เคล็ดไม่ลับของ 5 ขั้นการพัฒนา Killing Feature

Worakrit Louwitawas
KBTG Life
Published in
2 min readMay 18, 2020

ก่อนอื่นเลย ผมคิดว่าทีมพัฒนาทุกคนน่าจะได้ยินคำว่า Killing Feature มากันไม่น้อย ถ้าจะให้อธิบายง่ายๆ ก็คือ Feature พิเศษที่เกิดมาเพื่อฆ่าแอปอื่น และฮุกผู้ใช้งานได้อย่างอยู่หมัด ซึ่งเป็นเคล็ดลับที่ส่งหลายผลิตภัณฑ์ไปสู่ดวงดาวมาแล้ว สมาชิกทีมพัฒนาหลายคนน่าจะรู้ว่าบางทีเราเสียเวลาไปกับ Feature พื้นฐานสำคัญมาก ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นตัว Killer สำหรับผลิตภัณฑ์ของเราเลย! วันนี้ผมจึงอยากเสนอสมการง่ายๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการออกผลิตภัณฑ์ให้ทั้งเร็วและได้ใจผู้ใช้งานครับ

ขอยกตัวอย่างของ Killing Feature มาประกอบให้เห็นภาพนะครับ ตัวอย่างอาจจะเก่าไปสักนิด ต้องย้อนความกันหน่อย 555

Instagram: 16 Filters สำเร็จรูปที่ใช้ยังไงก็สวย
LINE: Sticker ที่นำมาใช้ประกอบการแชท
Tinder: ผู้เริ่ม UX แบบ Swipe Right (YES) / Swipe Left (NO)

จะเห็นว่าหลายผลิตภัณฑ์ไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อน แต่กลับ “คม” มากๆ และ ในวันเริ่มแรกก็ไม่ได้มี Feature ที่เยอะเลย เพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์เวอร์ชั่นแรกที่ดีควรยึดหลัก “น้อยแต่มาก”

MVP = Killing Feature + Fundamental Feature(s)

ส่วนจะพัฒนา Feature ให้คมขึ้นขนาดเป็น Killer ได้อย่างไร ผมขอแนะนำเช็คลิสท์นี้ให้กับทุกคนลองนำไปใช้กันครับ แล้วดูว่า MVP สุดเจ๋งที่เราคิดกันมามีอะไรที่ดึงดูดลูกค้าถึงระดับ Killing Feature แล้วหรือยัง…

  1. ลิสท์ว่า Value Proposition ของเราคืออะไร
    ข้อเสนอแนะของผม คือ ในการสร้าง MVP ควรมี Feature ไม่เกิน 3 อย่าง ถ้าเยอะกว่านั้นแสดงว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณทำอยู่มีหลายอย่างเกินไป หากทำทุกอย่างออกมาได้ก็อาจจะเจ๋งอยู่ แต่คู่แข่งอาจจะตัดหน้าคุณไปก่อน คุณอาจจะคิดว่า Goal ปลายทางของคุณใหญ่มาก ทุกอย่างสำคัญหมดจนตัดไม่ลง แต่อย่าลืมว่า Amazon.com ก็ไม่ได้ขายทุกอย่างภายในวันแรกนะครับ เมื่อใดผลิตภัณฑ์ของคุณมีผู้ใช้งานสม่ำเสมอ เมื่อนั้นคุณก็ต้องเพิ่ม Feature อยู่ดี
  2. รวบรวม Value Proposition ของเรากับคู่แข่ง
    แล้วให้เลือกจากสิ่งที่คิดว่าจะเป็น “สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด” และถ้าสิ่งนั้นคือ “สิ่งที่คู่แข่งเราทำได้แย่ที่สุด” ก็เยี่ยมเลย! ข้อแนะนำคือควรเลือกเพียง 1 อย่างที่ต่าง และเราทำได้ดี แต่ถ้าคุณไม่สามารถตัดตัวเลือกออกได้ ผมขอแนะนำเทคนิคจับมาผสมกัน (Combine) ครับ
  3. เรียบง่ายแต่ไม่ Cliche
    อย่าลืมใส่ไอเดียที่เล็กแต่บ้า แต่พอยิ่งอธิบายก็ยิ่ง Make Sense ถึงขนาดว่าถ้าตัด Feature ทุกอย่างออกไปจาก MVP เหลือเพียงไอเดียนี้ ผลิตภัณฑ์คุณก็ยังสะท้อน Value Proposition ของคุณอยู่ โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าไอเดียระดับ Killing Feature มักไม่ใช่ Function ที่เป็นกลไกหลัก เช่น LINE ไม่ได้เน้นเรื่องของการพิมพ์แชทโต้ตอบกับเพื่อนเหมือนแอปส่งข้อความทั่วไป แต่เน้นเรื่อง Sticker ที่น่ารักแสดงถึง Emotion ที่เข้ากับนิสัยของคนเอเชียได้เป็นอย่างดี ไม่ได้หมายความว่า Functional Features ไม่สำคัญนะครับ เพียงแค่ว่าเมื่อ Feature ไม่ต่างก็ไม่โดดเด่น ไม่โดดเด่นก็ไม่น่าจดจำครับ
  4. ลบความเชื่อผิดๆไปก่อนว่า Killing Feature นั้นทำยาก
    เรามักมีความคิดว่า Killing Feature ต้องยากและใหม่ ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ผมขอบอกเลยว่าไม่จริง! เพราะ Killing Feature ควรจะทำได้ง่ายและไม่ซับซ้อน ความใหม่ไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น เพียงแค่ใหม่ในการนำเสนอก็เพียงพอแล้ว ผมขอยกตัวอย่าง Tinder ที่ใช้การ Swipe Left หรือ Right เพื่อเป็นการบอกว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ ทั้งที่การกด “Like” ไม่ได้เป็นอะไรใหม่ แต่พอนำมานำเสนอแบบนี้ก็ให้เป็นที่น่าจดจำของผู้ใช้ได้
  5. Test Test Test
    แล้วแต่คนจะเรียกครับ จะเรียก Validate หรือ Test Assumption ก็ได้ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคลาสสิคที่ทุกคนเจอ คือไม่มีเวลาทดสอบ ไม่สามารถตัด Feature ออกได้เลย ทำไม่ทัน หรือกระทั่งไม่มีทรัพยากร ส่วนนี้แหละที่ต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของทีม

ของแถมครับ หลังจากปล่อยไปสักพัก Killing Feature ที่เวิร์คจะมีคนมาลอก
แน่นอนของดีก็ต้องมีคนมาใช้ แนะนำต่อ และลอก! แต่อย่าหวั่นไปครับ เพราะว่าคุณได้เลือกแล้วว่า Feature นี้เป็นสิ่งที่เราจะทำได้ดีที่สุด ดังนั้นก็ไม่ต้องกลัวเลยว่าจะมีคนมาลอก เพราะถ้าผลิตภัณฑ์ที่ทำลอกเลียนแบบ ก็แปลว่าเราต้องทำอะไรผิดไปแน่นอน

อย่างไรก็ตามเพราะ MVP คือเซ็ตของ Features ที่เข้ามาประกอบกัน ดังนั้นการจะประสบความสำเร็จได้จึงมีหลายองค์ประกอบ ไม่ใช่แค่ Killer Feature เท่านั้น หน้าที่ของ Product Manager และทีมงานคือต้องหาส่วนผสมที่ลงตัวและเข้ากันได้ดี ซึ่งมีอีกหลายปัจจัยนอกเหนือจากตัวผลิตภัณฑ์ แต่หาก Killing Feature ของคุณยังไม่เวิร์ค ผมแนะนำให้ทีมตัดใจลดขั้น และแสวงหา Killing Feature ของคุณต่อไปครับ

--

--