ทริคจัดการเงินง่ายๆ สำหรับเด็กจบใหม่

Achiraya Kunthonjinda
KBTG Life
Published in
2 min readSep 30, 2021

เชื่อว่าเศรษฐกิจช่วงนี้ ไม่ว่าใครก็ตามต่างเริ่มที่จะตื่นตัวกับเรื่อง “เงิน” ค่อนข้างมาก เราในฐานะมนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งเรียนจบแล้วต้องมาเริ่มรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งแตกต่างจากสมัยเรียนที่ขอเงินพ่อแม่มา หมดก็ขอใหม่ ชีวิตสบายจริงๆ ตัดภาพมาตอนนี้ เงินเดือนออกแล้ว เย้! ดีใจนะ แต่ความสุขแบบนี้อยู่ได้ไม่นานค่ะ ประโยคที่ว่า “สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ” มันมีอยู่จริงค่ะ สัมผัสได้ตั้งแต่มาเป็นมนุษย์เงินเดือน

พอเริ่มมีความรู้สึกสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจหลายๆ เดือนเข้า เริ่มมานั่งคิดละ เห้ย!! จะเป็นแบบนี้ทุกเดือนไม่ได้ ต้องเริ่มจัดการตัวเองแล้ว ปรึกษาพี่ๆ หรือเสิร์ชหา How to ต่างๆ

จนในที่สุดเราก็ได้วิธีการจัดการเงินในแบบที่เหมาะสมกับตัวเรา วันนี้จึงขอมาแชร์ให้ทุกคนไว้เผื่อเป็นไอเดียนำไปใช้จัดการเงินของตัวเองกัน วิธีการของเราง่ายมาก แค่แบ่งเงินเดือนที่เข้ามาทุกเดือนเป็นส่วนๆ ของเราแบ่ง 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 แบ่งเงิน 60% สำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน ได้แก่ ค่าคอนโด ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต หรือค่าผ่อน รถ คอนโด (ถ้ามี) เราให้ความสำคัญกับส่วนนี้ค่อนข้างเยอะ เพราะถ้ามีไม่พอจ่าย สิ้นเดือนมีปัญหาแน่!!

ส่วนที่ 2 แบ่งเงิน 25% สำหรับเปย์ตัวเอง ได้แก่ เงินช็อปปิ้ง ไปเที่ยว ปาร์ตี้ หรือเงินที่เอาไว้เติมเต็มความอยากหรือกิเลสของตัวเอง ใครสายช็อปออนไลน์เหมือนเรา แบ่งครึ่งนึงของก้อนนี้ไว้สำหรับ Big Sale ของ Shopee กับ Lazada ก็ได้นะ

ส่วนที่ 3 แบ่งเงิน 15% เพื่อเก็บออม การออมเงินหรือเก็บเงินมีได้หลายรูปแบบนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการออมในรูปแบบเงินฝากประจำหรือกองทุน ส่วนนี้มีไว้เพื่ออนาคตที่ดีของเราค่ะ เศรษฐกิจแบบนี้การมีเงินออมไว้ยามฉุกเฉินเป็นเรื่องที่ต้องทำเลยนะคะ เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ดังนั้นเราต้องเตรียมพร้อมค่ะ

ใครที่คิดว่ารายจ่ายจำเป็นไม่ได้เยอะมาก สามารถปรับสัดส่วนให้น้อยลงกว่านี้ได้นะคะ จะได้มีเงินไว้เปย์ตัวเองหรือเอาไว้ออมเพิ่มขึ้นค่ะ

หลังจากวางแผนแล้วว่าจะแบ่งเงินเป็นส่วนๆ เท่าไหร่ สิ่งที่เราทำต่อคือหาเครื่องมือ หรือ Tools แบ่งเงินค่ะ เราใช้แอป MAKE by KBank ทำไมต้องแอปนี้? เพราะว่ามันจบในที่เดียว แม้ต้องเปิดบัญชีใหม่ แต่เปิดแค่บัญชีเดียว โดยในแอปจะมีฟีเจอร์ Cloud Pocket ที่ปังมาก เพราะเราสามารถสร้างกระเป๋าย่อยๆ ไว้แบ่งเงินเป็นส่วนๆ ตามที่ต้องการได้เลย หน้าตาแบบนี้ค่ะ

สมมติว่าจะแบ่งส่วนจากเงินเดือน 30,000 บาท

1. ค่าใช้จ่ายรายเดือน 60% คือ 18,000 บาท แบ่งเป็น 3 Cloud Pockets

  • Cloud Pocket ค่ากิน ค่าใช้ 10,000 บาท
  • Cloud Pocket ค่าคอนโด 6,000 บาท
  • Cloud Pocket ค่าน้ำ ค่าไฟ 2,000 บาท

2. ค่าเปย์ตัวเอง 25% คือ 7,500 บาท แบ่งเป็น 2 Cloud Pockets

  • Cloud Pocket ช็อปปิ้ง/Lazada/Shopee 2,500 บาท
  • Cloud Pocket ของมันต้องมี! 5,000 บาท

3. เงินเก็บเพื่ออนาคตที่ดืออ 15% คือ 2,500 บาท

สำหรับแอป MAKE ที่เราว่าเวิร์คสุดๆ เลยคือไม่ได้แค่แบ่งเงินแล้วจบ แต่ยังสามารถเอาเงินออกจากกระเป๋าย่อยๆ ได้ด้วย เหมือนแอป Mobile Banking ทั่วไปเลย มีโอน มีถอน มีสแกน QR

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เวลาเราช็อปออนไลน์ เราสามารถโอนเงิน หรือสแกน QR ออกจากกระเป๋า “เงินเปย์ตัวเอง 25%” ได้เลย ช่วยให้จัดการเงินง่ายขึ้น ใช้เงินได้อย่างมีสติ 😍

สรุปง่ายๆ คือ แอป MAKE ช่วยให้จัดการเงินง่ายจริงๆ ไม่ว่าจะ โอน จ่าย หรือเก็บเป็นกระเป๋าย่อย แถมทำให้สุขภาพการเงินเราดีขึ้นมาก บอกลาประโยคกันที “สิ้นเดือนไม่สิ้นใจ”

หากใครสนใจ MAKE by KBank ดาวน์โหลดได้ที่ https://kbank.co/3sfQdJ2

บทความอื่นๆ เกี่ยวกับการจัดการเงิน

  • มีคนหลายคนที่เริ่มทำงานแล้ว แต่ถึงได้เงินเดือนเยอะขึ้นก็ยังไม่มีเงินเก็บอยู่ดี และเชื่อไหมว่ามีน้องๆ ที่เรียนมหาวิทยาลัยเก็บเงินได้เป็นแสน อะไรที่ทำให้สองคนนี้ต่างกัน สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ https://kbank.co/3B4YB1h
  • ใครสนใจวิธีการจัดการรายจ่ายให้อยู่หมัด เรามีบทความที่ใช้ทฤษฎี 6 Jars ควบคู่กับเครื่องมือที่ดีในการจัดการเงินอย่าง MAKE by KBank ทุกการทำรายการสามารถเลือก Cloud Pocket ได้หมด สมมติว่าเราไปกินข้าว เราก็เลือกกระเป๋าค่าอาหารจ่ายได้เลย ทำให้เราไม่ใช้เงินเกิน เหมือนมีคนช่วยจดเสร็จจบในแอปเดียวไม่ต้องง้อแอป Spending Tracker รายรับรายจ่ายอื่นๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ทฤษฎีการจัดการเงินในยุคโควิด https://kbank.co/3rThUHc

--

--