HealthTech Co-Innovation: KBTG x Samitivej Hospital ต่อยอดนวัตกรรมระหว่างองค์กรเพื่อสุขภาพคนไทยในอนาคต

Pak A.
KBTG Life
Published in
3 min readApr 2, 2020

หลายคนอ่านหัวข้ออาจแปลกใจ KBTG จะทำอะไรเกี่ยวกับ Health Tech และจะทำให้สุขภาพคนไทยดีขึ้นอย่างไร

ถ้าใครจำได้เมื่อช่วงกลางปีที่แล้ว ที่งาน Beyond Agile กับแอปพลิเคชัน DataWallet ที่จะช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลตัวเองได้ดีขึ้น ด้วยคอนเซ็ปต์ #YourDataYourControl เราสามารถส่งข้อมูลตัวเราเองให้กับบริษัทได้โดยตรงเพื่อให้ได้รับบริการที่เฉพาะตัวมากขึ้นด้วยความสมัครใจของเราเอง จากวันนั้นที่เรามองหาประเด็นที่เราเชื่อว่าจะช่วยให้ชีวิตคนไทยดีขึ้น มาวันนี้ที่เราขยับมาอีกก้าวกับการนำนวัตกรรมมาต่อยอดร่วมกับโรงพยาบาลสมิติเวชเพื่อเป็นโครงการต้นแบบที่พร้อมนำไปขยายผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนไทยทุกคน (โรงพยาบาลหรือบริษัทไหนสนใจ สามารถติดต่อเราผ่านรายละเอียดด้านล่างได้เลยครับ)

ภาพ Concept ของ DataWallet ในงาน Beyond Agile (Source: TechSauce)

ข้อมูลจาก Smart Watch กับการทำ Preventive Healthcare

ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา เราคงเห็นเพื่อนๆ หรือ ญาติพี่น้องรอบตัวเราหันมาใส่อุปกรณ์ Smart Watch เช่นพวก Fitbit หรือ Garmin กันมากขึ้น จากงานวิเคราะห์ของ International Data Corporation คาดการณ์ว่าอุปกรณ์อัจฉริยะเหล่านี้จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยในช่วง 5 ปี ต่อจากนี้สูงถึง 22.4% จาก 305 ล้านชิ้นในปี 2019 มากกว่า 489 ล้านชิ้นในปี 2023 โดยสาเหตุสำคัญข้อหนึ่ง คือ เทรนด์ของการรักสุขภาพได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนหันมาใส่ใจกับการออกกำลังกายและการวัดค่าต่างๆ ที่สามารถมอนิเตอร์ได้ผ่าน Smart Watch ส่งผลให้ในปัจจุบัน มีคนจำนวนมากที่ได้สร้างประวัติทางสุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกายของตัวเองขึ้นมาในทุกๆ วัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในอดีต การมีข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้บุคคลากรทางการแพทย์สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์พฤติกรรมของแต่ละบุคคล เพื่อพัฒนาการให้บริการ Preventive Healthcare โดยมีตัวอย่างให้เห็นในลักษณะคล้ายๆ กัน ในงานวิจัยของ Scripps Research Translational Institute ที่ทำงานวิจัยร่วมกับ Fitbit ในการพยากรณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา

เพื่อให้แต่ละองค์กรสามารถนำข้อมูลจาก Smart Watch มาวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลถึงการเชื่อมต่อระบบและการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน KBTG ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม DataWallet ที่ช่วยเชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลจาก Smart Watch ของผู้ใช้งานไปสู่โรงพยาบาล โดยทุกการรับส่งข้อมูลจะมีการขออนุญาต (Consent) จากผู้ใช้งาน โดยวิธีนี้แตกต่างจากงานวิจัยข้างต้นของ Scripps ที่เป็นการดึงข้อมูลโดยตรงจาก Fitbit โดยทำเพียงแค่การ Anonymize ข้อมูลแต่ไม่ได้ข้ออนุญาตผู้ใช้โดยตรง อีกทั้งตัวแพลตฟอร์มจะทำหน้าที่ Standardize ข้อมูลที่มาจากนาฬิกาแต่ละยี่ห้อให้เป็นรูปแบบเดียวกัน เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถนำข้อมูลไปวิจัยได้โดยไม่ต้องกังวลถึงความแตกต่างของข้อมูลจากแต่ละยี่ห้อ นอกจากนี้แพลตฟอร์มยังทำหน้าที่ดูแลและอัพเดทการเชื่อมต่อกับ Smart Watch ให้ถูกต้องอยู่เสมอ ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่ต้องลงแรงในการพัฒนาและดูแลระบบด้วยตนเอง ช่วยประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรมในด้าน Health Tech โดยไม่จำเป็น

แอปพลิเคชัน เวอร์ชัน MVP กับนาฬิกาที่ใช้ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม

โครงการวิจัยทางสุขภาพ KBTG ร่วมกับโรงพยาบาลสมิติเวช

ในปัจจุบัน โรงพยาบาลสมิติเวชได้มีการนำ Technology มาปรับใช้ ช่วยให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้นทุกที่ทุกเวลา ตามคอนเซ็ปต์ #เราไม่อยากให้ใครป่วย เช่น ตอนนี้ผู้ที่จะมาใช้บริการที่โรงพยาบาลสมิติเวชสามารถนัดหมายแพทย์ล่วงหน้าผ่านแอป Samitivej Plus พร้อมดูประวัติตัวเองย้อนหลังได้ ส่วนคนที่ไม่สะดวกมาโรงพยาบาล ก็สามารถใช้บริการ Samitivej Virtual Hospital ปรึกษาแพทย์และสั่งยาผ่าน Video Call หรือถ้ามีประกันกลุ่มกับเมืองไทยประกันชีวิต ก็สามารถเคลมจากวงเงินประกันได้อัตโนมัติ และล่าสุดมีการให้บริการปรึกษาอาการเบื้องต้นผ่าน Video Call ก่อนเข้าไปรับการตรวจ COVID-19 อีกด้วย ถือเป็นโรงพยาบาลแรกในประเทศไทยที่เปิดให้ใช้บริการในลักษณะนี้

เมื่อต่างฝ่ายต่างเห็นความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมิติเวช และ KBTG จึงได้จับมือร่วมกันออกแบบโครงการในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เพื่อศึกษาพฤติกรรมและสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ มีการเก็บข้อมูลสุขภาพโดยโรงพยาบาลสมิติเวช ทั้งก่อนและหลังโครงการ รวมถึงเก็บข้อมูล Smart Watch ของผู้เข้าร่วมโครงการตลอดระยะเวลากว่า 1 เดือน เพื่อนำไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ และโอกาสในการเกิดและป้องกันโรคต่างๆ อันเกิดจากพื้นฐานสุขภาพและข้อมูลที่ได้จาก Smart Watch ของแต่ละคน

อีเว้นท์เปิดโครงการวิจัยร่วมกับโรงพยาบาลสมิติเวช
การเก็บข้อมูลสุขภาพในวันสุดท้ายของผู้เข้าร่วมโครงการ

ตลอดระยะเวลาโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ จะใส่ Smart Watch ตลอดทั้งวัน โดยข้อมูลที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้น จะถูกส่งผ่านแพลตฟอร์ม DataWallet ไปยังโรงพยาบาลสมิติเวช โดยแพลตฟอร์มจะมีการขอ Consent ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งก่อนการดึงข้อมูลและก่อนส่งต่อไปยังโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว และเป็นไปตามหลักการของกฏหมายข้อมูลส่วนบุคคลหรือ Personal Data Protection Act (PDPA) ที่จะประกาศบังคับใช้ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 นี้ครับ

การทดสอบใช้แอปพลิเคชัน DataWallet ในวันเปิดโครงการร่วมกับโรงพยาบาลสมิติเวช

ข้อมูลที่ถูกส่งจากผู้ใช้งานไปหาโรงพยาบาลสมิติเวชนั้น ประกอบด้วยข้อมูลสรุปพฤติกรรมทางสุขภาพในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนก้าว ระยะทางที่เดิน ปริมาณแคลอรี่ที่เผาผลาญ นอกจากนั้นยังมีการสรุปพฤติกรรมการออกกำลังกายในแต่ละวัน โซนอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกาย รวมถึงข้อมูลการนอนที่บอกถึงระยะเวลา คุณภาพการนอนหลับ และข้อมูลอัตราการเต้นหัวใจขณะหลับ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ร่วมกับค่าทางสุขภาพอื่นๆ เพื่อวิจัยหาแนวทางในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ในรูปแบบที่ไม่เคยทำได้ก่อนหน้านี้ ในอนาคตเราอาจสามารถป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ผ่านการปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำของแพทย์ที่วิเคราะห์ข้อมูลของเราจาก Smart Watch ช่วยให้เราไม่ต้องไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็นอีกต่อไป

ข้อมูลของเรา สิทธิของเรา

เมื่อพูดถึงข้อมูลที่เราสร้างขึ้นในแพลตฟอร์มต่างๆ ในปัจจุบัน สิ่งแรกที่เรานึกถึงคงเป็นเรื่องการระวังไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวของเราหลุดออกไป หรือถูกเอามาหาผลประโยชน์โดยบุคคลอื่น อย่างเช่นในกรณีอื้อฉาวของ Facebook และ บริษัท Cambridge Analytica แต่สิ่งนั้นจะไม่เกิดกับแอปพลิเคชันของเราที่ให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้ใช้งานในการเก็บและส่งต่อข้อมูลเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้งานเอง สอดคล้องกับกฏหมายข้อมูลส่วนบุคคลฉบับใหม่

ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการรับส่งข้อมูลของตัวเองได้ตามต้องการผ่านแอปพลิเคชัน DataWallet

หากจะมองต่อยอดจากโครงการวิจัยครั้งนี้ เราได้มองในลักษณะที่ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อแอปพลิเคชันกับ Smart Watch เจ้าใดก็ได้ แล้วเลือกส่งข้อมูลให้กับโรงพยาบาลหรือบริษัทที่ตัวเองสนใจ เพื่อแลกกับสิทธิประโยชน์หรือบริการพิเศษเฉพาะบุคคลที่บริษัทนั้นๆ สามารถมอบให้ผู้ใช้งานได้โดยตรง อย่างเช่นในกรณีนี้ การส่งข้อมูลในแต่ละวันให้กับโรงพยาบาลสมิติเวช ช่วยให้โรงพยาบาลได้รู้จักผู้ใช้งานดีขึ้น เห็นพฤติกรรมที่ละเอียดขึ้น แล้วสามารถทำ Preventive Healthcare เมื่อตรวจเจอข้อมูลที่ไปจากปกติ หรือสามารถระบุความเสี่ยงโรคต่างๆ เมื่อมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญได้ ทั้งนี้ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะปิดหรือเปิดการเชื่อมต่อแอปพลิเคชันกับโรงพยาบาลเมื่อไรก็ได้ตามที่ต้องการ

ในอนาคตเรามองไกลถึงความร่วมมือกับบริษัทและองค์กรในอุตสาหกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากโรงพยาบาล ทั้งในส่วนของธุรกิจประกัน และธุรกิจ Startup ต่างๆ ที่พร้อมจะเคารพสิทธิการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งานและให้สิทธิพิเศษที่ตอบโจทย์ลูกค้าโดยตรงแลกเปลี่ยนกับการรู้จักลูกค้าในแง่มุมใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นการทำงานร่วมกันในลักษณะของสิ่งที่เราเรียกว่า “Co-Innovation”

“Co-Innovation” Model การสร้างนวัตกรรมร่วมกันระหว่างองค์กร

โครงการนี้ถือว่าเป็น Working Model ที่ใน KBTG เรียกว่า โครงการนวัตกรรมร่วม Co-Innovation ซึ่งเป็นการนำจุดแข็งระหว่างองค์กรมาผสมผสานเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างลงตัว KBTG ได้นำความเชี่ยวชาญด้าน Data Integration และ Consent Management มาช่วยโรงพยาบาลสมิติเวชที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ สามารถนำข้อมูลสุขภาพไปวิเคราะห์ต่อยอดและให้คำแนะนำผู้ป่วยได้ จะเห็นว่าต่างคนต่างนำความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่ายมาช่วยส่งเสริมกัน การทำงานแบบ Co-Innovation นี้ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่ในตลาดได้อย่างรวดเร็ว และ ช่วยให้เกิด Innovation Ecosystem ที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในประเทศ

การทำงานในลักษณะ Co-Innovation เราจะเริ่มจากการ “Co-Design” ซึ่งเป็นการเน้นหา Pain Point ของผู้ใช้งานร่วมกัน พร้อมกับตรวจสอบสมมติฐานต่างๆ จนมั่นใจว่าปัญหาที่ต้องการแก้นั้นมีอยู่จริง หรือที่เรียกกันว่า Problem-Solution Fit จากนั้นจึงเริ่มทำ “Co-Develop” เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือ Minimum Viable Product (MVP) และ “Co-Pilot” ในวงจำกัด เพื่อรับฟัง Feedback จากผู้ใช้งานจริงและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ไปเรื่อยๆ จนมั่นใจว่าสิ่งที่ทำมาตอบโจทย์ลูกค้าจริงเพื่อหา Product-Market Fit เมื่อเห็นผลที่ชัดเจน เราจะเริ่ม “Co-Launch” เพื่อนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดร่วมกัน

แผนภาพอธิบาย CO-INNOVATION Working Model ของ KBTG (รายละเอียดเดี๋ยวไว้รอ Medium ถัดๆ ไปนะครับ)

สุดท้ายนี้

โครงการ DataWallet เป็นตัวอย่างหนึ่งในการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรเพื่อสร้าง Co-Innovation ผ่านการทำ “Co-Pilot” ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ KBTG ผลักดันมาตลอดช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อให้แต่ละบริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจผ่านการนำจุดแข็งของสองบริษัทมารวมกัน หากท่านใดหรือบริษัทไหนสนใจอยากนำ DataWallet ไปช่วยสร้าง Innovation ใช้ในองค์กร สามารถส่งอีเมลล์มาพูดคุยกันได้ที่ DataWallet@kbtg.tech ครับ

Notes: ขอขอบคุณ Partner ที่ร่วมเขียนบทความนี้กับผมด้วยครับ Nuttapong Taychavinijudom

--

--

Pak A.
KBTG Life

Innovation Product Manager, Kasikorn Business-Technology Group (KBTG)