Data and Data Visualization ความสำคัญและอิทธิพลต่อชีวิตเรา

P.Pitchaya
KBTG Life
Published in
3 min readNov 26, 2020

Data เป็นหัวข้อที่ยังคงฮ็อตฮิตสุดๆ บ่อยครั้งเราจะได้ยินว่า “Data is The New Gold” บ้างก็เรียกว่าเป็น “The New Oil” หรือแม้แต่ “The New Bacon” Data กลายเป็น The New สารพัดสิ่งที่ล้วนแล้วแต่บอกถึงความล้ำค่า การที่ Data ฮ็อตได้ขนาดนี้ก็มีเหตุมาจากปริมาณที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวันและประโยชน์ที่สามารถนำไปสร้างได้นั่นเอง

จากที่เคยขาดแคลนในอดีต Data ในวันนี้ได้กลายไปสิ่งที่หาง่ายและมีจำนวนมากมายมหาศาล แต่ความท้าทายที่ตามมาก็คือวิธีการจัดเก็บ ประมวลผล ทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ทำให้เกิดคอนเซ็ปต์ที่เรียกว่า Big Data ขึ้น ทั้งนี้เมื่อใดที่เราสามารถประมวลผลและแปลงสภาพ Data เหล่านี้อย่างถูกต้อง ก็จะเป็นการเพิ่มมูลค่าโดยทันที ดังที่เราพยายามหาคำนิยามให้สิ่งนี้อยู่

“Raw data alone is of little value, it cannot be useful unless we try to make sense of it.”

https://twitter.com/JenThomasTweet/status/775683579120615424/photo/1

เมื่อคนกลุ่มหนึ่งได้รับผลประโยชน์จาก Data มากกว่าคนกลุ่มอื่น

ก่อนอื่นขอเริ่มด้วยการอธิบายว่าทำไม Data ถึงเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ให้ผู้เขียนเล่าเองก็อาจจะไม่ดีเท่า Yuval Noah Harari นักเขียนชื่อดัง (หนังสือหลายเล่มของเค้าน่าอ่านมากค่ะ) ที่เคยกล่าวว่า

“[i]n the 21th century, data will become the most important asset beyond both land and machinery. If data flows into too few hands, humankind will split into different species.”

สรุปใจความข้างต้นได้ว่า Data จะกลายเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 21 ยิ่งกว่าทั้งที่ดินและเครื่องจักร หาก Data ไปถึงมือคนแค่กลุ่มเล็กๆ ก็อาจเกิดการแบ่งมนุษยชาติออกเป็น 2 เผ่าพันธุ์เลย

รู้สึกอย่างไรกันบ้างหลังได้อ่านประโยคดังกล่าว น่ากลัว เกินจริง หรือก็ฟังดูเป็นไปได้นะ? ส่วนตัวแล้วผู้เขียนรู้สึกว่าหลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบ ไม่ได้มองแค่ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นไปได้ แต่อาจจะเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยซ้ำ ในขณะเดียวกันก็น่าตื่นเต้นไม่น้อยทีเดียว เพราะแปลว่าชีวิตของเราสามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่านี้มาก ขอเพียงแค่เราเข้าร่วมเทรนด์และรู้จักนำ Data มาสร้างประโยชน์

“Given enough such information and enough computing power, they can know exactly who you are, better than you know yourself” — Yuval Noah Harari

อยากใช้ Data ต้องเริ่มต้นตรงไหนดี

Big Data มักมีการใช้ร่วมกับ Machine Learning เพื่อสร้าง Predictive Analytics ในการทำนายผลอนาคต หรือ Data Analytics แบบอื่นๆ เพื่อสกัดเอาคุณค่าออกมา ซึ่งกว่าจะได้ Data ที่มีประโยชน์จริงๆ ต้องผ่านหลายขั้นตอนด้วยกัน คำที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ ก็จะมี Data Mining, Machine Learning, Data Analytics และ Data Engineer อย่างที่ได้มีการกล่าวถึงบ้างแล้วข้างต้น และอีกคำหนึ่งที่จะมานำเสนอในวันนี้คือคำว่า Data Visualization

เชื่อว่า 1 ใน 10 ของคนที่ทำงานอยู่ในสายเทคฯ หรือโลกธุรกิจต้องเคยเจอคำว่า Data Visualization กันมาระดับหนึ่ง การแปลงข้อมูลดิบให้เป็นภาพที่เข้าใจง่ายๆ นั้นเป็นวิธีที่แสนเรียบง่ายแต่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ และเหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ (ยัง) โค้ดไม่เป็น ไม่ว่าคุณจะอยู่เลเวลไหน ต่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานกับ Data ประจำก็ต้องเรียนรู้วิธีการ Visualize Data เพื่อเสนอผลข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจได้เช่นกัน

‘Data Visualization’ that is once considered to be one of a nice-to-have skill is now a must-have skill among many other skills.

DATA VISUALIZATION คืออะไร?

Data Visualization กล่าวง่ายๆ คือการแสดงผล Data ในรูปของกราฟ แผนภูมิ และรูปภาพต่างๆ เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้นๆ ให้สามารถเห็น Insight ค้นพบแพทเทิร์นใหม่ๆ หรือ มองเห็นเทรนด์ของ Data ที่เกิดขึ้น

“90% of information transmitted to the brain is visual”.

จากประสบการณ์ส่วนตัว พบว่าจุดประสงค์ของการทำ Data Visualization นั้นสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. ) ตัวเราเองหรือ User (ผู้ที่เราทำงานด้วย หรือผู้ให้ Requirement) ของเราต้องการเล่าเรื่องราวจาก Data ที่มีอยู่ในมือ

2.) การแก้ปัญหาหรือการนำมาใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจ ก็คือเพื่ออธิบายเหตุการณ์บางอย่างหรือช่วยเสาะหาสิ่งที่เป็นประโยชน์จากข้อมูลกลุ่มนั้นๆ

DATA VIZ การดูภาพย่อมเร็วกว่าการอ่านตัวอักษร

ลองดูตัวอย่างภาพ Google Map สุดคุ้นตาด้านล่างนี้กันค่ะ

เพียงแค่กวาดตามองคร่าวๆ คนส่วนใหญ่น่าจะบอกได้ทันทีว่าการจราจรตอนนี้เป็นอย่างไรจากเส้นสีแดง เหลือง เขียวในภาพ แทนที่จะต้องไปนั่งอ่านข้อมูลการจราจรให้รู้ว่าควรขับรถไปทางไหน หรือหลีกเลี่ยงเส้นทางใด แม้แต่การแปลความนอกเหนือจากเรื่องของการจราจร เช่น การคาดเดาว่านี่คือช่วงเวลาใดของวัน หรือสถานการณ์ผิดปกติในพื้นที่จากเส้นสีต่างๆ ในภาพ

มาดูกันที่อีกตัวอย่าง ทุกคนสามารถบอกได้หรือไม่ว่าทวีปไหนได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มากกว่ากัน ระหว่างอเมริกาเหนือหรือแอฟริกา เชื่อว่าแค่เห็นเฉดสีฟ้าเข้มๆ ของทวีปอเมริกาเหนือก็น่าจะบอกได้ทันทีว่านั่นคือคำตอบที่ถูกต้อง แม้ว่าจะยังไม่เห็นตัวเลขใดๆ คอนเฟิร์ม

การทำ Data Visualization นับเป็นประโยชน์กับเราอย่างยิ่ง ด้วยธรรมชาติของสมองมนุษย์จะสามารถประมวลผลรูปภาพได้รวดเร็วกว่าข้อความอยู่แล้ว วิธีนี้จึงจะทำให้เราสามารถทำความเข้าใจข้อมูลทุกอย่างได้เร็วยิ่งขึ้น เหลือเวลาที่มีค่าให้เราไปคิดหาคำตอบ หรือตั้งคำถามอื่นๆ นำไปสู่การค้นพบประโยชน์จากชุดข้อมูลนั้นๆ ต่อไป

ตัดสินใจอย่างฉลาดด้วย Data

ถ้าลองดูบริษัทใหญ่ๆ ที่เป็นผู้นำอยู่ในโลกธุรกิจอย่าง Amazon และ Google หรือในแวดวง Entertainment เช่น Netflix บริษัทเหล่านี้ต่างก็มีสิ่งหนึ่งร่วมกัน คือการเป็นบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วย Data ผ่านการใช้ Analytics และ Visualization ในการทำความเข้าใจบริบทของตัวธุรกิจ ลูกค้า และอุตสาหกรรมของพวกเขา เป็นวิธีการที่ทำให้บริษัทเหล่านี้ได้เปรียบเหนือคู่แข่งอย่างมาก หรือแม้แต่ภายในบริษัท KBTG เองก็เริ่มสนับสนุนให้พนักงานในทุกหน่วยงานหันมาใส่ใจข้อมูลกันอย่างจริงจัง เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หาเทรนด์ธุรกิจและออกโปรดักส์ใหม่

ในปัจจุบันเรามีเครื่องมือมากมายให้เลือกสรร ทั้งที่เป็นแบบ Open Source เช่น Datastudio by Google, Datawrapper, Rawgraphs หรือจะเป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์อย่าง Qlik Sense, Tableau, Power BI ที่ช่วยให้ Visualize และ Analyze ข้อมูลง่ายมากกว่าแต่ก่อนมาก รวมถึงการที่หลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการแชร์ Datasets ออนไลน์ พร้อมให้ผู้ที่สนใจเข้าไปใช้งานได้ เช่น จาก Kaggle, Worldbank.org , Google Dataset แม้แต่ในไทยก็มีเว็บไซต์แชร์ Datasets ให้บุคคลทั่วไปไม่ต่างจากในต่างประเทศ คือเว็บ data.go.th

จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้โลกอินเทอร์เน็ตมีทุกอย่างให้เราพร้อมหมดแล้ว อยู่แค่ที่ว่าเราจะจับมาใช้ประโยชน์หรือไม่

Example Dashboard Shows Impact on Media Consumption due to COVID-19: https://public.tableau.com/views/Covid-Media/CovidLockdownMediaImpact?:language=en&:display_count=y&:origin=viz_share_link

นอกจากเชิงธุรกิจ KBTG ยังใช้ Data Visualization ในการรับมือกับความท้าทาย

แม้แต่ฝั่ง IT เองก็มีการนำ Data Visualization มาใช้แก้ปัญหา เช่น การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เมื่อปีที่ผ่านมาทางผู้บริหารระดับสูงเล็งเห็นว่าองค์กรของเราจำเป็นต้องมีความสามารถอย่างสูงในเรื่องนี้ จึงมีการมอบหมายให้ทีมของผู้เขียนและทีมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันสร้างแดชบอร์ดด้วย Qlik Sense เพื่อมอนิเตอร์ความเสี่ยงจากกิจกรรมภายในต่างๆ ที่อาจกระทบ Cybersecurity

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่พวกเราพยายามทำอย่างดีที่สุดเพื่อลูกค้าทุกคน ดังนั้นขอให้ทุกคนวางใจได้ว่า Data ของคุณปลอดภัยเมื่ออยู่กับเรา

ทางผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะสร้าง Awareness เกี่ยวกับการทำ Data Visualization ในวงกว้าง หากมีผู้อ่านท่านไหนอยากศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม แนะนำหนังสือเล่มนี้ค่ะ “Storytelling with Data: A Data Visualization Guide for Business Professionals” ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้รับคำแนะนำต่อมาอีกที เล่มนี้ค่อนข้างดีเพราะเนื้อหาเน้นไปทางปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้ เช่น การตัดสินใจเลือกลักษณะกราฟ การเลือกใช้สีให้เหมาะกับผลข้อมูล ให้คนสามารถเข้าใจได้ง่าย รวมถึงสอนพื้นฐานการนำเสนอ Data และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือถ้าจะให้ง่ายกว่านั้นอีก เพียงแค่พิมพ์คำว่า “Data Visualization” ลงในกูเกิ้ลเพื่อเสิร์ชหาข้อมูลที่ต้องการได้เลย ซึ่งผลลัพธ์นั้นเพิ่มขึ้นรวดเร็วมากในระยะเวลาอันสั้น

เพียงช่วงเวลาไม่ถึง 1 เดือน ผลการค้นหาคำว่า ‘Data Visualization’ กระโดดเพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้านผลลัพธ์ ได้เห็นปริมาณข้อมูลที่ถูก Generate มากขนาดนี้ด้วยตาตัวเองแล้วอึ้งเลย

ก่อนจากกันไป… ทุกคนคงเห็นแล้วว่าโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปไวมากแค่ไหน ยิ่งพอมีสถานการณ์โควิด-19 ก็ได้ส่งผลให้หลายธุรกิจถูก Disrupt อย่างไม่ทันตั้งตัว นี่เป็นสิ่งยืนยันว่าเราควรรีบปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด และเริ่มหันมาตัดสินใจจากข้อมูล แทนที่จะตัดสินบนพื้นฐานของความเชื่อ ความรู้สึก หรือจากสิ่งที่เคยเรียนรู้มาดังเช่นคนรุ่นก่อนๆ เพราะผู้เขียนเชื่อว่าการหันมาใช้ Data เพื่อให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่คาดเดาได้ยากนี้นั้นคือคำตอบที่ดีที่สุดในยุคปัจจุบัน

สำหรับชาวเทคคนไหนที่สนใจเรื่องราวดีๆ แบบนี้ หรืออยากเรียนรู้เกี่ยวกับ Product ใหม่ๆ ของ KBTG สามารถติดตามรายละเอียดกันได้ที่เว็บไซต์ www.kbtg.tech

--

--

P.Pitchaya
KBTG Life

Passionate Reader/ Music Lover/ Food Enthusiast/ Sport Obsessed