สอน Coding ต้องรู้อะไรบ้างนะ (ฉบับประถม) ตอนที่ 1 Bloom & SOLO Taxonomy

Tann Hiranyawech
sparkeducation.co
Published in
3 min readSep 30, 2023
Bloom and SOLO Taxonomy

จากที่ทำ เรียนวิธีคิด ผ่านวิธีโค้ด นอกเหนือจากความรู้ด้าน Programming หรือ Computer science แล้ว ยังมีอีกศาสตร์นึงที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม คือ แนวทางและหลักการในการสอนการเขียนโปรแกรม โดยเฉพาะการสอนสำหรับเด็ก ต้องรู้อะไรบ้าง จะต้องออกแบบวิธีการสอนอย่างไร

Programming Pedagogy in Primary Schools: Developing Computing Teaching

จาก Background ที่เรียน IT และไปต่อโท จิตวิทยานั้น ไม่มีความรู้ในพื้นฐานของการออกแบบการเรียนรู้เลย มีเพียงความสนใจ และหัวใจที่อยากทำเท่านั้น 555 เลยไปลง Course ของ EdX ของ RasberryPi ชื่อว่า Programming Pedagogy in Primary Schools: Developing Computing Teaching เกี่ยวกับการออกแบบการสอน Programming สำหร้บเด็ก 5–11 ปี เลยมาเขียนสรุปไว้ในนี้เผื่อมีใครสนใจ จะได้เป็นประโยชน์ไปพร้อมๆกัน

แอบบอกตรงนี้นิดนึง ว่าสรุปจากความเข้าใจในการเรียนของเราเท่านั้น หากมีตรงไหนผิดพลาด พิมพ์คอมเม้นท์ บอกกันได้นะฮะ 🤓

Week 1 : Introduction to pedagogical concepts

เริ่มแรกเลย เค้าเริ่มจากการ Self-Reflection ก่อน อะไรที่ทำให้เราเป็นครู ทั้งในด้าน คุณค่าของความเป็นครูที่เรารู้สึก ความเชื่อของเรา ความเห็น หรือแม้กระทั่ง ทัศนคติต่อความเป็นครู (เช่น ครูที่ดีจะต้องให้ความรู้แบบไม่ผิดพลาด เป็นต้น) จากนั้นเค้าบอกว่า วางลงข้างๆก่อนนะ 555 อาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ แต่ว่าวางไว้ข้างๆก่อน มาเปิดรับไอเดียใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ ในคอร์สนี้กัน

การสอนคือ การถ่ายทอดความเชี่ยวชาญของคุณในรูปแบบที่ผู้เรียน (นั้นๆ) เข้าใจ

PCK (pedagogical content knowledge)

edx.org

PCK คือ การนำความรู้ที่จะต้องสอน ผสมกับวิธีการสอนที่เหมาะสม ผสมกับ ความรู้เบื้องต้นของผู้เรียน ผสมกับประสบการณ์ของผู้สอน เพื่อออกมาเป็นแนวทางการสอนของเรื่องนั้นๆ

เค้ายกตัวอย่างว่า หากครูต้องสอนเรื่อง การวนซ้ำ (repetition) ซึ่งครูรู้อยู่แล้วว่ามันคือ loop แต่การบอกให้เด็กไปลากบล็อก loop แล้วมาใส่ block ข้างใน แล้วบอกว่านี่คือ loop นั้น ไม่ได้ช่วยให้เด็กเข้าใจเรื่องของการวนซ้ำ วิธีการคือ ครูใช้ pattern ของ กระต่ายที่เดินในสวน (เรื่องที่เด็กเข้าใจและเข้าถึงง่าย) ที่กระต่ายจะ กระโดด เดิน กระโดด เดิน กระโดด เดิน กระโดด เดิน ไปเรื่อยๆ เพื่อเด็กๆ เข้าใจ concept ของการทำซ้ำ และเมื่อทำอันนี้ได้แล้ว การเข้าเรื่อง loop (ใช้ block loop มาแทนที่การทำซ้ำ) ก็ทำให้เด็กเข้าใจ concept ของ loop ง่ายขึ้นทันที

The most useful forms of representation of those ideas, the most powerful analogies, illustrations, examples, explanations, and demonstrations. Since there are no single most powerful forms of representation, the teacher must have at hand a veritable armamentarium of alternative forms of representation, some of which derive from research whereas others originate in the wisdom of practice.’ (Shulman 1986, p 9)

Bloom Taxonomy ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom

ทฤษฏีของบลูมแบ่งประเภทการเรียนรู้ออกเป็น 6 ขั้น

  • Remember: recall facts and basic concepts
  • Understand: explain ideas or concepts
  • Apply: use information in new situations
  • Analyse: draw connections between ideas
  • Evaluate: justify a stand or a decision
  • Create: produce new or original work
Bloom Taxonomy

The very useful things about any of the taxonomies associated with learning are that they become tools that allow educators to analyze and categorize students’ tasks. Educators can then look for frequency patterns within instructional events. Are my tasks evenly balanced, or are they over concentrated in limited areas? This type of in-depth examination leads to professional self-analysis of performance and this is a key element of reflective practice.
- The Second Principle

SOLO taxonomy (Structure of Observed Learning Outcome)

Building Students’ Reflective Skills With Solo Taxonomy — TeachingTimes

SOLO Taxonomy ช่วยในการประเมินว่าผู้เรียนรู้ลึกแค่ไหนในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผู้สอนเข้าใจและสามารถวางแผนพัฒนาความรู้ให้กับผู้เรียนแต่ละคนได้

ถ้ามองความหมาย และเชื่อมโยงกับการเขียนโปรแกรม (View of Evaluating LOGO: Use of the SOLO Taxonomy (ajet.org.au)) จะได้ตามนี้

  • Pre-structural response: ผู้เรียนไม่เข้าใจหัวข้อนั้นๆ คือ เขียนคำสั่งแบบลองถูกลองผิดไปเรื่อยๆ (ไม่ได้คิดหาทางออก) แค่พิมพ์ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
  • Unistructural response: ผู้เรียนเข้าใจแค่เพียงมุมมองเดียว (หาทางออกได้เพียงทางเดียวเท่านั้น) คือ มีการวางแผนคิด แต่ลองพิมพ์คำสั่งทีละบรรทัดสองบรรทัด แล้วไปกด Run แล้วค่อยๆทำต่อ ถ้าผลลัพธ์ไม่ตรงตามต้องการ ต้องลบทั้งหมดแล้วเริ่มทำใหม่ เพราะหาที่แก้ไม่ถูก
  • Multistructural response: ผู้เรียนเข้าใจและหาเหตุผลได้หลายมุมมองมากขึ้น แต่ยังหาความสัมพันธ์ระหว่างกันไม่ได้ คือ เริ่มพิมพ์ได้ทีละหลายคำสั่งมากขึ้น คิดเป็นลำดับต่อกันมากขึ้น พยายามพิมพ์คำสั่งตามลำดับที่คิดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ก่อน แล้วค่อยกดรัน แต่ะถ้าไม่ตรงก็ยังหาทางแก้ไม่ค่อยได้ ต้องลบแล้วเขียนใหม่หมด
  • Relational response: ผู้เรียนมองเห็นภาพรวม เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของแต่ละมิติได้ คือ เริ่มมีการใช้ function และ reused code ได้แล้ว เนื่องจากมองเห็นความเชื่อมโยงของโค้ดแล้ว
  • Extended abstract response: ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปต่อยอดใน area อื่นๆ ได้ เช่นการทำ function ให้ dynamic มากขึ้นด้วยการให้ใส่ค่าเข้าไปใน function ได้

Future Read:

--

--

Tann Hiranyawech
sparkeducation.co

Passionate about bridging gaps in digital education through technology, psychology, and a deep love for learning. 🤓