Automation Engineer กับการสอบ TAE Certificate!!
ในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมา หลายๆ บริษัทเริ่มตื่นตัวในการทำ Digital Transformation กันมากขึ้น ซึ่ง Test Automation เป็นหนึ่งในกุญแจหลักในการทำ Digital Transformation เพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งทาง Quality และ Quantity ของ Software Production
ก๊อกๆๆ สวัสดีครับ สำหรับท่านที่ทำงานอยู่ในสาย IT หรือสายงาน Software น่าจะเคยสอบ Certificate กันไม่มากก็น้อยใช่ไหมครับ สำหรับตัวผมเอง การสอบ ISTQB Test Automation Engineer Certification หรือ TAE ถือเป็นการสอบครั้งที่ 2 ครับ ทั้งนี้น่าจะมีผู้อ่านบางคนสงสัยแน่นอนว่าครั้งที่ 1 ไปไหน ทำไมข้ามมา 2 เลย 😆 เนื่องจากก่อนจะมาสอบ Certificate นี้ได้นั้น เราจำเป็นจะต้องผ่านการสอบ CFTL Foundation (Certified Tester Foundation Level) ว่าด้วย Software Testing ครับ สำหรับ Tester หรือท่านไหนที่สนใจในเนื้อหาและอยากมี Certificate นี้ติดตัวก็สามารถไปสอบกันได้นะครับ
ทำความรู้จักกับ TAE
สำหรับ Certificate ตัวนี้ เนื้อหาจะเกี่ยวกับ Test Automation โดยตรงครับ เริ่มตั้งแต่ Automation Concepts การดีไซน์ TAS (Test Automation Solution) Method และ Tools ที่เลือกมาใช้ รวมไปถึง Processes ในการทำ Test Automation และมีเนื้อหาต่อเนื่องเกี่ยวกับ Testing มาจากตัว Foundation ที่สอดแทรกและนำมาใช้ร่วมกับการทำ Automated Testing ซึ่งเราสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก ISTQB Syllabus ที่จะมีแบ่งเป็นหัวข้อย่อยๆ รวมไปถึงการระบุจำนวนข้อสอบในแต่ละบทและเวลาโดยประมาณในการอ่าน
แล้ว TAE ต่างจากตัว Foundation อย่างไรบ้าง อย่างแรกเลยตัว Foundation จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทำ Test เริ่มตั้งแต่ Test คืออะไร (นั่นสิ ก็ต้องมีข้อนี้อยู่แล้วมั้ย 😆) Type และ Level ของ Test รวมไปถึง Techniques และการ Manage แต่ในส่วนของ TAE จะเป็นเนื้อหา Automation เน้นๆ เริ่มตั้งแต่การ Prepare การวาง Architecture, Environment, Metrics ใน Report รวมไปถึง Solution ต่างๆ ซึ่งหลายข้อมาจากการเหตุการณ์จริง ไม่ใช่การแสดงแต่อย่างใด
นอกจากจะทบทวนวิธีการของเรา ว่าเป็นไปตามหลักหรือวิธีการที่ควรจะเป็นหรือไม่แล้ว ยังได้วิธีใหม่ๆ มาปรับใช้กับการแนวทางปัจจุบัน
การจองสอบ
ด้วยความที่ผมโชคดี หรือบางอย่างดลใจให้ผมได้เลื่อนไปสอบปี 2022 (แหมเลขกำลังสวยเลย ขาด 2 ไปอีกตัว) ทำให้ผมได้เวลาในอ่านมากขึ้น?! จริงๆ ต้องบอกว่าผมได้เวลาเตรียมตัวมากขึ้นสิ ทีนี้ด้วยความที่ KBTG เราทำงานแบบ Work From Anywhere 😍 ตัวผมเองที่ไม่ได้พำนักอยู่กรุงเทพ จึงต้องหาสถานที่สอบที่สะดวกแก่การเดินทาง ซึ่งจากที่ผมเช็คดูมีสองที่ที่ใกล้ๆ ที่พักผม คือเชียงใหม่และพม่า แน่นอนครับผมต้องเลือกไปสอบที่พม่า! ไม่ใช่แล้วมั้ย ต้องเป็นเชียงใหม่สิ ตัวผมนั้นอยู่จังหวัดหนึ่งที่มีโค้งเยอะมากๆ และมีดอกบัวตองบานช่วงหน้าหนาวครับ จึงอาจจะเดินทางลำบากกว่าท่านอื่นๆ บ้าง โดยผมได้สมัครสอบผ่าน Pearsonvue หากท่านไหนไม่สะดวกไปสอบที่ศูนย์สอบ ก็สามารถเลือกสอบแบบออนไลน์ได้นะครับ แต่ผมเองนั้นไม่สะดวก ไฟดับบ่อยและอื่นๆ 😆
สำหรับค่าใช้จ่ายในการสอบ รวมทั้งหมดราวๆ $195.65 (ประมาณ 7,000 บาท ขึ้นอยู่กับค่าเงินบาทในช่วงนั้น) โดยทาง KBTG ได้มีการซัพพอร์ตเงินค่าสอบให้เราด้วย (พร้อมเงื่อนไขคือเราต้องสอบผ่านนะ นี่แหละกำลังใจของเราในการสอบ 🤩)
เคล็ดลับการเตรียมตัว
การเตรียมตัวสำหรับสอบคืออ่าน Syllabus และลองหาแนวข้อสอบมาลองทำ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง เขียนใหม่ร้อยรอบ (ไม่ใช่ละ 😆) บอกได้เลยว่าข้อสอบใกล้เคียงกับ Case ที่เราเจอทำในงานจริง และมีบางส่วนที่เป็นความรู้ใหม่ด้วย
แต่ความท้าทายนี้เราก็ต้องฝ่าฟันไปให้ได้
ความยากส่วนหนึ่งของการสอบตัวนี้คือข้อสอบจะเป็นแนวการวิเคราะห์จากโจทย์ที่ให้ Case Study มาว่าเราควรใช้วิธีใดในการแก้ปัญหา เราจะต้องประเมินสถานการณ์ต่างๆ อย่างไร เพื่อให้ Test Automation ของเราทำงานได้ดีและเหมาะสมกับงานนั้นที่สุด แน่นอนครับว่าการสอบครั้งนี้ นอกจากจะรับรองความรู้ของเราแล้ว เรายังได้อัปเดตความรู้ใหม่ที่สามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานปัจจุบันได้อีกด้วย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับประสบการณ์การไปสอบของผม ถ้าโอกาสหน้าผมมีเรื่องราว (กาวๆ) เกี่ยวกับ Test Automation อีกจากมาเล่าให้ฟังกันใหม่นะครับ
และย้ำอีกครั้ง สำหรับใครสนใจสอบเก็บ Cert ฟรีๆ แบบผม ยื่นใบสมัครงานมาได้เลยที่ https://www.kbtg.tech/career
See You Next Time, Bye Bye (´^ω^)ノ