • Product Manager ของ Jitta เองก็ต้องมีความรู้ในด้าน process การบริหารจัดการกองทุน หรือ fundamental ของการวิเคราะห์หุ้นต่างๆในรูปแบบของ Value Investment ในระดับนึง

และสิ่งที่ทำให้งานของ Product Manager น่าสนใจคือแต่ละ project ที่ได้รับมาไม่เคยซ้ำกันเลย เช่น ในการทำ push notification แบบใหม่ให้กับ mobile app ของเรา Product Manager จะต้องไปศึกษาวิธีการใช้ push notification ในการดึงดูดลูกค้าของ Marketing หรือบางทีก็อาจจะเป็นงานที่ scale ใหญ่มาก เช่น การปรับ flow operation ทั้งหมดเพื่อให้รองรับการซื้อขายหุ้นแบบใหม่

1. We Disagree with “Product Manager is the CEO of the product”

มีหลายๆครั้งที่เราเคยได้ยินว่า “Product Manager is the CEO of the product” ซึ่งใน context ขององค์กรและทีมเราเองไม่เห็นด้วยกับคำๆนี้

ความรับผิดชอบ และ scope งานของ Product Manager แตกต่างจาก CEO โดย PM เองไม่ได้มีอำนาจในการสั่ง direction ทั้งหมด หรือควบคุม resource ของ engineer ในการทำ software development

แต่สิ่งที่ PM จะต้องมี คือ การเข้าใจ user และปัญหาจริงๆ เพราะทุก product เกิดมาเพื่อแก้ปัญหาอะไรบางอย่าง

2. Being the Conductor

https://www.musicgateway.com/blog/how-to/music-conductor

จากข้อ 1 สิ่งที่เรามองว่า Product Manager เป็นคือการเป็น Music Conductor ของ Orchestra การสร้าง product เพราะ Conductor เองไม่สามารถควบคุมนักดนตรีให้เล่นได้ดั่งใจได้ในการแสดงสด แต่เขาสามารถดูภาพรวมของเครื่องดนตรีทั้งหมดให้เกิดเป็นเพลงที่ไพเราะให้กับผู้ฟังได้

PM เองก็มีหน้าที่ในการดูภาพรวมเช่นกัน เพื่อให้ทุกอย่างในการ development เป็นไปด้วยดี และ สามารถ deliver ถึง user ได้

หน้าที่ของ Product Manager ที่แสดงถึงความรับผิดชอบตรงนี้อาจหมายถึง

  • การ manage timeline การ develop software จาก engineering team ไม่ว่าจะเป็น backend, platform หรือ mobile
  • การเตรียมเอกสารในการ training operation
  • การช่วยเหลือ customer experience กับคำถามที่มาจากลูกค้า
  • การ work กับ marketing เพื่อนำเสนอ story ในการขาย user

3. Empathy

Product Manager จะพูดคุยกับ stakeholder จากหลายๆทีม ไม่ว่าจะเป็น engineering, marketing หรือ operation ซึ่งแต่ละคนก็จะมาจาก background ที่ไม่เหมือนกัน และเป็นธรรมชาติที่จะมีมุมมองที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ PM ต้องมีความสามารถในการรับฟังที่ดีเยี่ยมและเปิดมุมมองรับความคิดเห็นใหม่ๆได้ แต่สุดท้ายแล้ว Product Manager เองก็ต้องสามารถนำพา stakeholder จากแต่ละทีมในการตัดสินใจ และตกลงรวมกันกับ solution ที่จะทำให้ได้

4. Minimum Effort, High Impact

ในบางครั้งจากการที่เราได้มุมมองหลายๆมุมมองหรือ มี solution ที่น่าสนใจเยอะ Product Manager เองจะต้องพยายามนำเสนอ stakeholder ในการไป solution ที่สามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้ effort ที่น้อยที่สุด

ยกตัวอย่างเช่น ทีม operation มีปัญหาในการบันทึก process action ที่สำคัญพร้อมกับการจด notes เพื่อ remark ไว้ดูในภายหลัง

Engineer team อยากสร้าง web app ที่สามารถทำการบันทึกบนลง database พร้อมกับ action ได้เลย หรือเป็นการนำ third party service เข้ามา plug-in เพื่อให้ operation สามารถบันทึกในขณะทำงานผ่าน internal tool ได้เลย

แต่ PM เองสามารถเสนอว่าการสร้าง Google Sheets และ ควบคุม access ในการ edit สามารถแก้ปัญหาได้เช่นเดียวกัน ด้วย effort ที่น้อยกว่ามากๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจ trade off เช่น การไป solution ในลักษณะนี้อาจจะเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้น แต่จะเป็น debt ในอนาคตได้

5. Dare to Lead

เพื่อให้เราสามารถสรุป requirement หรือสามารถสรุป solution ได้ Product Manager เองมีหน้าที่ในการนัดหมายประชุมคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ decision ที่ต้องการ เพื่อให้ project เดินต่อได้ แปลว่าใน meeting นั้นๆ output หรือ productivity ของการประชุม PM จะต้องทำการ lead การประชุม จด decision ที่เกิดขึ้น รวมถึงการสรุป next action ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนี้อาจจะดูเป็นงานแนว coordinating / minute taking แต่ output ของการประชุมที่ดีจะต้องเกิด decision หรือ next action ให้ได้

6. Dealing with Unknowns

เป็นธรรมชาติอยู่แล้วของการที่คนตรงกลางจะไม่ได้รู้ detail ทั้งหมดของงาน เช่น การ design API ใน detail ซึ่ง Product Manager เองก็ไม่ได้มีหน้าที่ในการเข้าใจ detail ทั้งหมด

สิ่งที่สำคัญคือการควบคุม unknown เหล่านี้ไม่ให้กระทบต่อ project เช่น การทำความเข้าใจ technical design ในระดับที่สามารถมั่นใจได้ว่าทำได้จริง หรือการเข้าใจกฎหมายในการซื้อขายสินทรัพย์เพื่อให้สามารถออกแบบ product ได้

ที่ Jitta เรามองว่าการควบคุม unknown เหล่านี้แบ่งออกเป็น 2 แบบ

1. Asking the domain expert

สิ่งที่ PM ต้องการแต่ไม่รู้ เช่น database ใช้ตัวไหนดี หรือการทำ process แบบนี้ถูกเกณฑ์แบงก์ชาติหรือไม่ สิ่งเหล่านี้หลายๆครั้งในองค์กรจะมีคนที่รู้ดีมากกว่า และ PM เองมีหน้าที่ในการหาคำตอบเพื่อทำให้ project เดินต่อให้ได้

2. Research

ในบางครั้ง product ที่เราทำเป็นเรื่องใหม่มาก PM เองต้องมีความสามารถในการทำ research ด้วยตนเองเพื่อหาคำตอบ

Summary

ที่ Jitta เราเชื่อว่า Product Manager เป็น role ที่ค่อนข้างท้าทายกับการแก้ไขปัญหาไม่ซ้ำหน้าในทุกๆวัน แต่สุดท้ายการที่เราได้ deliver value ไปหา User ของเราจริงๆเป็นสิ่งที่จุดประกายไฟของ PM ของ Jitta ทุกคน

Jitta เรายังมั่นใจใน mission และ เชื่อว่า product ทุกๆอันของเราจะสามารถสร้าง positive impact ไปหานักลงทุนทุกคนได้ผ่าน values ที่เรายึดมั่นในการทำ product ที่มีคุณภาพออกมา

สนใจมาร่วมงานกับเรา

Jitta เราเองกำลังขยายทีม ถ้าอยากมากินข้าวเที่ยงอร่อยๆกันที่ออฟฟิศ ก็สามารถ apply ผ่านหน้า https://careers.jitta.com/ ได้เลย!

--

--