10 ประโยคจาก “Psychology of Money” ที่คุณควรได้รู้ — Part I: Roll a Dice on Lamborghini

ประเดิมพาร์ทแรก ด้วยสองประโยคเด็ดจากหนังสือ Psychology of Money โดย Morgan Housel

Pongharit K.
KBTG Life
3 min readApr 26, 2023

--

“ทำไมต้องเล่มนี้ ? … ทำไมต้อง 10 ประโยค?”

“ทำไมไม่ล่ะ ?”

พอพูดถึงเรื่องเงิน ผมมีคำถามในใจที่ไม่ค่อยเห็นใครถามซักเท่าไหร่

“เห้ย คุณเข้าใจเงินป่ะ ?”

นั่นสิ เราเข้าใจจริงๆ รึเปล่านะ ว่าทำไมเงินถึงสำคัญนัก มีอิทธิพลขนาดที่เราต้องลำบากเพื่อหามาและเอาไปใช้เพื่อหามาเพิ่ม! ทำไมมันไม่เคยพอ ทำไมถึงเป็นสิ่งเสพติดที่ถูกกฎหมายเพียงอย่างเดียวบนโลกที่ทำให้คนเราทำสิ่งบ้าๆ ตัดสินใจแย่ๆ หาเรื่องใส่ตัว เพื่อหามันมาให้ได้ โดยที่บางครั้งไม่สนว่าต้องแลกมาด้วยอะไร ทำไมกันนะ?

สำหรับซีรีย์นี้ ผมอยากเชิญชวนให้ทุกคนคิดไตร่ตรองไปด้วยกันกับบทความ 5 พาร์ท รวมทั้งหมด 10 ประโยคเด็ดจาก 10 บทในหนังสือ Psychology of Money โดย Morgan Housel ที่จะทำให้คุณเข้าใจสารเสพติดหน้าตาคล้ายกระดาษเทาๆ แดงๆ ชนิดนี้ เพื่อพาคุณออกจากการมอมเมาและรู้ให้ทันกับสิ่งที่เรียกว่า “เงิน” หนังสือเล่มนี้เปลี่ยนชีวิตผม ผมพูดได้เลย

1. “If there had been no Lakeside, There would have been no Microsoft”

Chapter 2: Luck & Risk

Short Story

เชื่อมั้ยว่าปี ค.ศ. 1968 มีอดีตนักบินรบของทหารเรืออเมริกันคนนึงชื่อ “Bill Dougall” ปลดประจำการจาก World War II มาเป็นครูสอนวิทย์-คณิตที่โรงเรียนมัธยม Lakeside High, USA ด้วยความที่ Bill ต้องการสอนนักเรียนให้ได้รับ Real Word Experience จริงๆ Bill จึงเสนอคำร้องถึงโรงเรียนให้จัดซื้อ Teletype Model ง่อยๆ มา 30 เครื่อง แล้วนำมาต่อเข้ากับ Time Sharing Mainframe ออกมาเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ ณ เวลานั้น เพื่อให้นักเรียนที่สนใจสามารถลงเรียนเป็นวิชาเลือก

“Luck”

ซึ่งที่ Lakeside High ขนะนั้น Paul Allen เด็กเนิร์ดวัย 13 ปีกำลังเรียนอยู่เกรด 8 (ม.2 บ้านเรา) เขาคลั่งไคล้และตื่นเต้นกับสิ่งนี้มากกกกก ชนิดที่ว่าไม่หลับไม่นอน ตื่นเต้นกับของใหม่ นี่มันอะไรกันเนี่ย! บ้านไม่กลับกันเลย ลองเล่นนู่น ลองพิมพ์นี่ กับเพื่อนเขาอีก 2 คน Bill Gates และ Kent Evans จนกลายเป็น Expert ของโรงเรียนในเวลาเพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์ และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของ Microsoft

“Risk”

เอาล่ะ ผมคงไม่พูดถึง Gate เพราะเชื่อว่า 90% รู้กันอยู่แล้วว่าเขาเป็นใคร แต่ผมจะพูดถึง Kent หนึ่งในสมาชิกแก๊งค์เนิร์ดแห่ง Lakeside High ที่เป็นว่าที่ Co-founder Microsoft อันยิ่งใหญ่ แต่ทำไมถึงไม่ค่อยมีใครรู้จักหรือเคยได้ยินเรื่องราวของเขา? นั่นก็เพราะก่อนจบการศึกษา Kent เดินทางไปเที่ยวและโชคร้ายที่เขานั้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุขณะปีนเขา Bill เคยกล่าวว่า Kent เป็นคนที่เรียนเก่งที่สุดในคลาส และทุกวันนี้เขายังจำเบอร์โทรศัพท์ของ Kent ได้อยู่เลย

สองเรื่องนี้บอกอะไรกับเรา? ในปี 1968 มีเพียงแค่ไม่กี่โรงเรียนในโลกเลยก็ว่าได้ที่จะมีคอมพิวเตอร์ให้นักเรียกใช้ และมีเพียงหนึ่งในล้านเท่านั้นที่จะมีเด็กอายุ 13 เข้าใจในเทคโนโลยีจนถึงขั้นเป็น Expert ณ ช่วงเวลานั้น และ ณ ช่วงเวลานั้นก็มีเพียงหนึ่งในล้านเช่นกันที่จะมีเด็กวัยรุ่นเสียชิวิตจากการปีนเขา

Key Takeaway: เคยสงสัยมั้ย ว่าทำไมคนนี้ถึงประสบความสำเร็จ ถึงทำได้ ทั้งที่เราหรืออีก 20–30 คนทำเหมือนกันทุกอย่าง แต่กลับไม่ได้ผลลัพธ์แบบเค้า “เราพยายามไม่พอหรือ?” “เราทุ่มเทไม่พอหรือ?”

“โชค” ยังไงล่ะ จะเรียก ดวง เฮง หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่นั่นคือสิ่งที่ควบคุมไม่ได้และแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน และมันมีอยู่จริง

หลายครั้งคนที่ประสบความสำเร็จมักจะเล่าแบคกราวน์ความสำเร็จโอเว่อร์เกินจริงไปมาก และน้อยคนที่จะเล่าหรือยอมรับว่าเพราะโชคช่วย นั่นก็เพราะมันจะทำให้เนื้อเรื่องที่เล่าไม่มีพลัง ไม่ส่งต่อแรงบันดาลใจ และมักปฏิเสธที่จะตอบตรงๆ เช่น “อ่อ เพราะผมโชคดีครับ” แต่สำหรับคนที่เข้าใจความเป็นไปจริงๆ เขามักจะเห็นความสำคัญและไม่มองข้าม โชค อย่างที่ Bill Gates ได้ตอบไว้ “ถ้าไม่มี Lakeside วันนั้น ก็ไม่มี Microsoft วันนี้”

และเช่นกันกับความ “ซวย” เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มเปรียบเทียบ เริ่มถามตัวเองว่าทำไมเราทำไม่ได้แบบเขานะ เราผิดพลาดตรงไหน เรายังทุ่มเทไม่พอหรือ? เมื่อไหร่ที่มีความคิดแบบนั้น แล้วคำตอบคือคุณทำเต็มที่แล้ว แปลว่าคุณไม่ได้ทำอะไรผิดหรอกครับ เผลอๆ คุณทุ่มเทมากกว่าคนที่คุณ Benchmark อยู่ด้วยซ้ำ แต่แค่คุณ “ซวย” หรือไม่ก็ไม่ได้มี “โชค” เหมือนเขาก็เท่านั้นเอง

ดังนั้นอย่าไปฟังเรื่องโอเว่อร์โอ้อวดเกินจริง แล้วนำมาเปรียบเทียบให้เป็นทุกข์หรือท้อใจครับ เพราะเรื่องเหล่านั้นมีองค์ประกอบของ Luck & Risk เสมอ โดยที่เขาไม่ได้เล่าถึง อยากให้เข้าใจและ Take it to Account เวลาจะอะไรก็ตาม เพราะสองสิ่งนี้มีอยู่จริง

2. “You might think you want an expensive car, a fancy watch, and a huge house, But I’m telling you, you don’t”

Chapter 8: Man in the Car Paradox

Short Story

“Lamborghini Aventador จากกระจกมองหลัง มาพร้อมเสียงเครื่องยนต์ V12 ลั่น บอกให้คุณหลบ”

“Rolex Datejust Rose Gold” ที่สะท้อนแสงจนแสบตา จากไฟในร้านอาหาร Michelin Star ขอลูกค้าท่านหนึ่ง”

“iPhone 14 Pro Max สีพิเศษที่ต้องรอพรีออเดอร์เป็นเดือน”

เอาจริง ตอนเห็นสิ่งเหล่านี้ ในหัวสมองเรามีการมโน ทำการฉายภาพในจินตนาการว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของเราเรียบร้อยแล้ว โมเม้นต์ในจิตนาการเหล่านั้นช่างมีความสุขซะเหลือเกิน ทุกคนคงชื่นชมเรา ให้ความเคารพเรา มีหน้ามีตา เป็นที่สนใจของใครหลายๆ คน สิ่งของเหล่านั้นได้ทำหน้าที่ตะโกนบอกทุกคนว่า “มองที่ชั้นนี่!”

ก็ไม่ได้อยากจะช็อตฟีล แต่ เอ๊ะ! ตอนเห็น Aventador ขับผ่านไปขณะที่เรากำลังมโนถึงความสุขช่วงสั้นๆ อยู่นั้น… คนขับหน้าตาเป็นไงอ่ะ? ทันเห็นมั้ย? หรือตอนแสงสะท้อนของ Datejust Rose Gold เข้าตา ได้เห็นมั้ยว่าใครเป็นคนใส่

ถ้าเราแค่บังเอิญเจอ ลองนึกสิว่าเราจะใส่ใจมั้ยว่าคนที่นั่งอยู่หลังพวงมาลัย Alcantara หรือคนที่สะบัด Datejust ไปมานั้นเป็นใคร เผลอๆ จำหน้าไม่ได้ด้วยซ้ำ แล้วลองถามตัวเองอีกนิดซิว่า

“เราชื่นชมรถ… หรือคนขับ”

“เราชมชอบนาฬิกา… หรือคนใส่ ”

เรื่องของเรื่องคือเราไม่สนใจใยดีถึงตัวบุคคลเลย คนๆ นั้นแทบจะเป็นธาตุอากาศ สิ่งที่เกิดขึ้นในหัวสมองเราคือการ Benchmark ตัวเองกับของพวกนั้นต่างหาก ภาพในหัวคือ เราที่ขับ เราที่ใส่ เราที่คิดว่าถ้าวันนึงมีสิ่งเหล่านี้ มันจะทำให้เราเป็นที่ยอมรับ ชื่มชม เคารพ เป็นที่ยกย่อง

คำถามคือจริงเหรอ? อย่าลืมว่าคุณไม่เห็นหน้าคนขับด้วยซ้ำ เพราะเขานั่งอยู่ในรถ คุณเคารพ ชื่นชม นับถือเค้ารึเปล่า? หรือถ้าเทียบให้เห็นภาพกว่านั้น ตอนเห็นเพื่อนควัก 14 Pro Max ขึ้นมาแล้วโอ้โห ชื่นชมออกหน้าออกตา เขาพูดอะไรแล้วคุณฟังเขาเลยรึเปล่า

“Paradox”

สิ่งนี้เรียกว่า Paradox หรือความย้อนแย้งในตัวเองครับ ในวงวนแห่งการจินตนาการของเราที่ไม่มีที่สิ้นสุด และจำเป็นมากๆ ที่เราต้องหลุดพ้นจากวังวนภาพลวงตานี้

Key Takeaway: เชื่อเถอะ ถ้าผมบอกว่าเราไม่ได้ต้องการรถยุโรป Top Class ที่เกินความจำเป็น จะขับคันไหนก็ติดไฟแดงเหมือนกัน หรือนาฬิกา Luxury ที่แทร็ก Heart Rate ในยุค Health tech นี้ก็ไม่ได้ หรือบ้านหลังใหญ่โตที่มีแต่ความว่างเปล่า เพราะใช้จริงๆ ก็แค่ไม่กี่ห้อง ไม่กี่มุม เราไม่ได้ต้องการมันหรอกครับ และมันก็ไม่ได้จำเป็นเหมือนกัน

จากเรื่องนี้ สิ่งที่เราอยากได้จริงไม่ใช่สิ่งของ แต่คือ Admiration (การชื่นชม), Respect (ความเคารพ) และ Love (ความรัก)

ซึ่งผมบอกได้เลยว่าสามสิ่งนี้ไม่มีทางได้มากจากวัตถุเหล่านั้นหรอก มูลค่าเทียบไม่ได้เลยกับ Empathy (ความเห็นอกเห็นใจ), Kindness (ความเมตตา) , Sacrifice (การเสียสละ) และ Ability (ความสามารถ) ที่เราจะต้องมีก่อนที่จะได้รับการชื่นชม ความเคารพ และความรักจากคนอื่น ซึ่งเพนท์เฮ้าส์หรูย่านเอกมัยหรือแรงม้าจากเครื่องยนต์ V12 นั้นไม่มีทางให้ได้

ก่อนจากกัน อยากให้เข้าใจตรงกันก่อนครับ ผมไม่ได้บอกว่าให้ปฎิเสธของเหล่านั้นหรือว่าของเหล่านั้นไม่ดีนะ ใครๆ ก็ชอบ ใครๆ ก็อยากได้ อยากได้ไม่ผิดครับ แต่ต้องระวังให้ดี เพราะมันมีเส้นบางๆ กั้นอยู่ระหว่าง

“คุณชอบมัน ฝันถึงมัน อยากได้มันจริงๆ” หรือ คุณแค่อยากได้ความชื่นชม ความเคารพ และความรักกันแน่”

ซื้อแล้วคุณมีความสุขหรือความทุกข์ในระยะยาว (ย้ำนะครับ “ระยะยาว”) เพราะรอยยิ้มแก้มปริตอนถ่ายรูปรับกุญแจหลอกๆ ที่โชว์รูมวันรับรถ กับแก็งค์เพื่อนที่พากันกด Like ใน IG Story ช่วงเวลานั้นแป๊ปเดียวครับ ไม่เกิน 5 เดือน แต่บิลงวดรถจาก Finance จะมาตรงเวลาเสมอตลอดในอีก 5 ปี

แล้วอย่าลืมครับว่า ไม่มีใครสนใจคุณด้วยซ้ำ เขาสนใจแค่ของที่คุณพกมา โดยจินตนาการว่าตัดหน้าคุณออก แล้วเอาหน้าเขามาใส่แทน “Paradox!”

สำหรับใครที่สนใจเรื่องราวดีๆ หรืออยากเรียนรู้เกี่ยวกับ Product ใหม่ๆ จากชาว KBTG สามารถติดตามรายละเอียดกันได้ที่เว็บไซต์ www.kbtg.tech

--

--

Pongharit K.
KBTG Life

Tech, Philosophy, Knowledge, Reading, Movie, Automobile describe my personality.